สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (อังกฤษ: School of Science, Mae Fah Luang University) ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นสำนักวิชาแรกของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ในสังกัดของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังจัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้กับนักศึกษาในสำนักวิชาต่าง ๆ อีกด้วย ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ณ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
School of Science, Mae Fah Luang University | |
ชื่อย่อ | SCI / MFU. |
---|---|
คติพจน์ | "สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นสำนักวิชาที่มีความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสากล" |
สถาปนา | 25 กันยายน พ.ศ. 2541 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) |
คณบดี | รศ.ดร.สุรัตน์ ละภูเขียว |
ที่อยู่ | |
สี | สีเหลือง |
เว็บไซต์ | สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
ประวัติ
แก้พ.ศ. 2541 ทางสภามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดตั้งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรเคมีประยุกต์ หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรเคมีประยุกต์ หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ หลักสูตรวิทยาการเชิงคำนวณ หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 4 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรเคมีประยุกต์ หลักสูตรวิศวกรรมวัสดุ และหลักสูตรวิทยาการเชิงคำนวณ
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีคณาจารย์รุ่นใหม่ที่มีความพร้อมในการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อและมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย เราจึงพร้อมที่จะทำงานวิจัยที่ค้นคว้าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งในระดับภูมิภาค ชาติและนานาชาติ นอกจากนี้สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ยังให้บริการวิชาการแก่สังคมและไม่ลืมที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย[1]
หลักสูตร
แก้หลักสูตรที่เปิดสอนในสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง |
---|
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
การจัดการศึกษา
แก้สำนักวิชาวิทยาศาสตร์จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตามระบบหน่วยกิต แบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 1 เริ่มต้นช่วงเดือนสิงหาคมและสิ้นสุดลงช่วงเดือนธันวาคม และภาคเรียนที่ 2 เริ่มต้นช่วงเดือนมกราคมและสิ้นสุดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจมีการศึกษาภาคฤดูร้อนเพิ่มเติม ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จะใช้เวลาศึกษา 4 ปี แบ่งเป็นการศึกษาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาแกนในช่วง 1 ปีแรก และการศึกษาในวิชาเฉพาะบังคับตามหลักสูตร วิชาเฉพาะเลือกต่าง ๆ ภายในหลักสูตร และวิชาเลือกเสรีรวมระยะเวลา 3 ปี และอาจมีการฝึกงานภาคฤดูร้อนหรือฝึกงานแบบสหกิจศึกษาเพิ่มเติม ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ใช้เวลาศึกษา 2 ปี แบ่งเป็นการศึกษาในวิชาเอกบังคับ วิชาเอกเลือก สัมมนา และวิทยานิพนธ์
การรับสมัคร
ดูบทความหลักที่: การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
ปริญญาตรี
การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จะทำการรับสมัครและคัดเลือกผ่านระบบ TCAS โดยแบ่งการรับเป็น 5 รอบ สำหรับรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
รอบที่ 1 – Portfolio
- โครงการรับตรงสำนักวิชา
- โครงการเครือข่ายครูแนะแนว
- โครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมเด็กดีมีที่เรียน
- โครงการรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษเน้นภาษาอังกฤษ
- โครงการทุนการศึกษาสิงห์ปาร์คเชียงราย
- โครงการรับนักเรียนผู้พิการเข้าศึกษา
- โครงการรับผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย และจบจากต่างประเทศหรือเทียบเท่า
- โครงการพิเศษเพื่อนักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้
รอบที่ 2 – โควตา
- โครงการโควต้า 17 จังหวัดภาคเหนือ
รอบที่ 3 – รับตรงร่วมกัน
รับสมัครนักเรียนทั่วไป ดำเนินการรับสมัครโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ผ่านเว็บไซต์ของ ทปอ. พร้อมกันทั่วประเทศ
รอบที่ 4 – Admission
รับสมัครนักเรียนทั่วไป ดำเนินการรับสมัครโดย ทปอ. ผ่านเว็บไซต์ของ ทปอ. พร้อมกันทั่วประเทศ คะแนนที่ใช้ในการคัดเลือกจะใช้ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2
รอบที่ 5 – รับตรงอิสระ
จำนวนรับขึ้นกับจำนวนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในรอบที่ 1-4
ปริญญาโท
การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในภาคการเรียนสุดท้าย ระดับปริญญาตรี และต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ปริญญาเอก
การเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในภาคการเรียนสุดท้ายระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งรายละเอียดสาขาวิชา เกณฑ์การรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือกจะเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คณบดี
แก้ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[2]
ทำเนียบคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. รศ.มณฑล สงวนเสริมศรี (รักษาการคณบดี) | 9 มีนาคม พ.ศ. 2542 - 29 กันยายน พ.ศ. 2542 | |
2. ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา (รักษาการคณบดี) | 30 กันยายน พ.ศ. 2542 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2546 | |
3. ศ. ดร.สุจินต์ จินายน (รักษาการคณบดี) | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
4. Prof. Dr.John Keith Syers (รักษาการคณบดี) | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
5. ศ.ดร.สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 | |
6. รศ.กัลณกา สาธิตธาดา (รักษาการคณบดี) | 1 มกราคม พ.ศ. 2554 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 | |
7. รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ (รักษาการคณบดี) | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 | |
8. ผศ.ดร.ตวงรักษ์ นันทวิสารกุล | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - 30 เมษายน พ.ศ. 2557 | |
9. ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ นิลทอง (รักษาการคณบดี) | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 30 เมษายน 2558 | |
10. ดร.อมร โอวาทวรกิจ (รักษาการคณบดี) | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - 31 มกราคม พ.ศ. 2559 | |
11. รศ.ดร.สมศักดิ์ อภิสิทธิวาณิช | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | |
12. ผศ.ดร.อุไรวรรณ อินต๊ะถา | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (รักษาการคณบดี)
16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (คณบดี) | |
13. รศ.ดร.สุรัตน์ ละภูเขียว | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |