สงครามยาเสพติดเม็กซิโก
สงครามยาเสพติดเม็กซิโก (สเปน: guerra contra el narcotráfico en México)[24] เป็นความขัดแย้งแบบไม่สมมาตรที่ยังดำเนินอยู่[25][26] ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลเม็กซิโกกับแก๊งค้ายาเสพติดจำนวนมากตั้งแต่ ค.ศ. 2006 เมื่อทหารเม็กซิโกเริ่มแทรกแซง โดยเป้าหมายหลักของรัฐบาลคือการลดสถานการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด[27] รัฐบาลเม็กซิโกยืนยันว่าเป้าหมายหลักของพวกเขาคือการทำลายกลุ่มธุรกิจยาเสพติดที่มีอำนาจสูง มากกว่าการขัดขวางการลักลอบขนยาเสพติด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สหรัฐ[28][29][30]
สงครามยาเสพติดเม็กซิโก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามยาเสพติด | |||||||
![]() อาณาเขตขององค์กรอาชญากรรม ณ เดือนกันยายน ค.ศ. 2020 เกวร์เรโรสอูนิโดส แก๊งค้ายาตะวันออกเฉียงเหนือ กองกำลังต่อต้านสหภาพ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการฝึกโดย: ![]() |
| ||||||
กำลัง | |||||||
แก๊งค้ายา: บุคคลกว่า 100,000 คน[14][15][16] | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เม็กซิโก: กำลังพลกองทัพถูกสังหาร 395 นาย และสูญหาย 137 นาย[17]ตำรวจสหพันธ์, ตำรวจรัฐ และตำรวจเทศกิจถูกสังหาร 4,020 นาย[18] |
แก๊งค้ายา: สมาชิกแก๊งค้ายาถูกสังหาร 12,456 คน[19] สมาชิกแก๊งค้ายาถูกคุมขัง 121,199 คน[20] สมาชิกแก๊งค้ายาถูกตัดสินลงโทษ 8,500 คน[21] | ||||||
กำลังพลสูญเสียรวม: มีผู้เสียชีวิต 41,034 คนจากความขัดแย้งในสงครามยาเสพติดระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ตามที่ระบุ ค.ศ. 2006–2019[22] (เสียชีวิตทั้งหมด 151,000 คนจากการฆาตกรรมโดยขบวนการอาชญากรรมใน ค.ศ. 2007–2019)[23] |
ถึงแม้ว่าองค์การค้ายาเสพติดของเม็กซิโกจะมีมาหลายทศวรรษ แต่อิทธิพลของพวกเขาก็ยังคงเพิ่มขึ้น[31][32] หลังจากการสิ้นสุดของแก๊งค้ายากาลิและเมเดยินของโคลอมเบียในคริสต์ทศวรรษ 1990 แก๊งค้ายาเสพติดเม็กซิโกก็ได้เป็นผู้ครองตลาดยาเสพติดผิดกฎหมายในปัจจุบัน และใน ค.ศ. 2007 ได้มีการควบคุม 90 เปอร์เซ็นต์ของโคเคนที่เข้าสู่สหรัฐ[33][34] การจับกุมผู้นำแก๊งค้ายาที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแก๊งค้ายาติฆัวนาและอ่าว ได้นำไปสู่การเพิ่มความรุนแรงเนื่องจากการต่อสู้ของแก๊งค้ายาเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าสู่สหรัฐ[35][36][37]
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลางได้รับการจัดโครงสร้างใหม่อย่างน้อยห้าครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ในความพยายามที่หลากหลายในการควบคุมการทุจริตและลดความรุนแรงของแก๊งค้ายา ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นมีกองกำลังพิเศษชั้นยอดอย่างน้อยสี่กองกำลัง ที่สร้างขึ้นในฐานะทหารปลอดการทุจริตขึ้นใหม่ ที่สามารถทำสงครามกับระบบการติดสินบนเฉพาะถิ่นของเม็กซิโก[38] นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ารายได้ขายส่งจากการขายยาผิดกฎหมายจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 13.6 ถึง 49.4 พันล้านดอลลาร์ต่อปี[33][39][40]
รัฐสภาสหรัฐได้มีการออกกฎหมายในปลายเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 เพื่อให้เม็กซิโกมีเงิน 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการริเริ่มเมริดาเพื่อให้เม็กซิโกมีการฝึกอบรมการบังคับใช้กฎหมายและเครื่องมือ ตลอดจนคำแนะนำด้านเทคนิคเพื่อเสริมสร้างระบบยุติธรรมของประเทศ เมื่อสิ้นสุดการบริหารของเฟลิเป กัลเดรอน (1 ธันวาคม ค.ศ. 2006 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012) มียอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการจากสงครามยาเสพติดเม็กซิโกอย่างน้อย 60,000 คน[41] และประมาณการยอดผู้เสียชีวิตกว่า 120,000 คนภายใน ค.ศ. 2013 โดยไม่นับรวม 27,000 คนที่หายไป[42][43]
ภูมิหลังแก้ไข
เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้ง ประเทศเม็กซิโกถูกใช้มานานแล้วในฐานะจุดแวะและจุดขนถ่ายสารเสพติดและของเถื่อนระหว่างตลาดละตินอเมริกาและสหรัฐ ผู้ลักลอบชาวเม็กซิโกจัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับแก๊งสหรัฐ ตลอดระยะเวลาของการห้ามสุราในสหรัฐ[34] และการเริ่มของการค้ายาเสพติดผิดกฎหมายกับสหรัฐที่เริ่มขึ้นเมื่อการห้ามสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1933[34] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ผู้ลักลอบนำเข้าสารเสพติดชาวเม็กซิโกเริ่มลักลอบค้ายาเสพติดในระดับสำคัญ[34]
ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ปาโบล เอสโกบาร์ ของประเทศโคลอมเบียเป็นผู้ส่งออกโคเคนรายใหญ่ และติดต่อธุรกิจกับเครือข่ายอาชญากรรมที่จัดตั้งทั่วโลก เมื่อมีความพยายามบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นในเซาท์ฟลอริดาและแคริบเบียน องค์กรโคลอมเบียก็ได้สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับผู้ค้าขายในเม็กซิโกเพื่อขนส่งโคเคนโดยทางบกผ่านทางเม็กซิโกไปยังสหรัฐ[44]
นี่เป็นเรื่องง่ายเพราะเม็กซิโกเป็นแหล่งสำคัญของเฮโรอีนและกัญชา และผู้ค้ายาเสพติดจากเม็กซิโกได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมอำนวยแก่ผู้ค้าในโคลอมเบีย ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรจากประเทศเม็กซิโกได้รับการยอมรับอย่างดีและมีผู้ขนส่งโคเคนโคลอมเบียที่ไว้ใจได้ ในตอนแรก แก๊งเม็กซิโกได้รับการจ่ายเป็นเงินสดสำหรับการบริการขนส่งของพวกเขา แต่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 องค์กรขนย้ายเม็กซิโกและผู้ค้ายาเสพติดโคลอมเบียได้ตัดสินใจในข้อตกลงการชำระเงินในสินค้า[45]
ผู้ขนส่งจากเม็กซิโกมักได้รับ 35 เปอร์เซ็นต์ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งโคเคนแต่ละครั้ง ข้อตกลงนี้หมายความว่าองค์กรจากเม็กซิโกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดจำหน่าย รวมทั้งการขนส่งโคเคน และกลายเป็นผู้ค้าที่มีอำนาจมากในสิทธิของตนเอง ในปีที่ผ่านมา แก๊งค้ายาซินาโลอาและแก๊งค้ายาอ่าว ได้ดำเนินการค้าโคเคนจากโคลอมเบียไปยังตลาดทั่วโลก[45]
ความสมดุลของอำนาจระหว่างแก๊งค้ายาเม็กซิโกต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องเมื่อองค์กรใหม่ปรากฏตัวรวมทั้งคนรุ่นเก่าอ่อนแอลงและล่มสลาย การหยุดชะงักในระบบ เช่นการถูกจับกุมหรือการเสียชีวิตของผู้นำแก๊งค้ายา ก่อให้เกิดการนองเลือดเมื่อคู่ต่อสู้ก้าวเข้าสู่การใช้ประโยชน์จากอำนาจสูญญากาศ[46] บางครั้งการสูญเสียความเป็นผู้นำเกิดขึ้นจากความสำเร็จในการบังคับใช้กฎหมายกับแก๊งค้ายาแบบเฉพาะเจาะจง ดังนั้นแก๊งค้ายาจึงมักพยายามที่จะเอาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเข้าต่อสู้กับแก๊งอื่น ทั้งโดยติดสินบนเจ้าหน้าที่เม็กซิโกเพื่อดำเนินการกับคู่แข่ง หรือเผยข่าวกรองเกี่ยวกับการดำเนินงานของคู่ต่อสู้ให้แก่รัฐบาลเม็กซิโกหรือสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของสหรัฐ[46]
ในขณะที่หลายปัจจัยมีส่วนทำให้ความรุนแรงทวีความรุนแรงขึ้น นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยในเม็กซิโกซิตีติดตามต้นกำเนิดของความหายนะที่เพิ่มขึ้นของการปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติด เพื่อแก้ปัญหาที่มีมานานระหว่างผู้ค้ายาเสพติดและรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยพรรคปฏิวัติสถาบัน (PRI) ซึ่งเริ่มสูญเสียการกุมอำนาจทางการเมืองในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980[47]
การต่อสู้ระหว่างแก๊งค้ายาเสพติดเริ่มจริงจังหลังจากการจับกุมมิเกล อังเฆล เฟลิกซ์ กัลลาร์โด อย่างจริงจังใน ค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโคเคนในเม็กซิโก[48] มีภาวะสงบนิ่งในการต่อสู้ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ความรุนแรงได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 2000
ประธานาธิบดีแก้ไข
พรรคปฏิวัติสถาบันที่โดดเด่นปกครองเม็กซิโกเป็นเวลาประมาณ 70 ปีจนถึง ค.ศ. 2000 ในช่วงเวลานี้ แก๊งค้ายาเสพติดได้ขยายอำนาจและการคอร์รัปชัน รวมทั้งปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดได้มุ่งเน้นไปที่การทำลายกัญชาและพืชฝิ่นในพื้นที่ภูเขาเป็นหลัก โดยไม่มีการปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงระดับสูงต่อโครงสร้างหลักของพวกเขาในเขตเมืองจนกระทั่งการเลือกตั้งในเม็กซิโก ค.ศ. 2000 เมื่อพรรคกิจแห่งชาติฝ่ายขวาได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีและเริ่มการปราบปรามแก๊งค้ายาเสพติดในเขตอิทธิพลของพวกเขาเอง
บิเซนเต ฟอกซ์แก้ไข
ใน ค.ศ. 2000 บิเซนเต ฟอกซ์ จากพรรค PAN ฝ่ายขวา ได้กลายเป็นประธานาธิบดีเม็กซิกันคนแรกที่ไม่ได้มาจากพรรค PRI (ซึ่งปกครองประเทศเม็กซิโกมา 70 ปี) การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาผ่านไปอย่างสันติ โดยมีดัชนีอาชญากรรมไม่ต่างจากรัฐบาลเดิมมากนัก และความคิดเห็นของประชาชนชาวเม็กซิกันส่วนใหญ่มองโลกในแง่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยประเทศเม็กซิโกยังแสดงอัตราการฆาตกรรมที่ลดลงโดยทั่วไประหว่าง ค.ศ. 2000 ถึง 2007[49] ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์ที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งของการบริหารของฟอกซ์เกิดจากการจัดการความไม่สงบของชาวไร่ชาวนาในซานซัลบาดอร์อาเตนโก
ในช่วงเวลานี้ โลกใต้ดินของอาชญากรเม็กซิกันไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เนื่องจากต่อมาได้เกิดขึ้นกับประธานาธิบดีกัลเดรอน และสงครามยาเสพติดของเขา องค์ประกอบหลักของความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นได้เริ่มเกิดขึ้น เช่น การโจมตีของแก๊งค้ายาซินาโลอา และการรุกเข้าสู่พื้นที่หลักของแก๊งค้ายาอ่าวในรัฐตาเมาลีปัส
คาดว่าในช่วง 8 เดือนแรกของ ค.ศ. 2005 (ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิงหาคม) มีผู้เสียชีวิตประมาณ 110 รายในนูเอโบลาเรโด รัฐตาเมาลีปัส อันเป็นผลมาจากการต่อสู้ระหว่างแก๊งค้ายาอ่าวกับแก๊งค้ายาซินาโลอา[50] ในปีเดียวกันนั้น ได้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นอีกครั้งในรัฐมิโชอากัง เนื่องจากแก๊งค้ายาลาฟามิเลียมิโชอากานาได้สถาปนาตัวเองขึ้น หลังจากที่แยกตัวออกจากกลุ่มพันธมิตรเดิมอย่างแก๊งค้ายาอ่าว และโลสเซตัส
เฟลิเป กัลเดรอนแก้ไข
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 2006 ประธานาธิบดี เฟลิเป กัลเดรอน ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่จากพรรค PAN ได้ส่งทหารกองทัพบกเม็กซิโกจำนวน 6,500 นายไปยังรัฐมิโชอากัง ซึ่งเป็นรัฐบ้านเกิดของเขา เพื่อยุติความรุนแรงด้านยาเสพติดที่นั่น ปฏิบัติการนี้ถือเป็นการตอบโต้ครั้งใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับความรุนแรงของแก๊งค้ายา และโดยทั่วไปถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามยาเสพติดในเม็กซิโกระหว่างรัฐบาลกับแก๊งค้ายาเสพติด[51] เมื่อเวลาผ่านไป กัลเดรอนยังคงยกระดับการทัพต่อต้านยาเสพติด ซึ่งขณะนี้มีทหารประมาณ 45,000 นายที่มีส่วนร่วมกับกับกองกำลังตำรวจของรัฐและรัฐบาลกลาง[52]
รัฐบาลค่อนข้างประสบความสำเร็จในการกักขังเจ้าพ่อยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้เพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่ที่มีการโต้แย้งกันตามแนวชายแดนของสหรัฐ เช่น ซิวดัดฆัวเรซ, ติฆัวนา และมาตาโมโรส นักวิเคราะห์บางคน เช่น เอกอัครรัฐทูตสหรัฐในประเทศเม็กซิโกอย่างการ์โลส ปัสกวล แย้งว่าความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลโดยตรงจากมาตรการทางทหารของเฟลิเป กัลเดรอน[53] นับตั้งแต่กัลเดรอนได้เปิดตัวกลยุทธ์ทางทหารของเขาในการต่อต้านกลุ่มอาชญากร ได้มีผู้เสียชีวิตด้วยความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากรเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ: ผู้คนมากกว่า 15,000 รายที่ต้องสงสัยในการโจมตีของแก๊งค้ายาเสพติดนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปลาย ค.ศ. 2006[53] ผู้คนมากกว่า 5,000 รายถูกสังหารที่ประเทศเม็กซิโกใน ค.ศ. 2008[54] ตามมาด้วยการฆาตกรรม 9,600 ครั้งใน ค.ศ. 2009 ส่วน ค.ศ. 2010 ได้มีการฆาตกรรมมากกว่า 15,000 คดีทั่วประเทศ[55]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmexico.cnn.com
- ↑ A new post combating an ever-evolving threat. Australian Federal Police (AFP). 11 May 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อautogenerated6
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReferenceC
- ↑ "Las alianzas criminales del CJNG para expandirse en México".
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLm3zb
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbusinessinsider.com
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อQwP8a
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อq2pTF
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อoVZ66
- ↑ "Why is Honduras so violent". Insight Crime. October 2015.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLA
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRomo
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อkPa0i
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อaw0kh
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อJcAk7
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEl Universal
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPolice Reform
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อVSED7
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อinforme 2010
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2vI58
- ↑ "Mexico - UCDP - Uppsala Conflict Data Program". ucdp.uu.se. สืบค้นเมื่อ 2020-06-25.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjusticemexico-data
- ↑ 'Mexico's war on drugs is one big lie' | The Observer
- ↑ Geoffrey Ramsey (2011-08-11). "U.S. Special Forces Trained Mexican Troops in Colorado". insightcrime.org. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ Lehmuth, Erica L.; Etter, Gregg W. (2011-11-15). "The Mexican Drug Wars: Organized Crime, Narco-Terrorism, Insurgency or Asymmetric Warfare?". allacademic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ "ANUNCIO SOBRE LA OPERACIÓN CONJUNTA MICHOACÁN". Presidencia de la Republica, Mexico. 11 Dec 2006.
- ↑ "Calderón: Estamos luchando en contra de los criminales". TeleSur TV. Aug 30, 2011.
- ↑ "Poiré defiende estrategia del Gobierno Federal en lucha antinarco; entrevista AlJazeera". Al Jazeera. Aug 18, 2011.
- ↑ "Sugiere Sarukhán que Calderón no busca reducir tráfico de drogas". SDP Noticias. 2011-05-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2014.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Beittel, June S. (22 July 2015). "Mexico: Organized Crime and Drug Trafficking Organizations" (PDF). Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ "Mexico's Drug War". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
- ↑ 33.0 33.1 Cook, Colleen W. (16 October 2007). Mexico's Drug Cartels (PDF). CRS Report for Congress. Congressional Research Service. p. 7. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 Vulliamy, Ed. Amexica: War Along the Borderline. New York: Farrar, Straus and Giroux, 2010.
- ↑ Carl, Traci (November 3, 2009). "Progress in Mexico drug war is drenched in blood". INSI. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
- ↑ "High U.S. cocaine cost shows drug war working: Mexico". Reuters. September 14, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-04-01.
- ↑ Seelke, Clare Ribando (29 January 2013). Mexico and the 112th Congress (PDF). Congressional Research Service. pp. 2, 13, 14. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016.
- ↑ Longmire, Sylvia. Cartel: The Coming Invasion Of Mexico’s Drug Wars. 2011. ‘Revamping Mexico’s Police Forces’ p. 120. Palgrave McMillan ISBN 978-0-230-11137-0
- ↑ Fantz, Ashley (January 20, 2012). "The Mexico drug war: Bodies for billions". CNN News. สืบค้นเมื่อ 2012-03-05.
- ↑ "Mexican drug gangs 'spread to every region of US'". BBC News. 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-04-23.
- ↑ Miroff, Nick; Booth, William (26 November 2011). "Mexico's drug war is at a stalemate as Calderon's presidency ends". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Booth, William (30 November 2012). "Mexico's crime wave has left about 25,000 missing, government documents show". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ Counting Mexico's drug victims is a murky business เก็บถาวร 2016-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Catholic Reporter, by Claire Schaeffer-Duffy, Mar. 1, 2014
- ↑ DEA History (PDF). US DEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-08-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 45.0 45.1 "Mexico, U.S., Italy: The Cocaine Connection". Stratfor Intelligence. September 18, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-09-20.
{{cite news}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ 46.0 46.1 Burton, Fred (May 2, 2007). "Mexico: The Price of Peace in the Cartel Wars". Stratfor Global Intelligence. สืบค้นเมื่อ 2009-08-16.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อTet2n
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBoKYV
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDjXQo
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNiSrq
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อiht.com
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEoHlf
- ↑ 53.0 53.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อgoogle.com
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2fjyB
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsLwbw
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สงครามยาเสพติดเม็กซิโก |
- Map of Mexican Drug War violence
- Bowers, Charles (2009). "The Mexican Kidnapping Industry". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-23. สืบค้นเมื่อ 2018-11-18.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) An academic paper examining both the emergence of kidnapping as a drug war spillover, and statewide variance in Mexico's kidnapping statutes. - The Mexican Zetas and Other Private Armies – written by the Strategic Studies Institute.
- Mexico page on InSight Crime. Ongoing reporting on Mexico's drug war and involved cartels.
- "Full Coverage Mexico Under Siege". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ September 12, 2016.
- The Atlantic: Mexico's Drug War
- George Grayson, "Mexico's Elite Must Commit to Fighting Drug Cartels", Foreign Policy Association Headline Series.
- Juarez, City of Death, City of Hope
- Cocaine Incorporated June 15, 2012