สมเด็จพระจักรพรรดินี พระบรมอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระจักรพรรดินี พระบรมอัยยิกาเจ้า แบบภาษาจีนฮกเกี้ยน '''ไทฮองไทเฮา''' หรือแบบภาษาจีนกลาง ไท่หวงไท่โฮ่ว (จีน: 太皇太后; พินอิน: Tài huáng tàihòu ; ญี่ปุ่น: ไทโคไทโกะ;โรมาจิ: taikōtaigō ; เกาหลี: แทฮวังแทฮู (태황태후) ; ภาษาอังกฤษเรียกว่า '''Grand empress dowager''' หรือ '''Grand empress mother''' ) เป็นพระบรมราชอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระอัยยิกาของจักรพรรดิในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น พระบรมราชาอิสริยยศนี้ใช้ในเฉพาะราชวงศ์ที่มีสถานะเป็นอิมพีเรียล โดยทั่วไปถือว่ามีสถานะสูงกว่า ไท่หวางไท่โฮ่ว (太王太后) และ ต้าหวางต้าเฟย (大王大妃)[1]


ราชวงศ์หมิง เฉิงเซี่ยวเจาไท่หวงไท่โฮ่ว (ค.ศ. 1379 - 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1442)

ในประเทศจีน แก้

ไท่หวงไท่โฮ่ว (太皇太后) เรียกอย่างย่อว่า ไท่หวง (太皇) หรือ ไท่หมู่ (太母 ; "สมเด็จพระอัยยิกาเจ้า") เป็นพระราชอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระอัยยิกาในองค์จักรพรรดิ

ไทหวงไท่โฮ่วพระองค์แรกของจีนคือ จักรพรรดินีหลี่ ซึ่งมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น และไท่หวงไท่โฮ่วคนสุดท้ายของจีนคือ ซูสีไทเฮา ซึ่งมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง[2]

ในการที่จะได้รับการเคารพในฐานะไท่หวงไท่โฮ่วไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับจักรพรรดิ แต่ยังขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับจักรพรรดิอีกด้วย กล่าวคือ ไท่หวงไท่โฮ่วอาจมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับจักรพรรดิ หรือไท่หวงไท่โฮ่วอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับจักรพรรดิ แต่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายก็ได้


ในประเทศญี่ปุ่น แก้

พระบรมราชอิสริยยศ ไทโคไทโกะ (たいこうたいごう, 太皇太后) ปรากฏในช่วงปลายยุคอาซูกะ

ในประเทศเกาหลี แก้

ในรัชสมัยพระเจ้าโกจงได้ยกเกาหลีขึ้นเป็นจักรวรรดิเกาหลี[3] จึงทำให้พระอัยยิกาของจักรพรรดิเกาหลีมีพระบรมราชอิสริยยศเปลี่ยนจาก แดวังแดบี (대왕대비;大王大妃) เป็น แทฮวังแทฮู (태황태후;太皇太后)

อ้างอิง แก้

  1. 老學庵筆記/卷四》:「熙寧元豐間稱曹太皇為太母。元祐中,稱高太皇為太母」
  2. 定徽號慈禧端佑康頤昭豫莊誠壽恭欽獻崇熙太皇太后。
  3. Passport of Korean Empire from National Museum of Korean Contemporary History

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม แก้