สนามกีฬาออซอดี
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
สนามกีฬาออซอดี (อังกฤษ: Azadi Stadium; เปอร์เซีย: ورزشگاه آزادی) เปิดตัวในชื่อ สนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (Aryamehr Stadium; ورزشگاه آریامهر) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ และสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่าน และเป็นสนามเหย้าของเอสเทกลอล และ ทีมเพร์สโพลีส ในลีกสูงสุดของอิหร่าน[5] โดยใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975 เดิมมีชื่อว่า สนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (Aryamehr Stadium; ورزشگاه آریامهر) ตั้งอยู่ในเขตอัคบาตาน กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เป็นส่วนหนึ่งของออซอดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์[6]
"ดินแดนที่น่ากลัวของทีมเยือน"[1] | |
สนามกีฬาออซอดี ปี 2018 ในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก | |
ชื่อเต็ม | สนามกีฬาออซอดี[2] |
---|---|
ชื่อเดิม | สนามกีฬาออร์ยอเมฮร์ (1971–1979) |
ที่ตั้ง | กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน |
เจ้าของ | กระทรวงกีฬาและเยาวชน |
ผู้ดำเนินการ | ออซอดีสปอร์ตคอมเพล็กซ์ เทศบาลเตหะราน |
ความจุ | 78,116 (2016–ปัจจุบัน)[3] 84,412 (2012–2016)[4] 95,225 (2003–2012) 100,000 (1971–2003) |
สถิติผู้ชม | 128,000 คน อิหร่าน ปะทะ ออสเตรเลีย |
ขนาดสนาม | 110 โดย 75 เมตร (361 โดย 246 ฟุต) |
พื้นผิว | เดสโซกราสมาสเตอร์ |
ป้ายแสดงคะแนน | จัมโบทรอน 104 ตารางเมตร |
การก่อสร้าง | |
ลงเสาเข็ม | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1970 |
ก่อสร้าง | 1970–1971 (1 ปี) |
เปิดใช้สนาม | 17 ตุลาคม ค.ศ. 1971 |
ปรับปรุง | ค.ศ. 2002–2003, 2016–2017 |
ต่อเติม | ค.ศ. 2002 |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 2,578,183,966 เรียลอิหร่าน (€400,163,944) |
สถาปนิก | แอบโดล-แอซีซ แฟร์มอนแฟร์มออียอน |
ผู้จัดการโครงการ | สกิดมอร์ โอวิงส์ และเมอร์ริล |
วิศวกรโครงสร้าง | เจมส์ เรย์มอนด์ วิตเทิล |
การใช้งาน | |
| |
เว็บไซต์ | |
www |
สนามกีฬาออซอดีมีความจุทั้งหมด 95,225 คน ถือเป็นสนามฟุตบอลที่เคยมีความจุเป็นอันดับ 4 ของโลก[7] และเคยมีความจุเหนือกว่าสนามกีฬาเวมบลีย์ ของสหราชอาณาจักร และถือเป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองมาจาก รุงนาโดเมย์เดย์สเตเดียม ของเกาหลีเหนือ (ความจุ 150,000 คน) และซอลต์เลคสเตเดียม ของอินเดีย (ความจุ 120,000 คน) ถูกใช้เป็นสนามแข่งขันหลักในกีฬาเอเชียนเกมส์ 1974 (ครั้งที่ 7)
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1970 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1974 ใช้เงินในการก่อสร้างสูงถึง 1,163,944 ยูโร (ประมาณ 4,888,564,800 บาท) โดยมี อับดอล-อาซิซ ฟาร์มานฟาร์เมียน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศอิหร่านเป็นผู้ออกแบบ และใช้คนงานก่อสร้างถึง 100,000 คน
มีสถิติยอดผู้ชมสูงสุดอยู่ที่ 128,000 คน ในเกมฟุตบอลโลก 1998 รอบเพลย์ออฟ โซนเอเชีย นัดแรกที่อิหร่าน เป็นเจ้าภาพพบกับ ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997
สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ได้จัดให้สนามกีฬาออซอดีเป็นสนามอยู่ในระดับ 5 ดาว เป็นสนามที่ทีมคู่แข่งมักพบเสียงเชียร์ของแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นทำให้เกิดความหวาดหวั่น จนได้รับฉายาว่าเป็น "ดินแดนที่น่ากลัวของทีมเยือน"[1] และเสียงวูวูเซลาที่ดังมากคล้ายกับเสียงผึ้ง ทำให้บางครั้งมีผู้เรียกสนามนี้เป็น "ฝูงผึ้ง"[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อาซาดี้ สเตเดี้ยมสมรภูมิรบของอิหร่าน คอลัมน์ : คอลัมน์ลีกไทย โดย.. นนท์นี่คุง จากสยามสปอร์ต
- ↑ "Azadi Stadium Guide - FIFA.com". fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
- ↑ "22 هزار نفر از ظرفیت آزادی کم شد :: ورزش سه". www.varzesh3.com. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
- ↑ "Azadi Stadium | TeamMelli". teammelli.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2015.
- ↑ "Azadi Stadium Capacity". IRIB. สืบค้นเมื่อ August 5, 2013.
- ↑ Azadi Sport Complex
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtrna
- ↑ bugaga.ru — 25 самых пугающих стадионов в мире (25 Most intimidating stadiums in the world) In Russian