สำราญ ศรีแปงวงค์

นายสำราญ ศรีแปงวงค์ (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำแพงเพชร เขต 1 โดยได้รับการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

สำราญ ศรีแปงวงค์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำแพงเพชร เขต 1
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์

ประวัติ แก้

สำราญ ศรีแปงวงค์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 เป็นบุตรของนายสม และนางคำป้อ ศรีแปงวงศ์ มีพี่น้อง 5 คน สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สมรสกับนางวรรณา มีบุตร 2 คน

งานการเมือง แก้

อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัด 3 สมัย ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมา พ.ศ. 2550 ลงเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับเลือกเป็นสมัยแรกยกทีม ร่วมกับ นายปรีชา มุสิกุล และนายสุขวิชชาญ มุสิกุล ในการเลือกตั้งครั้งถัดมาปี พ.ศ. 2554 พ่ายให้กับนายอนันต์ ผลอำนวย จากพรรคเพื่อไทย

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

สำราญ ศรีแปงวงค์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

การลงเลือกตั้ง แก้

ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา นายสุขวิชชาญลงสมัครรับเลือกตั้ง 4 ครั้ง ได้รับการเลือกตั้ง 1 ครั้ง[2]

การเลือกตั้ง เขต อันดับที่ 1 (ได้รับเลือกตั้ง) อันดับที่ 2 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง) อันดับที่ 3 (ไม่ได้รับเลือกตั้ง)
พ.ศ. 2548 3 พันตำรวจโทไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
(พรรคไทยรักไทย)
43,687 คะแนน
นายสำราญ ศรีแปงวงค์
(พรรคประชาธิปัตย์)
16,329 คะแนน
นายธานี สุโชดายน
(พรรคมหาชน)
3,350 คะแนน
พ.ศ. 2550 1 นายปรีชา มุสิกุล
94,242 คะแนน
นายสุขวิชชาญ มุสิกุล
88,867 คะแนน
นายสำราญ ศรีแปงวงค์
81,566 คะแนน
(พรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด)
นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์
79,210 คะแนน
พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
78,628 คะแนน
นายไผ่ ลิกค์
74,478 คะแนน
(พรรคพลังประชาชนทั้งหมด)
20 คน
พ.ศ. 2554 3 นายอนันต์ ผลอำนวย
(พรรคเพื่อไทย)
35,512 คะแนน
นายสำราญ ศรีแปงวงค์
(พรรคประชาธิปัตย์)
32,052 คะแนน
นายณรงค์ อยู่ปาน
(พรรคชาติไทยพัฒนา)
16,729 คะแนน
พ.ศ. 2562 3 นายอนันต์ ผลอำนวย
(พรรคพลังประชารัฐ)
31,127 คะแนน
นายสำราญ ศรีแปงวงค์
(พรรคประชาธิปัตย์)
21,071 คะแนน
นายจรัญ อิสระบัณฑิตกุล
(พรรคเพื่อไทย)
18,522 คะแนน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สถิติข้อมูลการเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้