สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย/ส่วนหัวทั้งหมด

สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย

สถาบันอุดมศึกษา หมายถึง สถานศึกษาที่ให้การศึกษาในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา และปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้ง ดำเนินการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติด้วย ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดย ภาครัฐ และ ภาคเอกชน นอกเหนือจาก มหาวิทยาลัย แล้วนั้น สถาบันอุมศึกษาอาจจะสามารถเรียกชื่ออื่นอีก อาทิเช่น บัณฑิตวิทยาลัย , วิทยาลัย เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ได้มีการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

แก้
 
 



"...เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด
จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้น จึงพอบอกได้ว่า การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้
จะเป็นข้อสำคัญข้อที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้..."



สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แก้
 
 



     "...ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง       ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง       ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์..."



พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

แก้


"...อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญอันควรกล่าว ก็คือ ความประพฤติ เราเป็นผู้ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยซึ่งนับว่าเป็นสถานศึกษาที่สูงและมีเกียรติ
ย่อมต้องรู้ผิดรู้ชอบแล้วว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และสิ่งใดควรประพฤติและไม่ควรเพียงใด
ตลอดจนกิริยามารยาท เราต้องบังคับใจของเราให้เป็นผู้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามเสมอ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาที่ดีของชาติ..."


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

แก้


"...ปัญญานั้นมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ ปัญญาที่เกิดจากการเล่าเรียนจดจำอย่างหนึ่ง กับ ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาสังเกตและพิจารณาจนรู้ชัดอย่างหนึ่ง
บัณฑิตเป็นผู้ได้รับการศึกษาอบรมมาดีแล้ว จึงควรจะได้พยายามสังเกตศึกษาให้มาก ไม่มองข้ามแม้สิ่งเล็กน้อย
อย่างต้นหญ้าก็สามารถนำมาพิจารณาเทียบเคียงให้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตได้..."


พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐


"...การรู้จักประมาณตน ทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้พอเหมาะพอดีกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ
ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น
ผู้รู้จักประมาณตนจึงสามารถทำตนทำงานได้ผลดีกว่าคนอื่น..."


พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

ปรีดี พนมยงค์

แก้
 
 


"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้
อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..."