สติบไนท์
สติบไนท์ (อังกฤษ: Stibnite) หรือบางครั้งอาจเรียก แอนติโมไนท์ (Antimonite) เป็นแร่ในกลุ่มแร่ซัลไฟด์ มีระบบผลึกแบบออร์โธรอมบิก
สติบไนท์ | |
---|---|
![]() | |
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ซัลไฟด์ |
สูตรเคมี | Sb2S3 |
คุณสมบัติ | |
โครงสร้างผลึก | ออร์โธรอมบิก |
ค่าความแข็ง | 2 |
ความวาว | มีความวาวแบบโลหะ |
สีผงละเอียด | เทาตะกั่ว |
ความถ่วงจำเพาะ | 4.63 |
สภาพละลายได้ | สามารถสลายตัวในกรดเกลือ |
ความโปร่ง | ทึบแสง |
อ้างอิง: [1][2][3] |
ลักษณะโดยทั่วไปของแร่ มีสีเทาตะกั่วปนน้ำเงิน ผงละเอียดสีเทาตะกั่ว มีความวาวแบบโลหะ ลักษณะผลึกที่พบมีทั้งลักษณะปลายเรียวแหลมคล้ายเข็มเกาะกลุ่มกัน และลักษณะใบมีดซ้อนทับกัน แสดงลักษณะรอยแตกเรียบ 2 แนว มีความถ่วงจำเพาะ เท่ากับ 4.5 และมีความแข็งตามโมห์ฮาร์ดเนสสเกล (Mohs hardness scale) เท่ากับ 2
แร่สติบไนท์มักเกิดร่วมกับ แร่ไพไรต์ แร่สฟาเลอไรต์ แร่กาลีนา แร่ซินนาบาร์ ส่วนใหญ่เกิดโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอล อัลเทอร์เรชั่น (Hydrothermal Alteration)
แหล่งที่พบแก้ไข
แหล่งแร่สติบไนท์ที่สำคัญของโลก คือ จีน ฮังการี ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส โปรตุเกส โบลิเวีย และสหพันธรัฐรัสเซีย
ประโยชน์แก้ไข
แร่สติบไนท์ เป็นแหล่งสินแร่พลวงที่สำคัญ โดยแร่พลวงนี้มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย อาทิ นำโลหะพลวงมาผสมกับตะกั่วเพื่อทำตัวพิมพ์หนังสือ ,สีทาบ้าน,ผสมสารทำหัวไม้ขีดไฟ,ทำตะกั่วแบตเตอรี่,หมึกพิมพ์โรเนียว,ทองเหลืองหล่อ และผสมพลาสติกเหลวต่างๆ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://rruff.geo.arizona.edu/doclib/hom/stibnite.pdf Handbook of Mineralogy
- ↑ http://www.mindat.org/min-3782.html Mindat.org
- ↑ http://www.webmineral.com/data/Stibnite.shtml Webmineral data
- หนังสือแร่ กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2543 หน้า 68
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สติบไนท์ |
บทความเกี่ยวกับธรณีวิทยานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |