สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์

สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งทางทหาร ระหว่างราชอาณาจักรสกอตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงต้นคริสศตวรรษที่ 14

ประวัติศาสตร์อังกฤษ
Flag of England
บริเตนยุคก่อนประวัติศาสตร์(ก่อน ค.ศ. 43)
บริเตนสมัยโรมัน (ค.ศ. 43–410)
อังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน (ค.ศ. 410–1066)
อังกฤษสมัยแองโกล-นอร์มัน (ค.ศ. 1066–1154)
ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท (ค.ศ. 1154–1485)
ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (ค.ศ. 1399–1471)
ราชวงศ์ยอร์ก (ค.ศ. 1461–1485)
ราชวงศ์ทิวดอร์ (ค.ศ. 1485–1603)
ราชวงศ์สจวต (ค.ศ. 1603–1642)
รัฐผู้พิทักษ์ และ
เครือจักรภพแห่งอังกฤษ
(ค.ศ. 1642–1660)
การฟื้นฟูราชวงศ์สจวต และ
การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์
(ค.ศ. 1660–1707)
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (ค.ศ. 1707–1800)
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
และไอร์แลนด์
(ค.ศ. 1801–1927)
สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1927–ปัจจุบัน)
จอห์น บัลลิออล, 1292 – 1296 พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ กับพระชายา

สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ครั้งแรก (ปี 1296 - 1328) เปิดฉากขึ้นด้วยการรุกรานของฝ่ายอังกฤษเข้ามาในดินแดนสก็อตใน ปี 1296 และจบลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเอดินบะระ-นอร์ทแธมพ์ตันใน ปี 1328 สงครามครั้งที่สอง (ปี 1332 - 1357) เป็นสงครามชิงอำนาจภายใน ซึ่งเริ่มต้นจากการยกทัพเข้ารุกรานโดยการนำของ เอ็ดเวิร์ด บัลลิออล (Edward Balliol) ทายาทผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สก็อตของจอห์น บัลลิออล โดยมีอังกฤษเป็นฝ่ายหนุนหลัง และยุติลงด้วยการลงนามในสนธิสัญญาเบอร์วิคใน ปี 1357 หลังสงครามยุติ สก็อตแลนด์ยังคงรักษาสถานะความเป็นรัฐเอกราชของตนเอาไว้ได้ สงครามประกาศอิรภาพสกอตแลนด์เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้ง ที่นำไปสู่การพัฒนาอาวุธและยุทธวิธีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรากฏตัวของธนูยาวอังกฤษ หรือ "ลองโบว์" (long bow) ซึ่งเป็นอาวุธที่เปลี่ยนโฉมหน้าการรบในยุคกลาง

สงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ครั้งแรก แก้ไข

ประวัติ แก้ไข

 
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 และ มกุฏราชกุมารเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด, เจ้าชายแห่งเวลส์

เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งสกอตแลนด์สิ้นพระชนม์ลงใน ปี 1286 ทรงมีรัชทายาทเพียงคนเดียวคือ พระนางมาร์กาเร็ต หรือที่รู้จักกันในนาม "ราชนารีแห่งนอร์เวย์" (the Maid of Norway) ซึ่งมีพระชนม์พรรษาเพียง 3 ปี ฯ ใน ค.ศ. 1290 เหล่าผู้พิทักษ์ราชบัลลังก์สกอตแลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญาบีร์แกม (treaty of Birgham) ตกลงยินยอมให้มีการอภิเสกสมรสระหว่าง ราชนารีแห่งนอร์เวย์ กับ เอ็ดเวิร์ดแห่งคายร์นาฟอน พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเป็นลุงทวดของพระนางมาร์กาเร็ต ทางฝ่ายสกอตแลนด์แสดงความจำนงค์อย่างแจ้งชัดที่จะไม่ยอมให้มีการรวมราชอาณาจักร และขอสงวนสิทธิตามสนธิสัญญาที่จะดำรงตนเป็นไทจากอังกฤษ เพื่อสงวนรักษาสิทธิ กฎหมาย เสรีภาพ และขนบธรรมเนียมของตนไว้

พระนางมาร์กาเร็ตสิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทางมาจากนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1290 การสมรสจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์แล้วเกิดมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์เกิดขึ้นถึง 13 ราย โดยมี โรเบิร์ต บรูซ (Robert de Brus) - ลอร์ดที่ 5 แห่งเอนันเดล และเป็นพระอัยกาของโรเบิร์ต เดอะ บรูซ หรือ พระเจ้าโรเบิร์ตที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ - กับ จอห์น บัลลิออล (John Balliol), ลอร์ดแห่งแกลโลเวย์, เป็นสองผู้อ้างสิทธิรายสำคัญ ฯ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความวุ่นวายและสงครามกลางเมือง เหล่าผู้พิทักษ์ราชบัลลังก์แห่งสก็อตแลนด์เขียนจดหมายถึงพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ เพื่อทูลของให้พระองค์เสด็จขึ้นเหนือมาเป็นประธานในกระบวนอนุญาโตตุลาการเพื่อไกล่เกลี่ยยุติข้อพิพาท

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงตอบตกลงและเสด็จมาพบกับเหล่าผู้พิทักษ์ที่เมืองนอร์แฮมใน ปี 1291 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดประสงค์จะได้รับการให้เกียรติยกขึ้นเป็นเจ้าเหนือหัว หรือลอร์ดพาราเม้าท์แห่งสกอตแลนด์ (Lord Paramount of Scotland) ทางฝ่ายผู้แทนสก็อตไม่ยินยอมในตอนแรก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดจึงทรงยื่นคำขาดให้เวลาฝ่ายสก็อตแลนด์พิจารณาข้อเสนอของพระองค์สามสัปดาห์ ด้วยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเชื่อว่าพอสิ้นสุดระยะเวลาสามสัปดาห์ กองทัพของพระองค์คงจะเดินทัพมาถึง และชาวสก็อตย่อมจะไม่มีทางเลือกอื่น ฯ เหตุการณ์เป็นไปตามที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงคาดการณ์ และเหล่าผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ต่างยอมยกพระองค์ขึ้นเป็นลอร์ดพาราเม้าท์ผู้มีอำนาจไกล่เกลี่ยและชี้ขาดในทางอนุญาโตตุลาการ

 
พระเจ้าจอห์น บัลลิออล กษัตริย์ผู้ถูกถอดออกราชบัลลังก์ และได้รับฉายาว่า "toom tabard" ('ผ้าคลุมเปล่า')

ในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1291 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 มีพระบัญชา ในฐานะลอร์ดพาราเม้าท์ ให้ปราสาทในอาณัติของราชบัลลังก์สก็อตทุกแห่งเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์เป็นการชั่วคราว และสั่งให้เจ้าหน้าที่ชาวสก็อตทั้งหมดลาออกเพื่อรับการแต่งตั้งเข้าทำหน้าที่ใหม่จากพระองค์ ฯ ถัดมาอีกสองวันเหล่าผู้พิทักษ์ราชบัลลังก์ และเหล่าพระราชวงศ์สก็อตคนสำคัญๆ ต่างมารวมตัวกันเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ในฐานะลอร์ดพาราเม้าท์ ชาวสก็อตทุกคนได้รับคำสั่งให้เข้ามาถวายความเคารพแก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ไม่ว่าจะต่อหน้าพระพักตร์ หรือในสถานที่ที่ทางการจัดไว้ให้

การไกล่เกลี่ยไต่สวนพิจารณาสิทธิของผู้กล่าวอ้างดำเนินตลอดเวลาเกือบ 4 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคม เหล่าผู้อ้างตนว่ามีสิทธิในราชบัลลังก์เข้าให้การแสดงหลักฐานต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด แต่ข้อกล่าวอ้างส่วนใหญ่ถูกปัดตกไป จนกระทั่งเหลือแค่ผู้กล่าวอ้างสิทธิเพียง 4 ราย ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นผู้สืบสายโดยตรงของพระเจ้าเดวิดที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ได้แก่ จอห์น บัลลิออล, เอ็ดเวิร์ด บรูซ, ฟลอริสที่ 5 เคาน์ทแห่งฮออลแลนด์ และ จอห์น เดอ เฮสติ้งส์ (บารอนแห่งเฮสติ้งส์)

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ขอให้ บัลลิออล และโรเบิร์ต บรูซ เลือกผู้ชี้ขาดฝ่ายละ 40 คน ในขณะที่พระองค์เลือกเข้ามาอีก 24 คน ในที่สุด จอห์น บัลลิออลได้รับการชี้ขาดให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1292 และเข้าพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์ที่ สโคนแอบบีย์ (Scone Abbey) วันที่ 30 พฤศจิกายน ปีนั้น

ต่อมาในวันที่ 26 ธันวาคม พระเจ้าจอห์นเข้าถวายบังคมพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ณ เมืองนิวคาสเซิลอะพอนไทน์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ทรงแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าทรงเห็นสก็อตแลนด์เป็นเหมือนอย่างเมืองขึ้น ซึ่งกษัตริย์จอห์นก็อยู่ในภาวะที่ขัดขืนไม่ได้เพราะแผ่นดินสก็อตแลนด์ยังไม่สงบมั่นคง ฝ่ายตรงข้ามกับราชบัลลังก์ (เอ็ดเวิร์ด บรูซ) ยังมีกำลังเข้มแข็งอยู่มาก พอถึงเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1294 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงเรียก กษัตริย์จอห์น บัลลิออล เข้าพบอีกแล้วแจ้งว่า อังกฤษมีแผนที่จะทำสงครามบุกโจมตีฝรั่งเศส และทรงให้เวลาสก็อตแลนด์จนถึงเดือนกันยายน ค.ศ. 1294 ที่จะจัดเตรียมไพร่พลและเงินทุนสนับสนุนราชการสงครามให้พร้อม

 
ปราสาทคาร์ไลล์

กษัตริย์จอห์นเรียกพบสภาที่ปรึกษาและสั่งให้มีการประชุมรัฐสภาเป็นการด่วน เพื่อวางแผนต่อต้านพระบัญชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ฯ ฝ่ายสก็อตแลนด์ส่งคณะทูตไปแจ้งให้พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทรงทราบถึงเจตนาของพระเจ้ากรุงอังกฤษที่จะกรีฑาทัพเข้ารุกราน ทั้งสองฝ่ายเจรจาทำสัญญาขึ้นฉบับหนึ่ง โดยตกลงว่าฝ่ายสก็อตแลนด์จะยกทัพเข้าโจมตีอังกฤษ เมื่อใดก็ตามที่พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยกทัพไปรุกรานฝรั่งเศส ส่วนฝรั่งเศสก็จะสนับสนุนสก็อตแลนด์ในการต่อสู้เพื่อปลดแอกจากอังกฤษ พระราชบุตรของพระเจ้าจอห์น (เอ็ดเวิร์ด) ถูกกำหนดให้อภิเษกสมรสกับ โจน (Joan) หลานสาวของพระเจ้าฟิลิป สัญญาสัมพันธมิตรระหว่างสก็อตแลนด์กับฝรั่งเศสได้รับการต่ออายุไปเรื่อยๆจนกระทั่งปี ค.ศ. 1560 และถูกเรียกว่า Auld Alliance (พันธมิตรเก่าแก่)

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ทรงทราบถึงการเจรจาลับระหว่างฝรั่งเศส-สก็อตแลนด์ในปีถัดมา (1295) พระองค์จึงเริ่มเสริมความแข็งแกร่งชายแดนทางเมืองเพื่อรับมือกับกองทัพสก็อต โดยสั่งให้มีการจัดตั้งกองกำลังพลเรือนติดอาวุธ (militia) ที่นิวคาสเซิล และหันไปเป็นพันธมิตรกับ โรเบิร์ต บรูซ บุตรชายของ ลอร์ดที่ 5 แห่งเอนันเดล อดีตคู่แข่งชิงราชบัลลังก์ของกษัตริย์จอห์น โดยโรเบิร์ต บรูซ (หรือ the 6th Lord of Annandale และเป็นพระบิดาของพระเจ้าโรเบิร์ด เดอะ บรูซ กษัตริย์แห่งสก็อตแลนด์ในอนาคต) เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด และได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษให้เป็นผู้ครองปราสาทคาร์ไลล์ใกล้ชายแดนสก็อตแลนด์ นอกจากนี้เอ็ดเวิร์ดยังสั่งให้กษัตริย์จอห์นถอนกำลังจากปราสาทและที่มั่นสำคัญต่างๆรวมทั้งที่เบริก (Berwick-upon-tweed) และที่ร็อกสบะระ (Roxburge)

ฝ่ายพระเจ้าจอห์นเมื่อเห็นการเคลื่นไหวของกองกำลังอังกฤษตามชายแดน ก็สั่งให้มีการรวมพลชายชาวสก็อตทุกคนที่สามารถจับอาวุธได้ ผู้ดีชาวสก็อตบางคนก็ไม่ปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตระกูลบรูซ ซึ่งเป็นคู่ปรับของราชบัลลังก์สก็อต โดยโรเบิร์ตสองพ่อลูกต่างก็ไม่ตอบรับคำสั่งเรียกรวมพลของพระเจ้าจอห์น ๆ จึงสั่งริบที่ดินทรัพย์สินศักดินา ณ เอนันเดล (Annandale) และเอาไปมอบให้ จอห์น "เดอะ เรด" โคมิน (John "The Red" Comyn) แทน

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 เปิดศึกโจมตีเมืองเบริก (Berwick) แก้ไข

สงครามเริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1296 เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 เปิดฉากเข้าโจมตีปล้นสะดมเมืองเบริกอย่างทารุณ สังหารทั้งทหารและพลเรือนล้มตายเป็นจำนวนมาก จากนั้นมาไม่นานกองทัพของสก็อตแลนด์ก็พลาดท่าเสียทีโดนอังกฤษตีแตกยับอีก ในยุทธการที่ดันบาร์ ซึ่งนำไปสู่การสละราชบัลลังก์ของกษัตริย์จอห์น บัลลิออลในเดือนกรกฎาคม ฝ่ายทัพอังกฤษสามารถปราบสก็อตแลนด์ได้ราบคาบหมดทั้งประเทศ และเคลื่อนย้ายเอา "หินแห่งโชคชะตา" (Stone of Destiny) สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเมืองสก็อตแลนด์จาก สโคนแอบบีย์ มาไว้ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ในลอนดอน จากนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเรียกประชุมรัฐสภาที่เบริก ชนสูงศักดิ์ชาวสก็อตต่างถวายความเคารพแก่พระองค์ในฐานะกษัตริย์

ในปีถัดมา ค.ศ. 1297 บรรดาชนชั้นนำของสก็อต ซึ่งรวมถึงวิลเลียม วอลเลซ และแอนดรูว์ เดอ-มอเรย์ (Andrew de Moray) ก่อการจลาจลลุกฮือขึ้น ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดต้องหากำลังพลมาเพิ่ม และถึงพระองค์จะเกลี้ยกล่อมให้ผู้มีบรรดาศักดิ์ชาวสก็อตยอมวางอาวุธได้ที่เออร์วิน (Irvine) แต่วอลเลซ กับ เดอ-มอเรย์ ก็ยังดำเนินการทัพต่อไป จนฝ่ายสก็อตแลนด์สามารถได้รับชัยชนะครั้งสำคัญในยุทธการที่สเตอร์ลิงบริดจ์ (Battle of Sterling Bridge) ใกล้เมืองสเตอร์ลิง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข