สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567

สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2567 โดยมองเห็นได้จากทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกากลาง สุริยุปราคาเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ โคจรผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ โดยวิธีนั้นจะเห็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงและแบบบางส่วนเมื่อมองจากโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นเมื่อขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์ มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ โดยจะบดบังแสงโดยตรงทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ ทำให้เวลากลางวันเข้าสู่ความมืด สุริยุปราคาแบบเต็มดวงเกิดขึ้นในแนวแคบผ่านบนพื้นผิวโลก และสุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เหนือบริเวณรอบ ๆ ภูมิภาคนั้นกว้างหลายพันกิโลเมตร อุปราคานี้มีความส่องสว่าง 1.0566 โดยสถานที่ที่มองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นานที่สุด อยู่ใกล้กับเมืองแนซแซส, รัฐดูรังโก, เม็กซิโก และใกล้กับนครเตอร์เรออน, รัฐโกอาวีลา

สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567
แผนที่
ประเภท
ประเภทเต็มดวง
แกมมา0.3431
ความส่องสว่าง1.0566
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา268 วินาที (4 นาที 28 วินาที)
สถานที่แนซแซส, รัฐดูรังโก, เม็กซิโก
พิกัด25°18′N 104°06′W / 25.3°N 104.1°W / 25.3; -104.1
ความกว้างของเงามืด198 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน15:42:07
(U1) เริ่มอุปราคาเงามืด16:38:44
บดบังมากที่สุด18:18:29
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเงามืด19:55:29
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน20:52:14
แหล่งอ้างอิง
แซรอส139 (30 จาก 71)
บัญชี # (SE5000)9561

สภาพมองเห็นได้ แก้

 
ภาพเคลื่อนไหวแนวเส้นทาง

คราสเต็มดวงจะมองเห็นได้ตามแนวบนแผ่นดินของทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มต้นจากแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เคลื่อนผ่านตอนเหนือของเม็กซิโก ผ่านรัฐซีนาโลอา ดูรังโก และโกอาวีลา ในสหรัฐอเมริกา ผ่านรัฐเท็กซัส อาร์คันซอ มิสซูรี อิลลินอยส์ เคนทักกี อินดีแอนา โอไฮโอ นิวยอร์ก และเวอร์มอนต์ และสุดท้ายที่ส่วนใต้สุดของจังหวัดออนแทริโอ, ควิเบก และ นิวบรันสวิก, เกาะปรินซ์เอ็ดเวิร์ดตะวันตก และ เกาะนิวฟันด์แลนด์ในแคนาดาตะวันออก หลังจากนั้นคราสเต็มดวงจะหายลับไปทางชายฝั่งแอตแลนติกตะวันออกของนิวฟันด์แลนด์ นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ใน 7 ปีที่สามารถสังเกตได้จากสหรัฐอเมริกากลาง โดยครั้งก่อนคือสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560[1]

อุปราคาที่เกี่ยวข้อง แก้

อุปราคาครั้งนี้นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกที่มองเห็นได้ในเม็กซิโก ตั้งแต่สุริยุปราคา 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[2]

แนวของอุปราคาเคลื่อนผ่านส่วนหนึ่งของแนวของสุริยุปราคา 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยบรรจบกันที่ในเซาท์เทิร์นอิลลินอยส์ ในแมกันดา ส่วนใต้สุดของคาร์บอนเดล พื้นที่เล็ก ๆ รวมถึงในเมืองคาร์บอนเดล เคปเจอราโด และเพดูคาห์ จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงถึงสองครั้ง ภายในเวลาห่างกันเพียงแค่ 7 ปี

สุริยุปราคา พ.ศ. 2565–2568 แก้

อุปราคานี้เป็นสมาชิกของชุดเทอม โดยอุปราคาในชุดเทอมของสุริยุปราคาจะวนซ้ำโดยประมาณทุก ๆ 177 วัน 4 ชั่วโมง (เทอม) ที่การสลับโหนดของวงโคจรดวงจันทร์[3]

ชุดอนุกรมสุริยุปราคา ระหว่าง พ.ศ. 2565–2568
โหนดขึ้น   โหนดลง
119 30 เมษายน 2565
 
บางส่วน
124 25 ตุลาคม 2565
 
บางส่วน
129 20 เมษายน 2566
 
ผสม
134 14 ตุลาคม 2566
 
วงแหวน
139 8 เมษายน 2567
 
เต็มดวง
144 2 ตุลาคม 2567
 
วงแหวน
149 29 มีนาคม 2568
 
บางส่วน
154 21 กันยายน 2568
 
บางส่วน

ซารอส 139 แก้

อุปราคาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวงรอบแซรอสที่ 139 ซึ่งวนซ้ำทุก ๆ 18 ปี 11 วัน ประกอบด้วย 71 เหตุการณ์ โดยชุดนี้เริ่มต้นจากสุริยุปราคาบางส่วนในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2044 (ค.ศ. 1501) ชุดแซรอสนี้มีสุริยุปราคาผสมซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2170 (ค.ศ. 1627) จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) สุริยุปราคาเต็มดวงซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) จนถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 3144 (ค.ศ. 2601) และชุดแซรอสนี้จบลงในสุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 3306 (ค.ศ. 2763) คราสเต็มดวงนานที่สุดของแซรอสนี้อยู่ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2675 (ค.ศ. 2132) ด้วยเวลา 6 นาที 55 วินาที[4] แซรอสนี้มีสุริยุปราคาที่มีระยะเวลายาวนานที่สุดที่คำนวณไว้ระหว่าง ก่อน ค.ศ. 4000 ถึง ค.ศ. 6000[5]

อ้างอิง แก้

  1. http://xjubier.free.fr/en/site_pages/solar_eclipses/TSE_2024_GoogleMapFull.html
  2. Total Solar Eclipse in Mexico, 1991 (ภาษาสเปน). มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก. สืบค้นเมื่อ 2009-04-02.
  3. van Gent, R.H. "Solar- and Lunar-Eclipse Predictions from Antiquity to the Present". A Catalogue of Eclipse Cycles. Utrecht University. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
  4. Saros Series Catalog of Solar Eclipses NASA Eclipse Web Site
  5. Ten Millennium Catalog of Long Solar Eclipses, -3999 to +6000 (4000 BCE to 6000 CE) Fred Espinak
สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
14 ตุลาคม 2566
(  สุริยุปราคาวงแหวน)
  สุริยุปราคา 8 เมษายน พ.ศ. 2567   สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
2 ตุลาคม 2567
(  สุริยุปราคาวงแหวน)
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งก่อนหน้า:
4 ธันวาคม 2564
 
สุริยุปราคาเต็มดวง
สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป:
12 สิงหาคม 2569