สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงหนือ เดิมมีชื่อว่า ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 โดยใช้ชื่อเมื่อครั้งก่อตั้งว่า ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อย่อว่า ศ.อ.ศ.อ. เป็นหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในระดับภาค ตั้งอยู่ใจกลางเมืองอุบลราชธานี

เคยเป็นสถานที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (ชั่วคราว) ซึ่งถูกเผาทำลายจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[1]

ประวัติ แก้

สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงหนือ หรือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเมื่อครั้งแรกก่อตั้งว่า ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีชื่อย่อว่า ศ.อ.ศ.อ. หรือชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษ คือ TUFEC ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า Thailand UNESCO Fundamental Education Centre อยู่ในความดูแลของกองการศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ศ.อ.ศ.อ. ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่ของ UNESCO ครั้งที่ 6 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2494 ที่มีบรรดาประเทศที่เป็นสมาชิก 64 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย (หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าผู้แทนไทย) มีมติเอกฉันท์ให้ตั้งศูนย์กลางการศึกษาหลักมูลฐานขึ้นประจำภูมิภาต่างๆ ทั่วโลกขึ้น 6 แห่ง แต่สามารถสร้างได้เพียง 3 แห่ง โดย ศ.อ.ศ.อ. เป็นศูนย์กลางการศึกษาหลักมูลฐานแห่งที่ 3 ของโลก ตั้งขึ้นในจังหวัดอุบลราชธานี

สถาบันการศึกษาแห่งนี้มุ่งถึงการศึกษาและมูลสารศึกษา (Fundamental Education) มูลสารศึกษาเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาเบื้องต้น ที่จะช่วยให้การศึกษาทั่วๆ ไป แก่เด็กและผู้ใหญ่ให้มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพเพื่อยกระดับฐานะตลอดจนช่วยให้ประชาชนเข้าถึงปัญหาชุมชุน สามารถปลุกให้ชาวบ้านรู้จักและคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ของตนเองเมื่ออยู่ร่วมกันโดยสันติสุขในสังคม

เมื่อเดือนพฤษศจิกายน พ.ศ. 2494 ยูเนสโกได้ส่งนายจอร์น เบาเออร์ส (Mr.John Bowers) ให้สำรวจสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับจัดตั้งศูนย์กลางการศึกษามูลฐานและพิจารณาความเหมาะสมของสถานที่ ซึ่งประเทศไทยได้เสนอสถานที่ 2 แห่ง คือ อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี และที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะสำรวจของนายจอร์น เห็นว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีความเหมาะสม เนื่องจาก

  1. จังหวัดอุบลราชธานี มีสภาพความเป็นอยู่คล้ายกับจังหวัดต่างๆ ในภาคอื่นๆ ของประเทศประกอบกับเป็นจังหวัดที่มีพลเมืองมากเป็นที่ 2 รองจากจังหวัดพระนคร สมควรอย่งยิ่งที่จะให้การศึกษาเพื่อให้เจริญก้าวหน้ากว่าที่เป็นอยู่
  2. จังหวัดอุบลราชธานี มีความสะดวกสบายในการคมนาคม ทั้งทางเตรื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ ซึ่งสะดวกกับการติดต่อกับจังหวัดพระนครอันเป็นศูนย์กลางของประเทศ และเวลาในการติดต่อทั้งสามทางนี้ก็ไม่กินเวลามากนัก ทั้งระยะทางกไม่ไกลจนเกินควร นอกจากนี้จังหวัดอุบลราชธานียังมีการคมนาคมติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ในภาตะวันออกเฉียงเหนือ ได้สะดวกสบายทุกๆ จังหวัด และทุกๆฤดูกาล
  3. จังหวัดอุบลราชธานีได้พยายามปรับปรุงระบบการจัดการศึกษาทั้งทางโรงเรียนอนุบาล ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา เตรียมอุดมศึกษา และการฝึกหัดครู นับว่าเป็นจังหวัดที่ให้การศึกษาครบทุกแขนง เหมาะกับการที่จะให้เป็นสถานที่ทดลองการจัดการศึกษาหลักมูลฐาน
  4. ถ้าหากว่าศูนย์กลางการศึกษาหลักมูลฐานหลักนี้เป็นปึกแผ่นดีแล้ว ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางอบรมการศึกษาระหว่างชาติประจำภาคอาเซียตะวันออกขึ้น เพราะจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดชายเดนทางด้านะวันออก ประเทศต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ลาว เขมร ญวน ก็อาจจะมาศึกษาได้สะดวก
  5. ภายในบริเวณที่ตั้งศูนย์กลางแห่งนี้และรัศมีไม่เกิน 15 กิโลเมตร จากที่ตั้งศูนย์กลางมีหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งยังมีความต้องการที่จะบูรณะและปรับปรุงด้านการอนามัย การเกษตร การอุตสาหกรรม การจัดเคหะสถานบ้านเรือน การศึกษาและสวัสดิภาพของสังคม เพื่อเป็นขั้นทดลองในการดำเนินงาได้โดยสะดวก อีกอย่างหนึ่งเนื่องจากภาคนี้กันดารแห้งแล้งกว่าภาคอื่นๆ ประชาชนส่วนมากยากจนข้นแค้น สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขให้เจริญยิ่งขึ้น

หลังจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย นายอภัย จันทวิมล นายพร ทองพูนศักดิ์ นายบุญถิ่น อัตถากร Mr.Thomas Wilson Dr.Hutchinson และ Dr.Tieman และนายชวน ฉวีวงค์ ได้เดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2494 เพื่อสำรวจสถานที่ตลอดจนความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของประชาชน ต่อมาในเดือนตุลาคม 2494 นายบุรินทร์ สิมพะลิก หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย Mr.Marshall. Dr.Allcot. Dr.Hutchinson และนายชวน ฉวีวงค์ ได้ไปสำรวจรายละเอียดบางประการของประชากรอีก เพราะ Mr.Marahall หัวหน้าผู้แทนยูเนสโกประจำประเทศไทยได้มารับงานต่อจาก Mr.Thomas Wilson[2]

รายชื่อผู้อำนวยการ แก้

  1. นายอภัย จันทวิมล 14 พฤษภาคม 2497 - 9 ตุลาคม 2504
  2. นายเกรียง เอี่ยมสกุล (กีรติกร) 10 ตุลาคม 2504 - 17 มิถุนายน 2506
  3. นายประสงค์ รังสิวัฒนะ 18 มิถุนายน 2506 - 31 พฤษภาคม 2507
  4. นายสนิท สุวรรณทัต 1 มิถุนายน 2507 - 30 กันยายน 2508
  5. นายพินิต กาญจนะวงศ์ 1 ตุลาคม 2508 - 1 มีนาคม 2516
  6. นายเฉลิม สุขเสริม 2 มีนาคม 2516 - 20 พฤศจิกายน 2517
  7. นายประมูล พลโกษฐ์ 21 พฤศจิกายน 2517 - 21 มีนาคม 2523
  8. นายบุญทัน ฉลวยศรี 1 เมษายน 2523 - 30 กันยายน 2534
  9. นายสงัด สันตะพันธุ์ 1 ตุลาคม 2534 - 7 กันยายน 2539
  10. นายสถาน สุวรรณราช 1 ตุลาคม 2539 - 13 ธันวาคม 2542
  11. ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ศักดิ์ กุลจินต์ 10 มกราคม 2543 -30 กันยายน 2546
  12. ว่าที่ ร.ต.สิน รองโสภา 10 พฤศจิกายน 2546 - 13 มิถุนายน 2547
  13. นายจรูญพงษ์ จีระมะกร 14 มิถุนายน 2547 -30 กันยายน 2550
  14. นายนิคม ทองพิทักษ์ 1 ตุลาคม 2550 ถึง วันที่ 30 กันยายนย 2552
  15. นางนลินี ศรีสารคาม จันทร์ตรี 6 ตุลาคม 2552 -30 กันยายน 2554
  16. นายวราวุธ พยัคพงษ์ 1 ตุลาคม 2554 - 17 กุมภาพันธ์ 2557
  17. นายชาตรี เสงี่ยมวงศ์ 17 กุมภาพันธ์ 2557 - 1 กุมภาพันธ์ 2558
  18. นายวิเชียรโชติ โสอุบล 2 กุมภาพันธ์ 2558 -

ที่อยู่ แก้

เลขที่ 415 ถนนชยางกูร ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขต ดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. พิพากษาแดงอุบล จำคุก33ปี4ด. เผาศาลากลาง
  2. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศ.อ.ศ.อ.50 ปี ศนอ., โรงพิมพ์ อุบลยงสวัสดิ์ออฟเซท, 2547

แหล่งข้อมูลอื่น แก้