สวนสาธารณะแฮนค็อก
สวนสาธารณะแฮนค็อก (อังกฤษ: Hancock Park) เป็นสวนสาธารณะของเมืองในชุมชนมิราเคิลไมล์ (Miracle Mile) ของย่านวิลเชียร์ ในลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
สวนสาธารณะแฮนค็อก | |
---|---|
ประเภท | สวนในเมือง |
ที่ตั้ง | เลขที่ 5800 ถนนวิลเชียร์ ย่านมิราเคิลไมล์ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย |
ผู้ดำเนินการ | Los Angeles Department of Recreation & Parks |
จุดดึงดูดของสวนสาธารณะแฮนค็อก ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในลอสแองเจลิส ได้แก่ บ่อน้ำมันดินลาเบรอา (La Brea Tar Pits) พิพิธภัณฑ์การสำรวจจอร์จ ซี เพจ (George C. Page Museum of La Brea Discoveries) ที่อยู่ติดกัน ซึ่งจัดแสดงฟอสซิลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก่อนประวัติศาสตร์ จากยุคน้ำแข็ง ที่พบในหลุมน้ำมันดินเหล่านั้น และพิพิธภัณฑ์ศิลปะเทศมณฑลลอสแองเจลิส (LACMA) [1] ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งทางฝั่งตะวันตกของอเมริกา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
แก้สวนสาธารณะแฮนค็อกมีพื้นที่เปิดโล่งในเมืองและพื้นที่ภูมิทัศน์สำหรับการเดิน การปิกนิก และพักผ่อนหย่อนใจอื่น ๆ ตั้งอยู่บนถนนวิลเชียร์ และทางตะวันออกของถนนแฟร์แฟกซ์ สวนสาธารณะแฮนค็อกทอดข้ามเขตกลางเมืองและพิพิธภัณฑ์ 2 แห่ง และสวนสาธารณะแฮนค็อกไม่ได้รวมอยู่ในย่านชุมชนแฮนค็อกพาร์ค ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
สวนสาธารณะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของ บ่อน้ำมันดินลาเบรอา พิพิธภัณฑ์การสำรวจจอร์จ ซี เพจซึ่งดูแลโดยพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ณ เทศมณฑลลอสแอนเจลิส (Natural History Museum of Los Angeles County) [2] และพิพิธภัณฑ์ศิลปะเทศมณฑลลอสแอนเจลิส (LACMA) และสวนประติมากรรม[2]
ประวัติ
แก้สวนสาธารณะแฮนค็อก (Hancock Park) ถูกสร้างขึ้นในปีพ. ศ. 2467 เมื่อ George Allan Hancock บริจาคพื้นที่ 23 เอเคอร์ของไร่แฮนค็อก (Hancock Ranch) ให้กับ County of Los Angeles โดยมีเงื่อนไขว่าอุทยานจะได้รับการอนุรักษ์และจัดแสดงฟอสซิลอย่างเหมาะสม [3]
สวนแห่งนี้ได้รับการตั้งชื่อตามผู้บริจาค George Hancock ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปิโตรเลียมของแคลิฟอร์เนีย ที่ตระหนักถึงความสำคัญทางวิทยาศาสตร์ของฟอสซิลที่พบในแหล่งบ่อน้ำมันดิน [3] เขาได้รับมรดกไร่ลาเบรอาที่มีเนื้อที่ 3,000 เอเคอร์ในปีพ.ศ. 2426 ซึ่งครอบคลุมกลุ่มบ่อน้ำมันลาเบรอา และได้พบกระดูกสัตว์เมื่อขุดหาน้ำมันในบ่อเหล่านี้่
จนกระทั่งในปีพ. ศ. 2418 กระดูกที่พบในคราบยางมะตอยธรรมชาติถือเป็นแหล่งรวมซากดึกดำบรรพ์ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพื้นเมืองโบราณในภูมิภาค ในปีนั้นเอง วิลเลียม เดนตัน (นักวิทยาศาสตร์) ได้ตีพิมพ์บทความที่กล่าวถึงการค้นพบซากสัตว์ที่ได้สูญพันธุ์ ที่ไร่ลาเบรอาเป็นครั้งแรก [3]
จนกระทั่งปีพ. ศ. 2444 ซากดึกดำบรรพ์จากพื้นที่นี้ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดโดย วิลเลียม วอร์เรน ออร์คัตต์ นักธรณีวิทยาคนสำคัญของลอสแองเจลิสและผู้บุกเบิกการทำปิโตรเลียม [4] โดยตรวจซากดึกดำบรรพ์ที่เขาสำรวจเก็บด้วยตนเอง [3] ออร์คัตต์ได้รวบรวมซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ ได้แก่ กระดูกของเสือเขี้ยวดาบ หมาป่าโลกันต์ สลอธยักษ์ และซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ จากแหล่งโบราณคดีบ่อน้ำมันลาเบรอา ทำให้ชุมชนวิทยาศาสตร์หันมาสนใจคุณค่าของบ่อน้ำมันดินลาเบรอา (La Brea Tarpits) เพื่อการทำความเข้าใจสัตว์และพืชในยุค Pleistocene ตอนปลายของอเมริกาเหนือ ในท้ายสุด ออร์คัตต์ได้บริจาคซากดึกดำบรรพ์ที่เขาสะสมให้กับ John Campbell Merriam จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย [5]
อุทยานแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของแคลิฟอร์เนียหมายเลข 170 บ่อน้ำมันลาเบรอายังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น สถานที่สำคัญทางธรรมชาติแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา [3]
เครื่องหมายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของแคลิฟอร์เนีย
แก้ป้ายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของแคลิฟอร์เนียหมายเลข 170 ณ แหล่งโบราณคดีบ่อน้ำมันดินลาเบรอา เขียนอธิบายดังนี้ [6]
- ป้ายหมายเลข 170 HANCOCK PARK LA BREA - ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายพันตัว ที่ถูกดักขังในช่วงยุคน้ำแข็งภายในแอ่ง ด้วยน้ำมันดินที่ซึมออกมาจากใต้พื้นดินและลอยตัวเป็นฟองผุด ได้ถูกขุดที่แหล่งโบราณคดีนี้ นับเป็นการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ครั้งแรกที่เกี่ยวกับบ่อน้ำมันดิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริจาคที่ดินของไร่ลาเบรอาในปีพ.ศ. 2383 แหล่งโบราณคดีนี้ถูกนำเสนอไปยังเทศมณฑลลอสแอนเจลิสในปีพ. ศ. 2459 โดยจี. อัลลัน แฮนค็อก เพื่อพัฒนาให้เป็นอนุสรณ์สถานทางวิทยาศาสตร์
อ้างอิง
แก้- ↑ Arcadia Publishing: "La Brea Tar Pits and Hancock Park" เก็บถาวร 2016-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 21 June 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "George C. Page Museum at the La Brea Tar Pits: the Page Museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-12-29.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 George C. Page Museum at the La Brea Tar Pits: History of Rancho La Brea and the La Brea Tar Pits excavations
- ↑ "Orcutt Ranch Horticultural Center Rancho Sombra del Roble". Los Angeles Department of Recreation and Parks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-27. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
- ↑ "Research at Rancho La Brea". Los Angeles County Museum of Natural History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
- ↑ 170, Hancock Park[ลิงก์เสีย]