อี แฮ-ว็อน (เกาหลี이해원; ฮันจา李海瑗; อาร์อาร์I Hae-won; เอ็มอาร์Yi Hae-wŏn; 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563) เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิโคจง ภายหลังเธอตั้งตนเองเป็นรัชทายาทที่ได้รับสมมุติของประเทศเกาหลีแย้งกับอี ว็อน ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของอี กู ผู้ได้รับการยอมรับจากสมาคมราชสกุลอีในการเป็นผู้นำราชวงศ์และได้รับการแต่งตั้งไปก่อนหน้า[1][2] อี แฮ-ว็อน เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ด้วยอายุ 100 ในบ้านของเธอที่เมืองฮานัม จังหวัดคย็องกี[3]

อี แฮ-ว็อน
ประมุขพระราชวงศ์เกาหลี (พิพาท)
ช่วงเวลา16 กรกฎาคม 2548– 8 กุมภาพันธ์ 2563
ราชาภิเษก16 กรกฎาคม 2548
ก่อนหน้าอี กู
ถัดไปไม่มี
ประสูติ24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462
พระราชวังซาดง เคโจ จังหวัดเคกิ เกาหลีของญี่ปุ่น
สิ้นพระชนม์8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (100 ปี)
ฮานัม จังหวัดคย็องกี ประเทศเกาหลีใต้
พระภัสดาอี ซึง-กยู
พระบุตร
  • อี จิน-ฮยู
  • อี จิน-วัง
  • อี จิน-จู
  • อี จิน-ฮง
ราชวงศ์อีแห่งช็อนจู (ประสูติ)
อีแห่งยงอิน (เสกสมรส)
พระบิดาอี คัง
พระมารดาอี ฮวี-จุน
พระนามในภาษาเกาหลี
ฮันกึล
이진
ฮันจา
李珍
อาร์อาร์Yi Jin
เอ็มอาร์I Ch'in
ชื่อวัยเยาว์
ฮันกึล
이길운 หรือ 이원
ฮันจา
李吉雲 หรือ 李瑗
อาร์อาร์Yi Gil-un หรือ Yi Won
เอ็มอาร์I Kil-un หรือ I Won
ชื่อตัว
ฮันกึล
이해원
ฮันจา
李海瑗
อาร์อาร์Yi Hae-won
เอ็มอาร์I Hae-wŏn

ประวัติ

แก้

อี แฮ-ว็อนเกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ณ พระราชวังซาดง เคโจ เป็นพระธิดาของเจ้าชายอี คัง (이강, 李堈) กับคิม ซู-ด็อก (김수덕, 金修德) ต่อมาคือเจ้าหญิงท็อกอิน (덕인당 김씨, 德仁堂 金氏) ด้วยความที่พระบิดามีสนมจำนวนมาก อี แฮ-ว็อนจึงมีพี่น้องร่วมบิดาจำนวน 21 คน เธออาศัยอยู่ภายในพระราชวังอุนฮย็อน และเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมศึกษาคย็องกีเมื่อ พ.ศ. 2479

อี แฮ-ว็อนสมรสกับอี ซึง-กยู มีบุตรชายด้วยกัน 3 คน กับบุตรสาวอีก 1 คน ภายหลังสามีถูกทางการเกาหลีเหนือลักพาตัว[4]

การอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์

แก้

หลังการสิ้นพระชนม์ของอี กู พระโอรสในมกุฎราชกุมารอึยมินเมื่อปี พ.ศ. 2548 ทางสมาคมราชสกุลอีจึงมีมติเลือกอี ว็อน พระโอรสของอี กับ (이갑, 李鉀) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำราชวงศ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แต่ทว่าหลังจากหนึ่งปี อี แฮ-ว็อนได้จัดพิธีราชาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดินีแห่งเกาหลีเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 เธอกล่าวว่า "เราคือทายาทที่ถูกต้อง ไม่ว่าใครจะพูดเช่นใดก็ตาม" และ "เราเกิดจากชายาที่ได้รับการรับรองตามธรรมเนียม…เราจะฟื้นฟูจารีตของราชวงศ์ขึ้นมาอีกครั้ง" ทั้งนี้การจัดพิธีราชาภิเษกนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือแม้แต่สมาคมราชสกุลอีเองก็ไม่รับรองการจัดพิธีนี้[5]

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Kim So-min (김소민) (6 April 2010). 아직 끝나지않은'황실의 추억'. HeraldBiz (ภาษาเกาหลี). Seoul: Herald Media. สืบค้นเมื่อ 29 January 2010.
  2. 전주이씨 대동종약원 "女皇 추대는 억지 장난". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). Seoul. Yonhap. 2 October 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 29 January 2010.
  3. "조선황실 마지막 옹주 이해원씨 별세". monthly.chosun.com (ภาษาเกาหลี). 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  4. Royal Ark
  5. "29 กันยายน 2006: หญิงสูงวัยประกาศครองราชย์เป็น "จักรพรรดินีแห่งเกาหลี" โดยไม่ปรึกษาชาวบ้าน". ศิลปวัฒนธรรม. 29 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)