สมบัติแบร์ตูวีล

เหยือกเงินที่ตกแต่งด้วยภาพนูน มีอักษรจารึก “เมอร์คิวรี
อุทิศโดยคิว. โดมิเชียส ทูทัสกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1

“สมบัติแบร์ตูวีล”
Berthouville Treasure
{{{artist}}}
{{{period}}}
{{{size}}}
ค.ศ. 1830
แบร์ตูวีล, นอร์มองดีในประเทศฝรั่งเศส
สมบัติ (Hoard)
แผนกเหรียญตรา
หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส

สมบัติแบร์ตูวีล (อังกฤษ: Berthouville Treasure) เป็นเครื่องเงินโรมันที่ขุดพบระหว่างการไถนาที่หมู่บ้านวีเลอเร[1]ที่เมืองแบร์ตูวีลในจังหวัดเออร์ แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1830[2] สมบัติได้รับการซื้อเมื่อพบเป็นจำนวนเงินเพียง 15,000 ฟรังก์ ในปัจจุบันสมบัติแบร์ตูวีลได้รับการรักษาไว้ที่แผนกเหรียญตรา, หอสมุดแห่งชาติแห่งประเทศฝรั่งเศสในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส[3]

ประวัติ แก้

 
ภาชนะ phiale ส่วนหนึ่งของสิ่งอุทิศโดยคิว. โดมิเชียส ทูทัสแก่เทวสถาน
 
อคิลลีสโศรกเศร้ากับความตายของสหายพาโทรคลัสบนเหยือกเงินส่วนหนึ่งของสิ่งอุทิศโดยคิว. โดมิเชียส

สมบัติแบร์ตูวีลพบเมื่อคันไถไปชนเอากับกระเบื้องโรมันซึ่งเมื่อร่อนขึ้นมาก็ได้พบสมบัติของเทวสถานที่ได้รีบทำการฝังเพียง 20 เซนติเมตรจากผิวดินปัจจุบัน[4] สมบัติดังกล่าวเป็นของเทวสถานที่อุทิศให้แก่เทพเมอร์คิวรีผู้ที่จูเลียส ซีซาร์ระบุว่าเป็นเทพองค์สำคัญของกอล[5]

สมบัติแบร์ตูวีลเครื่องเงินและโลหะอื่น ๆ หลายประเภท หลายคุณสมบัติ และ หลายช่วงเวลาราวระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 สมบัติแบร์ตูวีลเป็นเพียงหนึ่งในสามที่ทราบแน่นอนว่าเป็นสมบัติของเพกันที่พบในกอลและบริทาเนีย[6] สมบัติดังกล่าวได้รับการฝังไว้ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่รวมทั้งเหยือกเงินที่ทำในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ด้วย

สมบัติแบร์ตูวีลประกอบด้วยสิ่งต่างรวมทั้งสิ้น 93 ชิ้น บางชิ้นก็เป็นหูหรือชิ้นส่วนที่แยกจากตัวภาชนะ ที่มีน้ำหนักรวมทั้งสิ้นด้วยกัน 25 กิโลกรัม สิ่งของส่วนใหญ่เป็นชามคุ่ม, ถ้วย และ เหยือก[7] แต่ก็รวม ภาชนะ phiale ที่ใช้สำหรับการสังเวยด้วยการเทเครื่องดื่ม[8] และรูปปั้นเทพเมอร์คิวรีเล็กอีกสองชิ้น ชิ้นใหญ่สูง 60 เซนติเมตร และรูปปั้นครึ่งตัวของเทพีที่อาจจะเป็นเทพีมาเอียที่สันนิษฐานโดยรูธ ลีดเดอร์-นิวบีย์[9] ผู้ให้ความเห็นโดยทั่วไปอีกว่า "ลัทธินิยมอาจาจจะเป็นแบบโรมันที่นำมาจากเทพเคลต์" ซึ่งในกรณีนี้นิมฟ์ที่เกี่ยวข้องกับเทพเมอร์คิวรีของกอลก็จะมีน่าจะมีชื่อเป็นภาษากอล ชามสี่ใบมีสัญลักษณ์และคำจารึกที่เกี่ยวกับเทพเมอร์คิวรี VSLM, "votum solvit libens merito".[10] ภาชนะอีก 9 ใบเป็นเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงินชั้นดีสำหรับบ้านเรือนจากคริสต์ศตวรรษที่ 1[11] ที่มีสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับไดโอนิซัสที่เป็นสิ่งอุทิศของคิว. โดมิเชียส ทูทัส ที่รวมทั้งถ้วยสำหรับดื่มคู่หนึ่ง (scyphi) ที่มีภาพ ไดโอนิซัสของเซนทอร์s[12] และเหยือกไวน์อีกคู่หนึ่ง[13]

การขุดค้นในบริเวณที่พบสมบัติระหว่างปี ค.ศ. 1861 ถึง ปี ค.ศ. 1862 และในปี ค.ศ. 1986[14] พบโรงละครกอล-โรมัน และเทวสถานที่อาจจะเป็นสถานที่ที่เป็นที่อุทิศของสิ่งที่พบ

อ้างอิง แก้

  1. Date and location as noted in Mémoires de la Société nationale des antiquaires de France 6th series, vol. 8 (1897:228-32), reporting M. Join-Lambert's excavations of two temples, a theatre and wells near the site in 1896.
  2. The 21 March, by Prosper Taurin, according to Auguste Le Prévost, who had been born nearby at Bernay (Prévost, Mémoire sur la collection de vases antiques trouvée en 1830 à Berthouville (arr. de Bernay), Caen, 1832:6); Archives relative to the acquisition of the Berthouville Treasure, B.N. 8 AMC 35 (1830) เก็บถาวร 2008-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Ernest Babelon (director of the département des monnaies, médailles et antiques, BN), Le trésor d'argenterie de Bertouville près de Bernay (Eure) conservé au Département de médailles et antiques de la Bibliothèque national, Paris 1916; Ruth E. Leader-Newby, Silver and Society in Late Antiquity: Functions and Meanings of Silver Plate (Ashgate) 2004; D.E. Strong, Greek and Roman Gold and Silver Plate (London 1968)
  4. On Roman temple treasures in general, see A. Henwood Griffiths, Temple Treasures: A Study Based on the Works of Cicero and the Fasti of Ovid (Philadelphia 1943).
  5. Caesar, Commentaries on the Gallic War vi. §17.
  6. Leader-Newby 2004:72. The other two are the Notre-Dame d'Allençon Treasure and the Thetford Treasure.
  7. Karl Lehmann-Hartleben, "Two Roman Silver Jugs" American Journal of Archaeology 42.1 (January-March 1938:82-105).
  8. Charles Waldstein, "A Hermes in Ephesian Silver Work on a Patera from Bernay in France", The Journal of Hellenic Studies 3 (1882:96-106).
  9. Ruth E. Leader-Newby, Silver and Society in Late Antiquity: Functions and Meanings of Silver Plate Ashgate; 2004; p. 73
  10. Ruth E. Leader-Newby, Silver and Society in Late Antiquity: Functions and Meanings of Silver Plate Ashgate. 2004.
  11. Similar to silver found at Boscoreale and in the House of the Menander at Pompeii, overwhelmed by the eruption of 79 CE, and similarly composed of drinking vessels (Leader-Newby).
  12. Jon van de Grift, "Tears and Revel: The Allegory of the Berthouville Centaur Scyphi" American Journal of Archaeology 88.3 (July 1984:377-388).
  13. K. Lehmann, "Two Roman silver jugs", American Journal of Archaeology 42 (1938:82-105).
  14. Noted in Leader-Newby 2004:114 note 64.A bust of Hermaphroditus was discovered at Bernay in 1864 occasioned some correspondence with M. Cornu of Bernay in 1864-65 (Archives, B.N., 12 AMC 12, 12 AMC 14 เก็บถาวร 2008-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  • Ch. Picard, Un cénacle littéraire hellénistique sur deux vases d' argent du trésor de Berthouville-Bernay MonPiot 44, (1950:5ff).

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมบัติแบร์ตูวีล