สาธารณรัฐบังซาโมโร

สาธารณรัฐบังซาโมโร (Bangsamoro Republik) หรือชื่อเป็นทางการว่าสหสหพันธรัฐแห่งสาธารณรัฐบังซาโมโร (United Federated States of Bangsamoro Republik; UFSBR)[4] เป็นรัฐที่ไม่ได้รับการรับรองอายุสั้นที่แยกตัวออกมาจากฟิลิปปินส์ นูร์ มีซัวรี ประธานแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร เป็นผู้ประกาศเอกราชของบังซาโมโรเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ตาลิเปา ซูลู และประกาศให้เมืองหลวงอยู่ที่ดาเวา ซิตี[5] ตามคำประกาศของมีซัวรี เขตการปกครองประกอบด้วยเกาะบาสิลัน มินดาเนา ปาลาวัน ซูลูและตาวี-ตาวี และรวมถึงรัฐซาราวักและซาบะฮ์ของมาเลเซียด้วย[2][6]

สหสหพันธรัฐแห่งสาธารณรัฐบังซาโมโร

جمهورية بانجسامورو
พ.ศ. 2556–พ.ศ. 2556
ธงชาติสาธารณรัฐบังซาโมโร
ธงชาติ
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงดาเวา ซิตี (โดยนิตินัย)
เมืองใหญ่สุดดาเวา ซิตี
เดมะนิมBangsamoro
การปกครองสหพันธรัฐ ประธานาธิบดี
สาธารณรัฐ
[1]
(รัฐบาลพลัดถิ่น)[2]
ประธานาธิบดี 
• พ.ศ. 2556
นูร์ มีซัวรี
เอกราช 
ประวัติศาสตร์ 
12 สิงหาคม พ.ศ. 2556[3]
27กรกฎาคม พ.ศ. 2556
• การรับรอง
ไม่มี
• พ่ายแพ้ใน ซัมบัวงา
28 กันยายน พ.ศ. 2556
เขตเวลาUTC+8
ขับรถด้านright
ก่อนหน้า
ถัดไป
ฟิลิปปินส์
Philippines

การประกาศเอกราชนี้ อาศัยความตามมติสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ 1514 เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่ต้องการให้เอกราชแก่อาณานิคมทั้งหมด[3] ร่วมกับวิกฤตืเมืองซัมบัวงา[7] แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรนี้เป็นผู้สังเกตการณ์ขององค์กรความร่วมมืออิสลาม ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556 เมื่อพ่ายแพ้รัฐบาลฟิลิปปินส์ในเมืองซัมบัวงา การควบคุมดินแดนในสาธารณรัฐบังซาโมโรอ่อนแอลง แต่ไม่ยอมยกเลิกการประกาศเอกราช

รากศัพท์ แก้

คำว่าบังซาโมโร เป็นคำในกลุ่มภาษามลาโย-โพลีเนเซีย โดยบังซาหมายถึงชาติหรือประชาชน ส่วนคำว่าโมโรเป็นภาษาสเปน มาจากคำว่ามัวร์ ซึ่งเป็นมุสลิม

ประวัติ แก้

ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มุสลิมจากอ่าวเปอร์เซีย[8]ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในเกาะตาวี-ตาวี การค้ากับมาเลเซียและอินโดนีเซียทำให้ศาสนาอิสลามมั่นคงในฟิลิปปินส์ภาคใต้ ใน พ.ศ. 2000 มีการจัดตั้งรัฐสุลต่านในบัวยัน มากินดาเนา และซูลู จนกระทั่งถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2441 บริเวณที่เป็นสาธารณรัฐบังซาโมโรมีสถานะเป็นจังหวัดโมโรในสมัยที่ปกครองโดยสหรัฐ ก่อนจะเป็นภาคมินดาเนาและซูลู สาธารณรัฐบังซาโมโรได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อ 28 เมษายน พ.ศ. 2517[9] สองเดือนหลังการล้มเมืองโกโลในซูลู จนกระทั่งมาเกิดวิกฤติในเมืองซัมบัวงา แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรจึงประกาศเอกราชอีกหลังจากที่ควบคุมบริเวณเมืองซัมบัวงันไว้ได้โดยพฤตินัย[10][11]

อ้างอิง แก้

  1. "MNLF returns to rebellion | Headlines, News, The Philippine Star". philstar.com. 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  2. 2.0 2.1 "Misuari declares independence of Mindanao, southern Philippines". Gulf News. 2013-08-16. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  3. 3.0 3.1 "Nur declares independence of 'Bangsamoro Republik'". Philippine Star. 2013-08-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  4. "Bangsamoro Constitution: Road map to Independence and National self-determination". MNLF official website. 2013-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-13. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  5. "WHO IS AFRAID OF MINDANAO INDEPENDENCE?". August 14, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-15. สืบค้นเมื่อ November 19, 2013.
  6. Roel Pareño, The Philippine Star (2013-08-16). "MNLF returns to rebellion". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  7. "MNLF wants flag hoisted in Zamboanga city hall". ABS-CBN News. สืบค้นเมื่อ 2013-09-09.
  8. M.R. Izady. "The Gulf's Ethnic Diversity: An Evolutionary History. in G. Sick and L. Potter, eds., Security in the Persian Gulf Origins, Obstacles, and the Search for Consensus,(NYC: Palgrave, 2002)
  9. W.K. Che Man. "Muslim Separatism: The Moros of Southern Philippines and the Malays of Southern Thailand". Quezon City: Ateneo de Manila University Press, 1974.
  10. "Houses on fire as fighting erupts in southern Philippines". Reuters.
  11. "Malaysian Marwan believed to mastermind latest bomb attacks in south Philippines". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 2015-07-17.