สัมพันธสารวิเคราะห์

สัมพันธสารวิเคราะห์ ปริจเฉทวิเคราะห์ หรือ วาทกรรมวิเคราะห์ (อังกฤษ: discourse analysis) และยังเรียกอีกอย่างว่า สัมพันธสารศึกษา (discourse studies) คือแนวทางการวิเคราะห์การใช้ภาษาเขียน ภาษาพูด หรือภาษามือ หรือเหตุการณ์สำคัญใด ๆ ทางสัญญาณศาสตร์

วัตถุประสงค์ของสัมพันธสารวิเคราะห์ (สัมพันธสาร การเขียน การสนทนา เหตุการณ์สื่อสาร) ได้รับการนิยามไว้อย่างหลากหลายในแง่ที่เกี่ยวกับประโยค ประพจน์ วัจนกรรม หรือหน่วยผลัดในการพูดที่เรียงร้อยกันเป็นลำดับ ตรงข้ามกับนักภาษาศาสตร์ดั้งเดิมส่วนใหญ่ นักสัมพันธสารวิเคราะห์ไม่เพียงแต่ศึกษาการใช้ภาษาที่ "อยู่เหนือระดับประโยค" แต่ยังสนใจวิเคราะห์การใช้ภาษาที่ "เกิดขึ้นตามธรรมชาติ" ไม่ใช่ตัวอย่างที่คิดขึ้นเอง[1] ภาษาศาสตร์ข้อความต่อเนื่องเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้อย่างใกล้ชิด ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสัมพันธสารวิเคราะห์และภาษาศาสตร์ข้อความต่อเนื่องคือ สัมพันธสารวิเคราะห์มุ่งเปิดเผยลักษณะทางสังคมและจิตของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมากกว่าจะมุ่งวิเคราะห์โครงสร้างตัวบท[2]

สัมพันธสารวิเคราะห์ได้รับการนำมาอภิปรายในสาขาวิชาต่าง ๆ ในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ ภาษาศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สังคมสงเคราะห์ จิตวิทยาปริชาน จิตวิทยาสังคม ภูมิภาคศึกษา วัฒนธรรมศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์มนุษย์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการสื่อสาร การศึกษาไบเบิล การประชาสัมพันธ์ และการศึกษาการแปล แต่ละสาขาวิชาขึ้นอยู่กับสมมุติฐาน มิติการวิเคราะห์ และระเบียบวิธีของตนเอง

อ้างอิง แก้

  1. "Discourse Analysis—What Speakers Do in Conversation". Linguistic Society of America. สืบค้นเมื่อ 2019-11-25.
  2. "Yatsko's Computational Linguistics Laboratory". yatsko.zohosites.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-25.