สกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสัน

สกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสัน (อังกฤษ: Hudson River School[1]) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริการากลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ประกอบด้วยกลุ่มจิตรกรภูมิทัศน์ผู้มีแนวคิดที่มีอิทธิพลมาจากศิลปะจินตนิยม จิตรกรรมที่เป็นชื่อของกลุ่มจะเป็นภาพทิวทัศน์ต่างๆ ของลุ่มแม่น้ำฮัดสันและบริเวณใกล้เคียงรวมทั้งภูเขาแค็ทส์คิลล์, ภูเขาอาดิรอนดัค และ ภูเขาไวท์เมานเทน, นิวแฮมป์เชียร์ งานของศิลปินรุ่นต่อมาของกลุ่มนี้ขยายไปครอบคลุมสถานที่อื่นด้วย

“ทิวทัศน์จากภูเขาโฮลิโอค, นอร์ทแธมตัน, แมสซาชูเซตส์ หลังพายุฝน” (View from Mount Holyoke, Northampton, Massachusetts, after a Thunderstorm หรือ The Oxbow) ค.ศ. 1836 โดยทอมัส โคล (ค.ศ. 1801-ค.ศ. 1848)

บทนำ แก้

ไม่ว่าจะเป็นที่มาของคำว่า “ตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสัน” หรือการตีพิมพ์ครั้งแรกต่างก็ไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่เชื่อกันว่าเดิมมาจากนักวิพากษ์ศิลป์แคลเรนซ์ คุคแห่ง “New York Tribune” หรือโดยจิตรกรภูมิทัศน์โฮเมอร์ ดี. มาร์ติน[2] ตามความหมายเดิมเป็นคำที่เป็นเชิงดูแคลนเมื่อศิลปะลักษณะดังว่าหมดความนิยมลงไปเมื่อจิตรกรรม “กลางแจ้ง” ของตระกูลการเขียนแบบบาร์บิซองเข้ามาเป็นที่นิยมกันในบรรดาผู้อุปถัมภ์และผู้สะสมศิลปะอเมริกันแทนที่

จิตรกรรมของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันสะท้อนให้เห็นหัวเรื่องสามเรื่องของอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19: การค้นพบ, การสำรวจ และ การตั้งถิ่นฐาน นอกจากนั้นก็เป็นจิตรกรรมที่แสดงให้เห็นภูมิทัศน์อเมริกันที่มีลักษณะเป็นท้องทุ่ง (pastoral) ที่มนุษย์และสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ภูมิทัศน์ของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันจะมีลักษณะที่เป็นสัจจะ, เต็มไปด้วยรายละเอียด และบางครั้งก็เป็นเขียนภาพธรรมชาติเชิงอุดมคติ ที่มักจะผสมผสานกันระหว่างบริเวณที่มีการทำเกษตรกรรมและธรรมชาติที่ยังไม่ได้รับการบุกเบิกที่เริ่มจะหายไปอย่างรวดเร็วจากบริเวณลุ่มแม่น้ำฮัดสันแทบจะในช่วงเวลาเดียวกับที่มาเริ่มรู้ถึงคุณค่าของแบบเป็นป่าและความสวยงามโดยทั่วไป โดยทั่วไปแล้วจิตรกรของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันมีความเชื่อว่าธรรมชาติในรูปของภูมิทัศน์อเมริกันเป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้า แม้ว่าจิตรกรแต่ละคนจะมีระดับความศรัทธาทางศาสนาอันแตกต่างกันไปก็ตาม จิตรกรกลุ่มนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรชั้นปรมาจารย์ของยุโรปเช่นโคลด ลอร์แรน, จอห์น คอนสตาเบิล และ เจ.เอ็ม.ดับเบิลยู. เทอร์นเนอร์ และมีความซาบซึ้งในความงามตามธรรมชาติของอเมริกาเช่นเดียวกับนักเขียนชาวอเมริกันร่วมสมัยเช่นเฮนรี เดวิด ทอโร หรือ ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน

ขณะที่องค์ประกอบของภาพดูเหมือนจริง แต่ภาพเขียนหลายภาพมาจากการผสานองค์ประกอบจากฉากหลายฉากเข้าด้วยกัน หรือ จากการสังเกตภูมิทัศน์ต่างๆ ของจิตรกร ในการรวบรวมข้อมูลทางจักษุจิตรกรก็ต้องทำการเดินทางไปยังบริเวณต่างๆ ที่บางครั้งก็ลำบากยากเข็ญที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ยากที่จะไปนั่งเขียนภาพจริงๆ ได้ ระหว่างการเดินทางไปสำรวจจิตรกรก็จะร่างภาพบันทึกหรือพยายามจดจำสิ่งที่ได้ไปเห็นมาเอาไว้เพื่อนำมาใช้ในการเขียนภาพต่อมาเมื่อกลับมาจากการเดินทาง

ทอมัส โคล แก้

โดยทั่วไปแล้วก็ถือกันว่าศิลปินทอมัส โคลเป็นผู้ริเริ่มตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสัน โคลนำเรือไอน้ำล่องขึ้นแม่น้ำฮัดสันระหว่างฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1825 ปีเดียวกับการเปิดคลองอีรีโดยแวะหยุดที่เวสต์พอยน์ทก่อน และต่อมาที่แค็ทสคิลล์ที่ไปแยกไปทางตะวันตกขึ้นสูงเข้าไปยังทางตะวันออกของเทือกเขาแค็ทสคิลล์ของรัฐนิวยอร์กเพื่อไปเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์แรกของบริเวณนั้น งานวิพากษ์งานเขียนของโคลปรากฏเป็นครั้งแรกใน “New York Evening Post” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1825[3] ในขณะนั้นโคลผู้ซึ่งเป็นผู้เดียวที่เป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิดได้แต่เคยเห็นสีของฤดูใบไม้ร่วงในอังกฤษที่ออกไปทางสีน้ำตาลและเหลืองพบสีสรรพ์อันบรรเจิดของฤดูใบไม้ร่วงของภูมิทัศน์ในสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อนสนิทของโคลแอชเชอร์ ดูแรนด์ก็กลายเป็นจิตรกรคนสำคัญในตระกูลการเขียนนี้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อกิจการการแกะลวดลายสำหรับพิมพ์ธนบัตรล่มสลายไปกับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ค.ศ. 1837 (Panic of 1837)

จิตรกรรุ่นที่สอง แก้

 
“ภูเขาวอชิงตัน” โดย จอห์น เฟรเดอริค เคนเซทท์

“จิตรกรรุ่นที่สอง”ของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันเริ่มขึ้นหลังจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของโคลในปี ค.ศ. 1848 สมาชิกในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ลูกศิษย์ผู้มีฝีมือของโคลเฟรเดอริค เอ็ดวิน เชิร์ช, จอห์น เฟรเดอริค เคนเซทท์ และ แซนฟอร์ด โรบินสัน กิฟฟอร์ด งานของจิตรกรรุ่นที่สองมักจะได้รับการบรรยายว่าเป็นตัวอย่างของศิลปะเรืองแสงแบบอเมริกัน (Luminism) นอกจากการสร้างงานศิลปะแล้วจิตรกรในกลุ่มนี้รวมทั้งเชิร์ช, เคนเซทท์ และ กิฟฟอร์ด[4] ก็ยังเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนครนิวยอร์กเมื่อปี ค.ศ. 1869 ด้วย

งานที่ดีที่สุดของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันเป็นงานที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1855 ถึงปี ค.ศ. 1875 ในช่วงนั้นจิตรกรเช่นเฟรเดอริค เอ็ดวิน เชิร์ช และ แอลเบิร์ต เบียร์สตัดท์เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม เมื่อเชิร์ชแสดงภาพเขียนเช่นภาพ “ไนแอการา”[5] or Icebergs of the North [6] ประชาชนเป็นจำนวนพันก็ถึงกับยืนแถวรอบตึกรอเข้าชมและจ่ายค่าเข้าชมคนละห้าสิบเซ็นต์เพื่อที่จะเข้าชมงานเพียงชิ้นเดียว ขนาดงานอันมหึมาของภาพภูมิทัศน์ของภาพเขียนเหล่านี้ที่ไม่เคยทำกันในการเขียนภาพในสหรัฐอเมริกากันมาก่อนหน้านั้น เป็นเครื่องเตือนให้ชาวอเมริกันทราบถึงความกว้างใหญ่ไพศาล, ถึงดินแดนที่ยังไม่ถกถาง แต่มีความงดงามอย่างธรรมชาติของภูมิภาคต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา และงานเขียนของจิตรกรกลุ่มนี้ก็เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างขบวนการขยายตัวไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา, การอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ และ การสร้างอุทยานเมือง

งานสะสมส่วนบุคคล แก้

งานสะสมที่ใหญ่ที่สุดของงานเขียนของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันเป็นของพิพิธภัณฑ์แวดส์เวิร์ธ เอเธเนียม ที่ ฮาร์ทฟอร์ด, คอนเนตทิคัต และงานที่สำคัญที่สุดของพิพิธภัณฑ์คืองานเขียนภาพภูมิทัศน์ 13 ภาพโดยทอมัส โคล, 11 ภาพโดยเฟรเดอริค เอ็ดวิน เชิร์ช ทั้งสองคนเป็นเพื่อนของแดเนียล แวดส์เวิร์ธผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ งานสะสมอื่นที่สำคัญของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสันก็จะมีที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน และ ที่สมาคมประวัติศาสตร์แห่งนครนิวยอร์ก, the พิพิธภัณฑ์บรุคลิน, ศูนย์ศิลปะฟรานซ์ เลห์มัน เลิบของวิทยาลัยวาสซาร์ที่เพอคิพซี, นิวยอร์ก, ศูนย์ประวัติศาสตร์แห่งรัฐแห่งโอลานา (บ้านของเฟรเดอริค เอ็ดวิน เชิร์ช) ใกล้ฮัดสัน, นิวยอร์ก, หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี., สถาบันศิลปะดีทรอยต์ใน รัฐมิชิแกน, สถาบันประวัติศาสตร์และศิลปะอัลบานี, นิวยอร์ก, พิพิธภัณฑ์กิลครีสในทัสซา, โอคลาโฮมา, พิพิธภัณฑ์นิวอาร์ค ในนิวเจอร์ซีย์ และ พิพิธภัณฑ์ศิลปะอเมริกันเวสเตอร์เวลท์ที่ทัสคาลูซา, แอละแบมา

จิตรกรคนสำคัญของตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสัน แก้

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "School", in this sense, refers to a group of painters whose outlook, inspiration and style demonstrate a common thread, rather than a learning institution.
  2. Howat, pages 3-4.
  3. "Thomas Cole". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-26. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  4. Magazine Antiques, Jan, 2000 by John K. Howat
  5. "Collection Highlights / The Corcoran Gallery of Art". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  6. [1][2] เก็บถาวร 2007-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. [3] เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,
  8. "Robert W". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
  9. Archives of American Art - Weir family papers, 1823-1930[ลิงก์เสีย]

Howat, John K. American Paradise, The World of the Hudson River School. The Metropolitan Museum of Art, Harry N. Abrams, Inc., New York, 1987.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ตระกูลการเขียนแบบลุ่มแม่น้ำฮัดสัน