สมเกียรติ ตั้งนโม

สมเกียรติ ตั้งนโม (13 พฤศจิกายน 2501 - 6 กรกฎาคม 2553) นักวิชาการด้านศิลปร่วมสมัยและสุนทรียศาสตร์ รองศาสตราจารย์และอดีตคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ก่อตั้งและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สมเกียรติ ตั้งนโม อธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ประวัติ

แก้

สมเกียรติ ตั้งนโม สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร เมื่อปี 2522 ต่อมาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี 2528 และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2533

เริ่มทำงานเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2533 และเข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ประจำเมื่อปี 2535 ต่อมาในปี 2543-2544 เป็นหัวหน้าสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ ในปี 2547 เป็นรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ และเป็นคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 2551 จนกระทั่งเสียชีวิต

ปี 2540 สมเกียรติเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายทางวิชาการที่ชื่อ "มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน" เคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์ midnightuniv.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการบทความทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่ปี 2541 ในปี 2550 สมเกียรติได้รับเชิญในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ให้เข้าร่วมเทศกาลศิลปะ documenta 12 ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมนี[1]

สมเกียรติ ตั้งนโม ถึงแก่กรรมในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2553 ด้วยวัย 52 ปี ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก) ด้วยโรคมะเร็ง พิธีฌาปนกิจมีขึ้นที่สุสานหายยาในวันที่ 10 กรกฎาคม[2][3]

หลังสมเกียรติเสียชีวิต มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปลี่ยนหน้าแรกของเว็บไซต์เป็นหน้าแจ้งข่าวการเสียชีวิตของสมเกียรติ และต่อมาได้ขึ้นบทความของ อุทิศ อติมานะ ชื่อ "สมเกียรติ ตั้งนโม กับโครงการทางการเมืองที่ยังไม่เสร็จ" ในหน้าแรกของเว็บไซต์ และสร้างหน้าเฟซบุ๊ก somkiet-tongnamo เพื่ออุทิศให้แก่สมเกียรติ[4]

ประวัติการศึกษา

แก้
  • ปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล (2533)
  • ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (2528)
  • ต่ำกว่าปริญญาตรี วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร (2522)

ประวัติการรับราชการ

แก้

ตำแหน่งวิชาการ

แก้
  • 2535 – 2540 ตำแหน่งอาจารย์ประจำ
  • 2540 – 2543 ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 6
  • 2543 – 2552 ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ระดับ 9
  • 4 ก.ค. 51 เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

ตำแหน่งบริหารระดับคณะ

แก้
  • 2538 – 2540 คณะกรรมการประจำคณะวิจิตรศิลป์ มช.
  • 2543 – 2544 หัวหน้าสาขาจิตรกรรม
  • 2547 – 2547 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิจิตรศิลป์ มช.
  • 2551 – 2553 คณบดีวิจิตรศิลป์ มช.

ตำแหน่งบริหาร ระดับมหาวิทยาลัย

แก้
  • 2540 – 2542 กรรมการสภาอาจารย์
  • 2547 – 2553 กรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย
  • 2547 – 2553 กรรมการศูนย์บริหารงานวิจัย
  • 2550 – 2553 กรรมการบริหารหลักสูตรร่วม สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
  • 2551 – 2553 ประธานกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย คณะวิจิตรศิลป์
  • 2551 – 2553 คณบดีวิจิตรศิลป์

ตำแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ

แก้
  • 2536 – 2537 ก่อตั้งโครงการสนทนาปัญหาศิลปะ ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 2551 – 2553 ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

งานวิจัย

แก้
  • ศิลปะและศีลธรรม
  • ศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดสุนทรียศาสตร์ในพุทธศาสนากับสุนทรียศาสตร์ของเพลโต
  • ข้อเสนอการประยุกต์แนวคิดทางปรัชญาของกลุ่มแฟรงค์เฟริทสกูล มาใช้เป็นฐานคิดการสร้างสรรค์งานศิลปะหลังสมัยใหม่ในประเทศไทย
  • การวิจัยเรื่องวัฒนธรรมทางสายตา (VISUAL CULTURE) (อยู่ในระหว่างดำเนินการ 2546-2547)
  • สถานภาพของผู้หญิงในศิลปะ สื่อ และกฎหมาย (วิจัยบูรณาการ) (อยู่ในระหว่างจัดทำข้อเสนอ เพื่อขอรับทุน)

งานวิชาการ งานแต่ง งานแปล และงานเรียบเรียง

แก้
  • การวิเคราะห์ภาพตามหลักสัญศาสตร์ (semiotic analysis)
  • การวิเคราะห์แนวภาพยนตร์ในโลกตะวันตก
  • การวิจารณ์ศิลปะ-วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม
  • ข้อจำกัดเกี่ยวกับทฤษฎีจักรวรรดินิยมวัฒนธรรม
  • จาก ศิลปะเสื่อมทรามสู่เกียรติยศ Documenta (ความหมาย-ประวัติความเป็นมา)
  • แนวโน้มศิลปะกระแสหลักที่กำลังเปลี่ยน Documenta 11
  • Documenta 12 อีกสองปีข้างหน้ากับโอลิมปิกศิลปะ
  • ดิบงามในงานสร้างสรรค์
  • ดูละครแล้วย้อนดูตัว จากอริสโตเติลถึงเบรกท
  • ทฤษฎีความงาม-สุนทรียศาสตร์แบบยูโรเซนทริค (ตอนที่ ๑)
  • ทฤษฎีความงาม-สุนทรียศาสตร์แบบยูโรเซนทริค (ตอนที่ ๒)
  • ทฤษฎีวิพากษ์สังคม - ทฤษฎีวิพากษ์วรรณกรรม
  • ทำความเข้าใจสัญลักษณ์นิยมในงานศิลปะ
  • ธรรมชาติของเวลา (The Nature of Time) ตอนที่ ๑
  • ธรรมชาติของเวลา (The Nature of Time) ตอนที่ ๒ (วัฒนธรรมของเวลาและสถานที่)
  • นางบำเรอที่ถูกทำให้ผิวขาว: กากตกค้างของปิตาธิปไตย
  • แนวคิดศิลปะและสุนทรียศาสตร์นอกยุโรป
  • แนวคิดสุนทรียศาสตร์และศิลปะนอกกระแส
  • ในนาฏกรรมชั้นต่ำและวัฒนธรรมสอดแทรก
  • บนเส้นทางของความน่าเกลียด : ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์
  • บนเส้นทางของวัฒนธรรมทางสายตา : จากศิลปะสู่วัฒนธรรม
  • ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก
  • โพสท์โมเดิร์นในศิลปะและปรัชญา
  • ภาพกว้างและความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสถานการณ์นิยม
  • วาทกรรมบนร่างกาย และสุนทรียศาสตร์ของความเปลือยเปล่า
  • วิพากษ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ : ศิลปะหรือเพียงเหล้าดองสมองทุน (Frankfurt School)
  • ศิลปะแนวกิจกรรม ศิลปะเพื่อชุมชนและสังคม
  • ศิลปะในสายตาสังคมวิทยา
  • ศิลปะและสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับขยะ
  • สถานภาพของผู้หญิงในสื่อ ศิลปะ และกฎหมาย
  • องค์ประกอบและประวัติศาสตร์การวิจารณ์ศิลปะ
  • จากศิลปะเสื่อมทรามสู่เกียรติยศ Documenta
  • แนวโน้มศิลปะกระแสหลักที่กำลังเปลี่ยน Documenta11
  • โหมโรงเกี่ยวกับ Jacques Derrida
  • ปรัชญาการรื้อสร้าง (Deconstruction) ของ Derrida
  • ตามรอยแนวคิดหลังสมัยใหม่
  • Walter Gropius ผู้ให้กำเนิดหัวใจศิลปะแบบเบาเฮาส์ (หมายเหตุ : ผลงานวิชาการเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเป็นไปตามแนวนโยบาย E-Learning เผยแพร่ที่ http://www.midnightuniv.org)

งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

แก้
  • ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะกับคณะวิจิตรศิลป์
  • ร่วมแสดงนิทรรศการโครงการแลกเปลี่ยนศิลปะ ระหว่างคณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเว้
  • เขียนบทความให้กับสูจิบัตรงานแสดงนิทรรศการศิลปะคณะวิจิตรศิลป์
  • เขียนบทความให้กับสูจิบัตรงานแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ คณะวิจิตรศิลป์
  • เขียนบทความศิลปะให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ (งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้กระทำมานับตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งอาจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ ปี พ.ศ. 2535 - ปัจจุบัน)

งานบริการสังคมทางวิชาการ

แก้
  • วิทยากรบรรยายภาพเขียนฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เผยแพร่ผ่านวิทยุ FM 100 ของภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กำกับรายการสนทนาทางโทรทัศน์ ชื่อรายการ "ทีทรรศน์ท้องถิ่น" ร่วมกับสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ (เขต 3)
  • ได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษที่คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น คณะสถาปัตยกรรม คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์สตรีศึกษา
  • ได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  • ได้รับเชิญให้เสนอความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ทางวิทยุหลายสถานี
  • เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสังคมร่วมสมัยให้กับนิตยสารต่างๆ
  • แปลและเรียบเรียงบทความทางปรัชญาและสังคม โดยเฉพาะประเด็นปัญหาสังคมและปรัชญาหลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม รวมถึงประเด็นเรื่องสตรีศึกษา ชาติพันธ์ และจิตวิเคราะห์ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หลายแห่ง
  • บริหารเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org
  • จัดทำวารสารข่าวหอศิลป์/วิจิตรศิลป์ (ตำแหน่งบรรณาธิการบริหาร) (งานบริการสังคมทางวิชาการเหล่านี้ ได้กระทำมานับตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ คณะวิจิตรศิลป์ ปี พ.ศ. 2535 - 2553) (พ.ศ. 2533 ดำรงตำแหน่งอาจารย์พิเศษ)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ม.เที่ยงคืน" ฟ้องโลก สถานการณ์เซ็นเซอร์ในสังคมไทย ยันประเทศไทยไม่ใช่ซ่องโจร, ประชาไท, 9 ส.ค. 2550
  2. "สมเกียรติ ตั้งนโม" อดีตอธิการบดี ม.เที่ยงคืน เสียชีวิตแล้ว, ประชาไท, 6 ก.ค. 2553
  3. ส่ง "สมเกียรติ ตั้งนโม" ผู้ก่อตั้งเว็บ ม.เที่ยงคืน, ประชาไท, 11 ก.ค. 2553
  4. somkiet-tongnamo แฟนเพจ บน Facebook
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๕, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้