สึ (เมือง)

นครและเมืองหลวงของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น

สึ (ญี่ปุ่น: 津市โรมาจิTsu-shi) เป็นนครและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 (2021 -07-31) นครสึมีประชากรประมาณ 274,879 คน 127,273 หลังคาเรือน มีความหนาแน่นของประชากร 390 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 711.11 ตารางกิโลเมตร (274.56 ตารางไมล์) แม้ว่านครสึจะเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจังหวัดในด้านจำนวนประชากร แต่ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองหลวงของจังหวัด และจากการที่มีสำนักงานรัฐบาลส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาจำนวนมากทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครองและการศึกษาของจังหวัดมิเอะ

สึ

津市
ปราสาทสึ, สึคันนง, ศาลเจ้าโกโกกุจังหวัดมิเอะ, ป้ายสถานีสึ, สึ นางิซามาจิ
ปราสาทสึ, สึคันนง,
ศาลเจ้าโกโกกุจังหวัดมิเอะ, ป้ายสถานีสึ,
สึ นางิซามาจิ
ธงของสึ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของสึ
ตรา
ที่ตั้งของสึ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดมิเอะ
ที่ตั้งของสึ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดมิเอะ
แผนที่
สึตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
สึ
สึ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 34°43′6.4″N 136°30′20.6″E / 34.718444°N 136.505722°E / 34.718444; 136.505722
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ, โทไก
จังหวัดจังหวัดมิเอะ มิเอะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียาซูยูกิ มาเอบะ (ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 2011)
พื้นที่
 • ทั้งหมด711.11 ตร.กม. (274.56 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สิงหาคม ค.ศ. 2021)
 • ทั้งหมด274,879 คน
 • ความหนาแน่น390 คน/ตร.กม. (1,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
สัญลักษณ์ 
 • ต้นไม้เคยากิ, เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata)
 • ดอกไม้อาซาเลีย
 • นกนกกระจ้อยญี่ปุ่น
โทรศัพท์059-229-3110
ที่อยู่สำนักงาน23-1 Nishi-Marunouchi, Tsu-shi, Mie-ken 514-8611
เว็บไซต์www.info.city.tsu.mie.jp

ประวัติศาสตร์

แก้

จุดเริ่มต้น

แก้

เดิมทีสึได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าที่เรียกว่า อานตสึ (安濃津) ในยุคนาระและยุคเฮอัง ต่อมาท่าเรือนี้ได้ถูกคลื่นสึนามิทำลายในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในนังไกโดยุคเมโอเมื่อ ค.ศ. 1498

ยุคเอโดะ

แก้

เมืองนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ในฐานะเมืองปราสาทและสถานีพักสินค้าโดยตระกูลโทโด ไดเมียวแห่งแคว้นศักดินาสึที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ในยุคเอโดะ ที่แห่งนี้กลายเป็นจุดแวะพักยอดนิยมของนักเดินทางที่มายังศาลเจ้าอิเซะ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร

สึในสมัยใหม่

แก้
 
โรงภาพยนตร์ชินเซไกในนครสึ ก่อน ค.ศ. 1945
 
การเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลนครสึ

หลังจากการฟื้นฟูเมจิ สึได้กลายเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมิเอะใน ค.ศ. 1871 และได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 สึเป็นหนึ่งในเทศบาลนคร 31 แห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น อาณาเขตของเทศบาลนครสึได้ขยายขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผนวกรวมกับหมู่บ้านทาเตเบะ และหมู่บ้านโทซะใน ค.ศ. 1909, เมืองชิมมาจิใน ค.ศ. 1934, หมู่บ้านฟูจิมิใน ค.ศ. 1936, หมู่บ้านทากาจายะใน ค.ศ. 1939 และหมู่บ้านอันโตะ หมู่บ้านคัมเบะ และหมู่บ้านคูชิงาตะใน ค.ศ. 1943

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 การโจมตีทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 24 และ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ได้ทำลายเมืองส่วนใหญ่และคร่าชีวิตผู้คนไป 1,239 คน นครสึได้ผนวกกับหมู่บ้านข้างเคียง ได้แก่ หมู่บ้านคูโคซุใน ค.ศ. 1953, เมืองอิชชินเด็ง เมืองชิรัตสึกะ หมู่บ้านคูริมะ และหมู่บ้านคาตาดะใน ค.ศ. 1954, และหมู่บ้านโทโยซาโตะใน ค.ศ. 1973

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 เทศบาลข้างเคียง ได้แก่ นครฮิซาอิ, เมืองอาโน เมืองเกโน เมืองคาวาเงะ หมู่บ้านมิซาโตะ (ทั้งหมดอยู่ในอำเภออาเงะ), เมืองฮากูซัง เมืองอิจิชิ เมืองคาราซุ และหมู่บ้านมิซูงิ (ทั้งหมดอยู่ในอำเภออิจิชิ) ได้ผนวกเข้ากับนครสึ ผลของการควบรวมเทศบาลครั้งนี้ ทำให้นครสึนี้กลายเป็นเทศบาลที่ใหญ่เป็นอันดับสองในจังหวัดมิเอะในด้านจำนวนประชากรรองจากนครยกกาอิจิ และใหญ่ที่สุดในจังหวัดมิเอะในด้านขนาดพื้นที่นำหน้านครมัตสึซากะ

ภูมิศาสตร์

แก้

นครสึตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรคิอิ ตอนกลางของจังหวัดมิเอะ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดมิเอะในแง่ของพื้นที่ โดยมีอาณาบริเวณตลอดความกว้างของจังหวัดมิเอะ ทางทิศตะวันออกติดกับอ่าวอิเซะ มหาสมุทรแปซิฟิก และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดนาระ บางส่วนของเมืองอยู่ในขอบเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติมูโร-อากาเมะ-อาโอยามะ

อาณาเขตติดต่อ

แก้

ภูมิอากาศ

แก้

นครสึมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa) โดยมีลักษณะเฉพาะคือฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบายโดยมีหิมะตกเล็กน้อยไปจนถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในนครสึอยู่ที่ 15.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,931 มิลลิเมตร โดยมีเดือนกันยายนเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดจะอยู่ในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 26.7 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 5.0 °C[2] นครสึมีหยาดน้ำฟ้าตกตลอดทั้งปี แต่จะตกหนักที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน

ข้อมูลภูมิอากาศของสึ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะรุนแรง 1889−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.0
(66.2)
22.8
(73)
25.9
(78.6)
31.0
(87.8)
33.9
(93)
36.7
(98.1)
39.1
(102.4)
39.5
(103.1)
37.7
(99.9)
31.0
(87.8)
27.2
(81)
23.7
(74.7)
39.5
(103.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.5
(49.1)
10.0
(50)
13.4
(56.1)
18.6
(65.5)
23.1
(73.6)
26.2
(79.2)
30.4
(86.7)
31.6
(88.9)
28.0
(82.4)
22.6
(72.7)
17.1
(62.8)
12.0
(53.6)
20.2
(68.4)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 5.7
(42.3)
5.9
(42.6)
9.0
(48.2)
14.2
(57.6)
19.0
(66.2)
22.7
(72.9)
26.8
(80.2)
27.9
(82.2)
24.4
(75.9)
18.8
(65.8)
13.2
(55.8)
8.1
(46.6)
16.3
(61.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.4
(36.3)
2.4
(36.3)
5.2
(41.4)
10.2
(50.4)
15.4
(59.7)
19.7
(67.5)
24.0
(75.2)
25.0
(77)
21.4
(70.5)
15.5
(59.9)
9.5
(49.1)
4.6
(40.3)
12.9
(55.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -7.8
(18)
-7.0
(19.4)
-5.6
(21.9)
-3.0
(26.6)
3.0
(37.4)
9.0
(48.2)
14.6
(58.3)
14.6
(58.3)
8.7
(47.7)
2.3
(36.1)
-1.4
(29.5)
-6.4
(20.5)
−7.8
(18)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 48.5
(1.909)
57.1
(2.248)
104.5
(4.114)
129.0
(5.079)
167.3
(6.587)
201.8
(7.945)
173.9
(6.846)
144.5
(5.689)
276.6
(10.89)
186.1
(7.327)
76.4
(3.008)
47.2
(1.858)
1,612.9
(63.5)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 2
(0.8)
3
(1.2)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
6
(2.4)
ความชื้นร้อยละ 61 61 62 64 68 74 75 73 72 69 65 63 67
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 6.4 7.5 10.5 9.8 10.9 12.8 12.3 9.8 12.3 10.1 6.8 6.5 115.7
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 162.9 156.2 186.1 192.7 197.8 146.9 180.2 220.7 165.3 164.5 163.7 171.5 2,108.6
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3]

ประชากร

แก้

ตามข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] จำนวนประชากรของนครสึ ค่อนข้างคงที่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
1960 226,065—    
1970 242,000+7.0%
1980 265,443+9.7%
1990 280,384+5.6%
2000 286,521+2.2%
2010 285,728−0.3%

การเมืองการปกครอง

แก้

นครสึมีรูปแบบการปกครองแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครที่เป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิก 34 คน ในการเมืองระดับจังหวัด นครสึเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดมิเอะจำนวน 7 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครสึเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งมิเอะ เขต 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่น

การขนส่ง

แก้
 
สถานีสึ
 
ทางแยกต่างระดับฮิซาอิ
 
ท่าเรือกสึ-มัตสึซากะ

รถไฟ

แก้

ทางหลวง

แก้

ทางด่วน

แก้

ทางหลวงแผ่นดิน

แก้

ท่าเรือ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สถิติทางการของนครสึ" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. ข้อมูลภูมิอากาศนครสึ
  3. 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
  4. สถิติประชากรนครสึ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้