ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา

ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ฮีบรู: מרכז משה דיין לחקר המזרח התיכון ואפריקה; อังกฤษ: Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies; อักษรย่อ: MDC) เป็นคณะทำงานระดับมันสมองอิสราเอล ที่ตั้งอยู่ในเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษาร่วมสมัยและการวิเคราะห์ตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา ภารกิจหลักที่ระบุไว้คือการทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจและประชาชนทั่วไป ทั้งในอิสราเอลและในระดับนานาชาติ แม้ว่าจะแตกต่างจากองค์กรที่คล้ายกันอื่น ๆ โดยการละเว้นจากการแนะนำนโยบายที่เฉพาะเจาะจงทันที

ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (MDC)
คําขวัญศูนย์การวิจัยสหวิทยาการที่ไม่ใช่พรรคการเมือง ที่อุทิศให้กับการศึกษาเกี่ยวกับตะวันออกกลางและแอฟริกาในปัจจุบัน
ก่อนหน้าสถาบันรอยเวน ไชโลห์
ก่อตั้งค.ศ. 1966 (ในฐานะสถาบันรอยเวน ไชโลห์); ค.ศ. 1983 (ในฐานะศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา)
สํานักงานใหญ่เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
กรรมการบริหาร
ศ.อูซี ราบี
องค์กรปกครอง
มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ
เว็บไซต์dayan.org
เดวิด เบนกูเรียน กล่าวคำปราศรัยกับสมาชิกสถาบันรอยเวน ไชโลห์ (ไม่ทราบวันที่)
ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา
หนึ่งในการบรรยายสาธารณะครั้งสุดท้ายของอดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ยิตซัค ราบิน ที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1995)
เอกอัครราชทูตสหรัฐ ดาเนียล ชาพิโร เข้าเยี่ยมชมศูนย์ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ปี ค.ศ. 2012)
เอกอัครราชทูตสหรัฐ ดาเนียล ชาพิโร เข้าเยี่ยมชมศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา (ปี ค.ศ. 2012)

ทีมงานของศูนย์ มีนักวิจัยมากกว่าสามสิบคนจากหลากหลายภูมิหลังและสาขาวิชาต่าง ๆ และมีคุณสมบัติด้านการบัญชาการภาษาอังกฤษ, ฮีบรู, อาหรับ, ตุรกี, เคิร์ด และเปอร์เซีย หลังจากการตื่นตัวของ ‘อาหรับสปริง’ ค.ศ. 2011 และการล่มสลายที่เป็นผลของหลายประเทศในตะวันออกกลาง ทางศูนย์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนากรอบการตีความใหม่ ๆ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพลศาสตร์ที่ซับซ้อนของภูมิภาคนี้[1][2]

ประวัติ แก้

ความคิดแรกเริ่มในการก่อตั้งศูนย์ได้รับการเสนอโดยรอยเวน ไชโลห์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของมอสสาด ผู้ประสงค์จะสร้างองค์กรในอิสราเอลตามแนวชัทแธมเฮ้าส์ในเกาะบริเตนใหญ่ หลังจากการเสียชีวิตของไชโลห์ เทดดี คอลเลค ซึ่งเคยเป็นอธิบดีสำนักงานนายกรัฐมนตรี (และต่อมาได้เป็นนายกเทศมนตรีกรุงเยรูซาเลมที่มีชื่อเสียง) แนะนำว่าสถาบันการศึกษาใหม่สนับสนุนชื่อไชโลห์ ในวันแรก ๆ สถาบันดำเนินการในความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงกลาโหม, กระทรวงการต่างประเทศ และสมาคมชาวตะวันออกอิสราเอล[3] ทางสถาบันจัดคณะทำงานโดยการรวมกันของนักวิจัยอาชีพ ซึ่งมักมาจากฝ่ายกลาโหม และผู้สมัครระดับปริญญาเอกร่วมกับมหาวิทยาลัยฮีบรู ในขั้นต้น พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการจัดวิจัยจำนวนมาก ในช่วงเวลานี้ พวกเขาได้พัฒนา "ชื่อเสียงสำหรับความถี่ถ้วน และคุณภาพกึ่งวิชาการ" เดวิด เบนกูเรียน ได้หันมาช่วนเหลือสถาบันไชโลห์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เพื่อค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการอพยพปาเลสไตน์เมื่อปี ค.ศ. 1948 [3]

ด้วยเหตุผลหลายประการ สถาบันไชโลห์ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างอิสระ สาเหตุประการหนึ่งคือการได้รับความเดือดร้อนจากการขาดเงินทุน ในปี ค.ศ. 1964 นักวิจัยหนุ่มคนหนึ่งชื่อชิโมน ชาเมียร์ ได้เขียนถึงมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น และแย้งว่าควรจะรวมสถาบันนี้เข้ามา เพราะ "ครอบครอง" คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ... และได้รับการประกันการสนับสนุนกับความร่วมมือของรัฐในวงการอาชีพ รวมทั้งการระดมทุน ตลอดจนการรวบรวมวัสดุที่ใช้ในการวิจัย" ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สถาบันกลายเป็นสิ่งที่ ศ.กิล ไอย์อัล จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเรียกว่า "การตั้งสถาบันระหว่างสถาบันการศึกษาและข้าราชการ" ที่มักทำงานอย่างใกล้ชิดควบคู่กับหน่วยข่าวกรองทางทหารและ "การจัดประชุมและอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะของวัน ที่พวกเขาเชิญเจ้าหน้าที่ข่าวกรองทหาร, เจ้าหน้าที่ของรัฐ, นักข่าว และนักการเมือง"[3][4]

ในปี ค.ศ. 1983 ทางมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์โมเช ดายัน ซึ่งรวมสถาบันไชโลห์ และหน่วยเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตะวันออกกลาง โดยในสมัยปัจจุบัน ศูนย์โมเช ดายัน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลอีกต่อไป[3][5]

กิจกรรม แก้

ศูนย์โมเช ดายัน เผยแพร่สิ่งพิมพ์แปดการวิเคราะห์เป็นรายเดือนหรือครึ่งเดือน แต่ละประเด็นเกี่ยวข้องกับด้านใดด้านหนึ่งของตะวันออกกลางสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังตีพิมพ์หนังสือหลายเล่มเป็นประจำทุกปีภายใต้ตราประทับของตัวเอง และมักให้การสนับสนุนด้านการประชุมสัมมนา, อีเวนต์ และการบรรยายสาธารณะ ศูนย์เก็บรักษาห้องสมุดเป็นที่รวบรวมวารสารผู้เชี่ยวชาญ, บทความ, วัสดุจดหมายเหตุ (รวมทั้งฉบับเอกสารเก่าของอังกฤษ), แหล่งข้อมูลทางเศรษฐกิจและข้อมูลทางสถิติ ตลอดจนวัสดุอ้างอิงอื่น ๆ[6]

ห้องเก็บเอกสารอาหรับของศูนย์โมเช ดายัน มีมากกว่าหนึ่งพันวงล้อของหนังสือพิมพ์แบบไมโครฟิล์ม โดยฉบับแรกเป็นของปี ค.ศ. 1877 ตลอดจนการรวบรวมหนังสือพิมพ์, นิตยสาร และวารสารจากทั่วทุกตะวันออกกลางด้วยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์กว่า 6,000 ฉบับ[7]

นอกจากนี้ ศูนย์ยังมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่มีผลงานเกี่ยวกับประเทศอิสราเอลและตะวันออกกลาง[8] การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นงานสัมมนาสิบวันเกี่ยวกับการเมืองของประเทศอิสราเอลและประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนประวัติศาสตร์ของภูมิภาค และความสำคัญดังกล่าวในโลกร่วมสมัย[9]

สถาบันรอยเวน ไชโลห์ ที่ต่อมาเป็นศูนย์โมเช ดายัน มีความโดดเด่นสำหรับสิ่งพิมพ์ของการสำรวจตะวันออกกลางร่วมสมัยในปัจจุบัน และมีส่วนสืบทอดบันทึกตะวันออกกลางในสมัยก่อน ซึ่งได้รับการพิจารณาว่าเป็น "ประเมินผลประจำปีของการพัฒนาในตะวันออกกลางที่ครอบคลุมมากที่สุดและเชื่อถือได้"[10]

สิ่งพิมพ์วารสาร แก้

  1. เทลอาวีฟโน้ต: การอัปเดตการวิเคราะห์รายเดือนเกี่ยวกับโลกปัจจุบันและการพัฒนาในระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง มีกำหนดการเผยแพร่ประจำทุกวันที่ 10 และ 26 ของทุกเดือน[11]
  2. มิดเดิลอีสต์ครอสโรด: สิ่งตีพิมพ์เชิงวิเคราะห์ภาษาฮีบรู ที่คล้ายกับเทลอาวีฟโน้ต
  3. บายัน: เกี่ยวกับชาวอาหรับในประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นการตีพิมพ์รายไตรมาสของโครงการค็อนราท อาเดอเนาเออร์ สำหรับความร่วมมือของชาวยิวอาหรับที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา[12] เป้าหมายของบายันคือการเพิ่มพูนความรู้ของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมอาหรับภายในประเทศอิสราเอล[13]
  4. บีไฮฟ์: สื่อสังคมในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ของโดรอน ฮัลเปิร์น มิดเดิลอีสต์เน็ตเวิร์กอะนาไลซิสเดส ที่ศูนย์โมเช ดายัน เพื่อตะวันออกกลางและแอฟริกาศึกษา ซึ่งศึกษาแนวโน้มที่น่าสังเกตเกี่ยวกับสื่อสังคมอาหรับ, ตุรกี และอิหร่าน
  5. บัสตัน: รีวิวหนังสือในตะวันออกกลาง โดยตีพิมพ์ผ่านสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเพนน์สเตต และรวมถึง "ความเรียงวิจารณ์ขนาดยาวที่เป็นการทบทวนงานวิจัยใหม่อย่างน้อยสามบทความ บทความเหล่านี้วิเคราะห์สาระสำคัญในวงกว้าง หรือประเด็นในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่อยู่นอกเหนือเนื้อหาของหนังสือที่ตรวจสอบ นอกจากนี้ยังมีบทวิจารณ์หนังสือแบบสั้นสิบถึงสิบห้ารายการ รวมถึงบทความวิจารณ์ในการแปล"[14]
  6. อีฟริกิยา: งานวิจัยด้านการวิเคราะห์ที่มุ่งเน้นไปที่ประเทศในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา[15]
  7. อิกติซาดี: เกี่ยวกับเศรษฐกิจตะวันออกกลาง ซึ่งวิเคราะห์การพัฒนาทางเศรษฐกิจในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ[16]
  8. ตุรกีสโคป: วิเคราะห์เหตุการณ์ในประเทศตุรกีสมัยใหม่ รวมถึงนโยบายและเหตุการณ์ในต่างประเทศ
  9. มิดเดิลอีสต์นิวสบรีฟ: เผยแพร่ทุกสัปดาห์ โดยสรุปเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์อาหรับ, ตุรกี และเคิร์ด ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบทบรรณาธิการ กับข่าว

การกำกับดูแลและการเป็นหุ้นส่วน แก้

ศูนย์โมเช ดายัน ได้รับการควบคุมโดยคณะกรรมการผู้ว่าราชการอิสราเอล ตามคำแนะนำของสภาที่ปรึกษาระหว่างประเทศ ซึ่งบริหารโดยผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ศูนย์ได้รับทุนทั้งหมดโดยการมอบเงินทุน, ทุนวิจัย และการบริจาคภาคเอกชนรวมถึงสถาบัน[17]

บางส่วนของโครงการอยู่ในความร่วมมือกับสภาการศึกษาระดับอุดมศึกษาของสาธารณรัฐตุรกี และมูลนิธิค็อนราท อาเดอเนาเออร์ การเชื่อมต่อต่างประเทศอื่น ๆ รวมถึงสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในนครนิวยอร์ก, สถาบันนโยบายต่างประเทศของตุรกีในอังการา, ชัทแธมเฮ้าส์ในกรุงลอนดอน, มหาวิทยาลัยเอมอรี, สถาบันวอชิงตันเพื่อนโยบายตะวันออกใกล้ และมหาวิทยาลัยเทคนิคตะวันออกกลางในอังการา[17]

ในปี ค.ศ. 2014 ศูนย์โมเช ดายัน เริ่มโครงการความร่วมมือระยะเวลา 5 ปีกับศูนย์จอร์จ แอล. มอสส์ / ลอเรนซ์ เอ. ไวน์สไตน์ เพื่อชาวยิวศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ส่วนในเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 2015 ศูนย์โมเช ดายัน ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับศูนย์เพื่ออิสราเอลศึกษา (ประเทศจอร์แดน)

สิ่งตีพิมพ์ภายในหน่วยงานล่าสุดที่ได้รับเลือก แก้

  • อินบัล ทัล, "การแพร่กระจายข้อความของการเคลื่อนไหว, กิจกรรมของสตรีในความเคลื่อนไหวอิสลามในประเทศอิสราเอล" (ค.ศ. 2016)
  • อิตามาร์ ราได, "เรื่องของสองนคร: ชาวปาเลสไตน์ในกรุงเยรูซาเลมและจัฟฟา, ค.ศ. 1947–1948" (ค.ศ. 2015)
  • เอ็ด. แบรนดอน ฟรีดแมน และบรูซ แมดดี-ไวทซ์แมน, การปฏิวัติที่น่าอับอาย: ความสามัคคีของรัฐในตะวันออกกลางหลังอาหรับสปริง (ค.ศ. 2015)
  • เอ็ดส์. อูซี ราบี และชอล ยาไน, "อ่าวเปอร์เซียและคาบสมุทรอาหรับ: รัฐและสังคมในช่วงเปลี่ยนผ่าน" (ค.ศ. 2014)
  • โจชัว อาร์. กูดแมน, การโต้แย้งอัตลักษณ์ในไซนายใต้: พัฒนาการ, การปฏิรูป และการเปิดเผยเอกลักษณ์ของเบดูอินภายใต้กฎของอียิปต์ (ค.ศ. 2014)
  • เจสัน ฮิลแมน, "พายุในถ้วยน้ำชา": วิกฤติอิรัก-คูเวตในปี ค.ศ. 1961 จากวิกฤตอ่าวไปสู่ข้อพิพาทระหว่างอาหรับ (ค.ศ. 2014)
  • ฟูอัด อยามี, "การจลาจลของซีเรีย" (ค.ศ. 2013)
  • โจเซฟ คอสติเนอร์, "รัฐอ่าว: การเมือง, สังคม, เศรษฐกิจ" (ค.ศ. 2012)

บุคลากรที่มีชื่อเสียง แก้

  • อูซี ราบี, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ผู้อำนวยการคนปัจจุบันของศูนย์โมเช ดายัน ความเชี่ยวชาญของเขารวมถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของรัฐและสังคมในอ่าวเปอร์เซีย, อาคารของรัฐในตะวันออกกลาง, น้ำมันและการเมืองในตะวันออกกลาง, ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-อาหรับ และความตึงเครียดของชาวซุนนี-ชีอะฮ์[18]
  • อิตามาร์ ราบิโนวิช,[19] ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ นักวิจัยด้านประวัติศาสตร์และการเมืองของซีเรียและเลบานอน
  • ชิโมน ชาเมียร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต อดีตเอกอัครราชทูตอียิปต์และจอร์แดน และอดีตผู้อำนวยการสถาบันรอยเวน ไชโลห์
  • ไอริต แบค, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หัวหน้าฝ่ายแอฟริกาศึกษาที่ศูนย์โมเช ดายัน และเป็นผู้เขียน "การแทรกแซงและอธิปไตยในแอฟริกา: การแก้ปัญหาความขัดแย้งและองค์กรระหว่างประเทศในดาร์ฟูร์" (ค.ศ. 2016)
  • โอฟรา เบนจิโอ, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต หัวหน้าเคิร์ดศึกษาที่ศูนย์โมเช ดายัน[20] และบรรณาธิการของ "ชาวเคิร์ด: การสร้างชาติในดินแดนที่กระจัดกระจาย" (ค.ศ. 2014)[21]
  • บรูซ แมดดี-ไวทซ์แมน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน และเป็นผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยอาวุโสที่สถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศ
  • แอชเชอร์ ซัสเซอร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน, ศาสตราจารย์กิตติคุณแห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ และอดีตผู้อำนวยการศูนย์โมเช ดายัน[22]
  • พอล ริฟลิน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสของศูนย์โมเช ดายัน และบรรณาธิการของอิกติซาดี: เศรษฐกิจตะวันออกกลาง[23]
  • มิรา โซเรฟ, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ผู้วิจัยในมหาวิทยาลัยที่ศูนย์โมเช ดายัน
  • เอสตี เวบแมน, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์โมเช ดายัน
  • อียัล ซิสเซอร์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์โมเช ดายัน, อดีตผู้อำนวยการศูนย์โมเช ดายัน และปัจจุบันเป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ

อ้างอิง แก้

  1. http://dayan.org/content/about-mdc
  2. Amoyal, Noa (7 March 2015). "Israel Simulation Highlights New Thinking". DefenseNews.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Hazkani, Shai (May 13, 2013). "Catastrophic Thinking: Did Ben-Gurion Try to Rewrite History?". Haaretz. สืบค้นเมื่อ January 29, 2017.
  4. "Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies - CFTAU". CFTAU (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  5. "Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies - CFTAU". CFTAU (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  6. "About the MDC Library". Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  7. "About the MDC Arabic Press Archives". Moshe Dayan Center for Middle Eastern and African Studies. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  8. "Countering single-narrative academic tours of Israel | +972 Magazine". 972mag.com. สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  9. "Professor Uzi Rabi". The Common Good (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  10. Clawson, Patrick (March 1998). "Review of Middle East Contemporary Survey: Volume XIX, 1995". Middle East Quarterly. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
  11. http://dayan.org/journal/tel-aviv-notes-contemporary-middle-east-analysis
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-07. สืบค้นเมื่อ 2018-09-07.
  13. http://dayan.org/journal/bayan-arabs-israel
  14. http://www.psupress.org/Journals/jnls_Bustan.html
  15. http://dayan.org/journal/ifriqiya-africa-research-and-analysis
  16. http://dayan.org/journal/iqtisadi-middle-east-economy
  17. 17.0 17.1 The Moshe Dayan Center เก็บถาวร 2007-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. "Uzi Rabi". สืบค้นเมื่อ 2016-01-31.
  19. Itamar Rabinovich เก็บถาวร 2012-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. Middle East Forum, http://www.meforum.org/3838/israel-kurds
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-09. สืบค้นเมื่อ 2018-09-11.
  22. "Professor Asher Susser". Coursera. Coursera.org. สืบค้นเมื่อ 26 March 2016.
  23. "Dr. Paul Rivlin". The Hertzl Institute. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้