สุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566

สุริยุปราคาผสมเกิดขึ้นในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาผสมเป็นปรากฎการณ์แบบหนึ่งของสุริยุปราคาที่พบได้ยาก โดยลักษณะของคราสจะเปลี่ยนจากแบบวงแหวนไปเป็นแบบเต็มดวงและกลับไปเป็นแบบวงแหวนในขณะที่เงาของดวงจันทร์พาดผ่านไปบนพื้นผิวโลก[1] สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร[2] สุริยุปราคาผสมนั้นพบได้ยากมาก โดยคิดเป็นเพียงร้อยละ 3.1 ของสุริยุปราคาทั้งหมดในศตวรรษที่ 21[3]

สุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566
สุริยุปราคาเต็มดวงจากเมืองเอกซ์เมาท์ ออสเตรเลีย
แผนที่
ประเภท
ประเภทผสม
แกมมา-0.3952
ความส่องสว่าง1.0132
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา76 วินาที (1 นาที 16 วินาที)
พิกัด9°36′S 125°48′E / 9.6°S 125.8°E / -9.6; 125.8
ความกว้างของเงามืด49 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน01:34:15
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด02:36:56
บดบังมากที่สุด04:17:56
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด05:56:35
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน06:59:13
แหล่งอ้างอิง
แซรอส129 (52 จาก 80)
บัญชี # (SE5000)9559

ภาพ แก้

 
ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทาง

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

สุริยุปราคา พ.ศ. 2565–2568 แก้

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[4]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2565–2568
โหนดขึ้น   โหนดลง
119 30 เมษายน 2565
 
บางส่วน
124 25 ตุลาคม 2565
 
บางส่วน
129 20 เมษายน 2566
 
ผสม
134 14 ตุลาคม 2566
 
วงแหวน
139 8 เมษายน 2567
 
เต็มดวง
144 2 ตุลาคม 2567
 
วงแหวน
149 29 มีนาคม 2568
 
บางส่วน
154 21 กันยายน 2568
 
บางส่วน

ซารอส 129 แก้

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 129 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 80 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 1646 (ค.ศ. 1103) ชุดซารอสนี้มีสุริยุปราคาวงแหวนซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2007 (ค.ศ. 1464) จนถึงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) สุริยุปราคาผสมในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) และ 20 เมษายน พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) สุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2584 (ค.ศ. 2041) จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2728 (ค.ศ. 2185) และชุดซารอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 3071 (ค.ศ. 2528) คราสเต็มดวงนานที่สุดของซารอสนี้อยู่ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2674 (ค.ศ. 2131) ด้วยเวลา 3 นาที 43 วินาที[5]

ชุดเมตอน แก้

ชุดเมตอนการวนซ้ำของอุปราคาทุก ๆ 19 ปี (6939.69 วัน) สุดท้ายประมาณ 5 วัฏจักร โดยอุปราคาเกิดขึ้นในวันอันใกล้เคียงกันในปฏิทิน ในการเพิ่มขึ้นของตัวรองอนุกรมออคตอน ซึ่งวนซ้ำ 1/5 ของนั้นหรือทุก ๆ 3.8 ปี (1387.94 วัน)

อ้างอิง แก้

  1. "Lunar eclipse 2023: The rare celestial event which will not happen again till 2042". India Today (Press release). สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.
  2. "How to view this week's rare hybrid eclipse". CNN. สืบค้นเมื่อ 27 April 2023.
  3. "Hybrid solar eclipse: Everything you need to know about the rare and strange phenomenon". Space.com. 20 November 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  4. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  5. http://eclipse.gsfc.nasa.gov/SEsaros/SEsaros129.html
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
25 ตุลาคม 2565
(  สุริยุปราคาบางส่วน)
  สุริยุปราคา 20 เมษายน พ.ศ. 2566   สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
14 ตุลาคม 2566
(  สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาผสมครั้งก่อนหน้า:
3 พฤศจิกายน 2556
 
สุริยุปราคาผสม
สุริยุปราคาผสมครั้งถัดไป:
14 พฤศจิกายน 2574