สุภาพร กิตติขจร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สุภาพร กิตติขจร (23 กันยายน พ.ศ. 2483 — 17 มีนาคม พ.ศ. 2548) เป็นบุตรคนที่ 3 ของจอมพล ประภาส จารุเสถียร และท่านผู้หญิง ไสว จารุเสถียร และเป็นอดีตภริยาพันเอกณรงค์ กิตติขจร
ประวัติ
แก้คุณสุภาพร กิตติขจร เป็นบุตรคนที่ 3 ของจอมพลประภาส จารุเสถียรและท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2483 เมื่อเยาว์วัยเข้าเรียนชั้นอนุบาลในโรงเรียนกรมทหารสื่อสาร เขตบางซื่อ ในขณะที่จอมพลประภาส รับราชการที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ที่ตั้งเดิม ปัจจุบันเป็น ร.1 พัน 3 รอ.) ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียน เมื่อจอมพลประภาสย้ายไปเป็น ผบ.ร.1 รอ.ซึ่งตั้งอยู่ที่สวนเจ้าเชตุ ตรงข้ามวัดโพธิ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกรมรักษาดินแดน) ครอบครัวก็ย้ายตามไปหมด คุณสุภาพรจึงย้ายไปเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนซันตาครู๊ซ แล้วย้ายมาเรียนชั้นประถมตอนปลายที่โรงเรียนราชินีบน (บางกระบือ) จนจบมัธยมบริบูรณ์ แล้วจึงไปเรียนต่อในไฮสคูล ที่ลอเร้นโต้ คอนแวนต์ เมืองซิมล่า ประเทศอินเดีย หลังจากจบลอเร็นโต้กำลังจะไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ แต่ ร้อยตรีณรงค์ กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับคุณสุภาพรมาตั้งแต่อายุได้ 5-6 ขวบ ซึ่งรู้จักกันตั้งแต่เยาว์วัย ได้ขอแต่งงานเมื่อคุณสุภาพรอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น โดยมีบุตร - ธิดารวม 4 คน ได้แก่
- พลเอก [1]เกริกเกียรติ กิตติขจร อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- นาย กรกาจ กิตติขจร (เสียชีวิตแล้ว) ใน เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557[2] สมรส กับ ประพจนีย์ กิตติขจร มีบุตร ชื่อ กิตติพจน์ กิตติขจร
- พลตรี กิจก้อง กิตติขจร ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
- นาง กรองกาญจน์ ดิศกุล ณ อยุธยา สมรสกับ พันเอก หม่อมหลวงกุลชาต ดิศกุล ผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
ชีวิตส่วนตัว
แก้พันโทณรงค์และคุณสุภาพร กิตติขจรอยู่กันมาเป็นระยะเวลาถึง 47 ปี แม้ว่า พันโทณรงค์ กิตติขจร ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการสงครามในต่างประเทศหรือขณะที่ พันโทณรงค์ ถูกมรสุมทางการเมือง ต้องไปอยู่ในประเทศเยอรมนีก็ตาม
บั้นปลายชีวิต
แก้คุณสุภาพร กิตติขจร เริ่มป่วยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้รับการรักษาจากคณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ ในเบื้องต้น และคณะแพทย์พยาบาลโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเฉพาะ นพ.นิพนธ์ ลิ้มตระกูล ได้พยายามรักษาพยาบาลอย่างเต็มความสามารถจนกลับบ้านได้ในครั้งแรก ต่อมาภายหลังมีอาการไม่ค่อยดี จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพอีกครั้ง และมีอาการทรุดลงเรื่อย ๆ จนสุดจะเยียวยาได้และจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2548