สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553

สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เงามืดพาดผ่านแอฟริกาตะวันออก ได้แก่ ประเทศคองโก ประเทศเคนยา ก่อนลงสู่มหาสมุทรอินเดีย แล้วขึ้นสู่แผ่นดินบริเวณตอนใต้ของประเทศอินเดีย ตอนเหนือของประเทศศรีลังกา อ่าวเบงกอล ตอนเหนือของประเทศพม่า และไปสิ้นสุดที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน

สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553
สุริยุปราคาวงแหวน 15 มกราคม พ.ศ. 2553
ประเภท
แกมมา0.4002
ความส่องสว่าง0.9190
บดบังมากที่สุด
ระยะเวลา668 วินาที (11 นาที 08 วินาที)
ความกว้างของเงามืด333 กิโลเมตร
เวลา (UTC)
บดบังมากที่สุด07:07:39
แหล่งอ้างอิง
แซรอส141
บัญชี # (SE5000)9529

สุริยุปราคาบางส่วนในไทย แก้

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน โดยสุริยุปราคาแบบวงแหวนนั้นเกิดจากขนาดปรากฏของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์ไม่สามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้จึงเหลือพื้นที่ของดวงอาทิตย์ปรากฏคล้ายวงแหวน โดยสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาชุดที่ 141(Saros Series 141) ซึ่งประเทศไทยสามารถมองเห็นได้เป็นสุริยุปราคาบางส่วน โดยภาคเหนือของประเทศจะสามารถสังเกตการเว้าแหว่งของดวงอาทิตย์ได้มากกว่าภาคอื่น โดยสัมผัสแรกเริ่มขึ้นในเวลา 13:50 น. ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต บดบังมากที่สุดที่ เวลา 15:39 น. ที่ ตำบลนาปู่ป้อม อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยบดบังร้อยละ 78.15 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ และสิ้นสุดเวลา 17:04 น. ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเริ่มสัมผัสแรกเวลา 14:00 น. บดบังมากที่สุดร้อยละ 57.25 ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ ในเวลา 15:37 น. และสิ้นสุดเวลา 16:58 น. โดยหลังจากเหตุการณ์นี้แล้วประเทศไทยจะสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนอีกครั้งได้ ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า

ภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

สุริยุปราคา
สุริยุปราคาครั้งก่อนหน้า:
สุริยุปราคาเต็มดวง 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(  สุริยุปราคาเต็มดวง)
  สุริยุปราคา 15 มกราคม พ.ศ. 2553   สุริยุปราคาครั้งถัดไป:
สุริยุปราคาเต็มดวง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
(  สุริยุปราคาเต็มดวง)
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งก่อนหน้า:
สุริยุปราคา 26 มกราคม พ.ศ. 2551
 
สุริยุปราคาวงแหวน
สุริยุปราคาวงแหวนครั้งถัดไป:
สุริยุปราคา 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555