สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพมหานคร

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพมหานคร (อังกฤษ: Bangkok Aquarium) ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2483 บริเวณแผนกทดลองเพาะเลี้ยง เกษตรกลาง บางเขน เป็นเรือนไม้ชั้นเดียวรูปโดมมีปีกสองข้าง ในระยะแรกมีตู้กระจกเลี้ยงปลาขนาดประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 20 ตู้ โดยปลาที่นำมาแสดงเป็นปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยงและมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ต่อมาเกิดการชำรุดทรุดโทรมและคับแคบลง กรมประมงจึงดำริที่จะสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาขึ้นใหม่ โดยใน พ.ศ. 2516 ได้มีความตกลงร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแคนนาดาในการจัดตั้งสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ โครงการก่อสร้างสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดแห่งใหม่จึงได้ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติด้วย

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพมหานคร
Bangkok Aquarium
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2483
ที่ตั้งกรมประมงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ภัณฑารักษ์กรมประมง
เว็บไซต์เว็บไซต์
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดกรุงเทพมหานคร มองจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยสถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ก่อสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯมาทรงเปิดสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ณ สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ บางเขน อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2521 ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดสำหรับกรมประมง

ปัจจุบันสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำกรุงเทพฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกลุ่มวิจัยและพัฒนาสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และใน พ.ศ. 2546 กรมประมงได้รับงบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งก่อสร้างอาคารจัดแสดงพรรณไม้น้ำเพิ่มเติม เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้น้ำสวยงามและทำให้สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

การจัดแสดง

แก้

ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเป็นอาคารสูง 3 ชั้น จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดประมาณ 100 ชนิด ประกอบด้วยปลาท้องถิ่นของไทยชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ปลาหายาก ใกล้สูญพันธุ์ รวมทั้งปลาต่างประเทศบางชนิดด้วย ในพื้นที่จัดแสดงประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่มีความจุตั้งแต่ 1.5-24.0 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 33 ตู้ บ่อสัตว์น้ำที่สามารถสัมผัสได้ (touch pool) นอกจากนี้ยังมีแบบจำลอง และโครงกระดูกของปลากระโห้ที่เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และโครงกระดูกปลาบึกที่พบในแม่น้ำโขงมีน้ำหนักประมาณ 293 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 2.7 เมตร ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลของปลาแต่ละชนิดได้จากป้ายที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อชนิดของปลา แหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะการกินอาหาร และลักษณะเด่นของปลาชนิดนั้นๆ ส่วนในชั้นที่ 3 จะใช้เป็นบริเวณสำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และยังมีบ่อพักปลา เพื่อใช้สับเปลี่ยนหมุนเวียนในการจัดแสดงต่อไป

ส่วนแสดงพรรณไม้น้ำเป็นอาคารเรือนกระจก (greenhouse) ชั้นเดียว โดยจากอาคารสถานแสดงพันธุ์

สัตว์น้ำจะมีทางเดินเชื่อมต่อเพื่อนำไปชมพรรณไม้น้ำของไทย ซึ่งมีทั้งที่นำมาเพาะชำไว้ในตู้กระจก ใช้ประดับตู้ภายในอาคารพรรณไม้น้ำ และเป็นแปลงสาธิตการปลูกพรรณไม้น้ำรอบๆ อาคาร โดยชนิดของพรรณไม้น้ำที่นำมาจัดแสดงนี้เป็นพรรณไม้น้ำชนิดที่ส่งออกของไทยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 100 ชนิด ซึ่งผู้เข้าชมสามารถดูข้อมูลพรรณไม้น้ำแต่ละชนิดได้จากป้ายชื่อไทย ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ ด้านข้างตู้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°50′31″N 100°34′28″E / 13.842080°N 100.574341°E / 13.842080; 100.574341