โรงพยาบาลสระบุรี เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดสระบุรี ประเทศไทย และจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลระดับภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทซึ่งจัดอบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]

โรงพยาบาลสระบุรี
Saraburi Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง18 ถนนเทศบาล 4 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000, ประเทศไทย
พิกัด14°32′04″N 100°54′57″E / 14.534514°N 100.915730°E / 14.534514; 100.915730
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง700 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ14 มกราคม พ.ศ. 2497
ลิงก์
เว็บไซต์www.srbr.in.th

ประวัติ

แก้

โรงพยาบาลสระบุรีได้รับการสร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2494 นับเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สี่นอกกรุงเทพมหานคร และเดิมมีอาคารหนึ่งหลัง โรงพยาบาลดังกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2497 ครั้นใน พ.ศ. 2515–2519 โรงพยาบาลนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคในภาคกลางของประเทศไทย ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และได้ขยายเพิ่มเป็น 600 เตียง โดยโรงพยาบาลได้รับการจัดเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคใน พ.ศ. 2524

ครั้นใน พ.ศ. 2536 ทางโรงพยาบาลได้ทำสัญญากับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 และ 5 ในสาขาอายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, สูตินรีเวชวิทยา, กุมารเวชศาสตร์ และวิสัญญีวิทยา ส่วนการสอนนักเรียนภายใต้โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) เริ่มต้นใน พ.ศ. 2538 เมื่อสร้างศูนย์แพทยศาสตรศึกษาขึ้นที่โรงพยาบาลสระบุรี[2]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งเมือ พุทธศักราช 2538 ตั้งอยู่ในเขตภาคกลาง ในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

ประวัติ

แก้

จากปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม มีผลกระทบโดยตรงด้านคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขกับประชาชนในชนบท ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มในปี 2536 โรงพยาบาลสระบุรีได้รับมอบหมายให้เป็นสถาบันสมทบในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ชั้นปีที่ 4 - 6 ต่อมาปีพ.ศ. 2537 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กับ ทบวงมหาวิทยาลัย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย มีระยะเวลา 10 ปี (ใช้เวลาดำเนินการ 16 ปี) ภายใต้หลักการสำคัญ คือ ทบวงมหาวิทยาลัย รับผิดชอบในการจัดทำหลักสูตร รับผิดชอบผลิตบัณฑิตแพทย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่แพทยสภากำหนดประสาทปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตและรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 1 - 3 ส่วนกระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในชั้นปีที่ 4 - 6 ภายใต้การดูแลและสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย

ในปี 2538 กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์ โดยระยะแรกมีจำนวน 10 แห่ง ซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลสระบุรีด้วย ที่ได้ดำเนินการร่วมในการผลิตแพทย์ตาม โครงการฯ และเริ่มรับนักศึกษาแพทย์ ในโครงการฯ นี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี เป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลสระบุรี มีหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ชั้นคลินิก ให้กับนักศึกษาแพทย์โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ของ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 12 แห่ง โดยโรงพยาบาลสระบุรีมีสัญญาผูกพันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักสูตรการศึกษา

แก้

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

ระยะเวลาในการศึกษา

แก้

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

แก้

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "CPIRD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-14.
  2. "ประวัติ โรงพยาบาลสระบุรี".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้