สถาปัตยกรรมกูกี

สถาปัตยกรรมกูกี (อังกฤษ: Googie architecture; /ˈɡɡi/ goo-ghee[1]) เป็นรูปแบบหนึ่งของสถาปัตยกรรมฟิวเชอริสต์ ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมรถยนต์, เครื่องบินเจ็ต และ สเปซเอจ กับ อะทอมิกเอจ[2] โดยเริ่มต้นในแคลิฟอร์เนียใต้ควบคู่ไปกับสถาปัตยกรรมแบบสตรีมไลน์มอเดอร์นของทศวรรษ 1930s กูกีเริ่มเป็นที่นิยมไปทั่วสหรัฐในปี 1945 ถึงต้นทศวรรษ 1970s[3]

นอร์มส์เรสเตอรองส์สาขาถนนลาซีเนกาบูเลเวิร์ด ลอสแอนเจลิส

สถาปัตยกรรมแบบกูกีเป็นที่นิยมในโมเต็ล, คอฟฟีเฮาส์ และปั๊มน้ำมัน ต่อมารูปแบบกูกีกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้างในฐานะสไตล์มิดเซนจูรีมอเดิร์น ด้วยองค์ประกอบที่เป็นตัวแทนของสุนทรียภาพแบบพอพพูลูกซ์[4][5] ดังที่พบในทีดับเบิลยูเอเทอร์มินอล โดยเอโร ซาริเนน คำว่า Googie มาจากกูกีส์คอฟฟีช็อป (ปัจจุบันปิดกิจการไปแล้ว) ในฮอลลีวูด[6] designed by John Lautner.[7] รูปแบบสถาปัตยกรรมที่คล้ายคลึงกันนี้จึงอาจเรียกว่า พ็อพพูลูกซ์ (Populuxe) หรือ ดูว็อพ (Doo Wop)[8][9]

องค์ประกอบของกูกีประกอบด้วยหลังคาโค้งขึ้นบน (upswept roofs), เส้นโค้ง (curvaceous), รูปเรขาคณิต และการใช้กระจก, เหล็กกล้า กับ ไฟนีออนเป็นหลัก นอกจากนี้ลักษณะของกูกียังมีลักษณะของการออกแบบแบบสเปซเอจ และสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว เช่น บูมเมอแรง, จานบิน, ภาพไดอาแกรมของอะตอมและพาราโบลา ไปถึงการออกแบบแบบไร้รูปแบบเช่น พาราลเลโลแกรมแบบ "ซอฟต์" และพาเลทมอทิฟของศิลปิน ลักษณะทางศิลปะเช่นนี้เป็นตัวแทนถึงความตื่นเต้นของสังคมอเมริกันต่อสเปซเอจ และความมุ่งเน้นทางการตลาดต่อการออกแบบแบบล้ำยุค เช่นเดียวกับรูปแบบอาร์ตเดโกแห่งทศวรรษ 1910s–1930s สถาปัตยกรรมกูกีเริ่มเสื่อมมูลค่าลงไปตามกาลเวลา และอาคารหลายแห่งที่สร้างด้วยแบบกูกีก็ถูกทิ้งร้างและทำลาย ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมกูกีบางส่วนที่ยังได้รับการอนุรักษ์อยู่ เช่น แมคดอนัลด์สาขาแรกในเมืองดาวนี รัฐแคลิฟอร์เนีย

อ้างอิง แก้

  1. Ulaby, Neda (2011-07-14). "Out Of This World: Designs Of The Space Age". NPR Morning Edition. สืบค้นเมื่อ 2016-06-05.
  2. Friedlander, Whitney (May 18, 2008). "Go on a SoCal hunt for Googie architecture". Baltimore Sun. Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. สืบค้นเมื่อ 11 February 2009. It was the 1950s. America was a superpower, and the Los Angeles area was a center of it. The space race was on. A car culture was emerging. So were millions of postwar babies. Businesses needed ways to get families out of their automobiles and into coffee shops, bowling alleys, gas stations and motels. They needed bright signs and designs showing that the future was now. They needed color and new ideas. They needed Googie.
  3. Novak, Matt (2012-06-15). "Googie: Architecture of the Space Age". Smithsonian.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  4. Stager, Claudette; Carver, Martha (2006). Looking Beyond the Highway: Dixie Roads and Culture. Univ. of Tennessee Press. p. 158. ISBN 978-1-57233-467-0. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  5. Cotter, Bill; Young, Bill (2004). "Populuxe and Pop Art". The 1964-1965 New York World's Fair. Arcadia Publishing. p. 51. ISBN 978-0-7385-3606-4. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  6. Nelson, Valerie J. (2011-04-26). "Eldon Davis dies at 94; architect designed 'Googie' coffee shops". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2011-05-15.
  7. John Lautner Why Do Bad Guys Always Get The Best Houses? October 31 by Rory Stott ArchDaily
  8. Doo Wop Motels: Architectural Treasures of The Wildwoods by Kirk Hastings 2007, p.2
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ league

บรรณานุกรม แก้

อ่านเพิ่ม แก้

  • Learning from Las Vegas, by Robert Venturi 1972 (ISBN 978-0262720069)
  • Populuxe: the Look and Life of Midcentury America by Thomas Hine, 1986 (ISBN 978-1585679102)
  • LA Lost and Found: An Architectural History of Los Angeles by Sam Hall Kaplan 1987 Pages 145-155
  • Southern California in the 50s by Charles Phoenix 2001
  • Los Angeles Neon by Nathan Marsak and Nigel Cox 2002
  • Mimo: Miami Modern Revealed by Eric P. Nash and Randall C. Robinson, Jr. 2004
  • The Leisure Architecture of Wayne McAllister by Chris Nichols, 2007 (ISBN 978-1586856991)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Wikt

องค์การและกลุ่มอนุรักษ์กูกี เช่น

แม่แบบ:Modern architecture