ศาลแขวง (ประเทศไทย)
ศาลแขวง เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาคดีทั้งคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.25 (4)) และคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ทั้งนี้จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้นอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.25 (5)) ถ้าศาลแขวงเห็นว่าสมควรลงโทษจำเลยเกินอัตราดังกล่าวแล้วก็ให้มีอำนาจพิพากษาได้แต่จะต้องให้ผู้พิพากษาอย่างน้อย 1 คนตรวจสำนวน และลงลายมือชื่อในคำพิพากษา เป็นองค์คณะ
ประวัติ
แก้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ประเทศไทยยังปกครองแบบจตุสดมภ์ กรมเมืองหรือที่เรียกกันว่า “กรมพระนครบาล” เป็นกรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานคร มีศาลในสังกัดเรียกว่า “ศาลนครบาล” กรมพระนครบาลได้จัดตั้งกองตระเวนขึ้น 2 กอง คือ กองตระเวนซ้ายและกองตระเวนขวา มีพลตระเวนทำหน้าที่จับผู้ร้ายให้ผู้ใหญ่ในกรมชำระตัดสินความได้เอง โดยยังไม่มีผู้พิพากษาตัดสินความได้อย่างในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2417 มีการปรับปรุงกิจการตำรวจซึ่งเรียกว่า “พลตระเวน” ในกรุงเทพมหานครออกเป็น 3 กอง พลตระเวนทั้งสามกองนี้ เมื่อจับผู้ร้ายได้ก็ชำระความเอง เรียกว่า “ศาลพลตระเวน” สังกัดกรมพระนครบาล หลังจากประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.111) ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง "ศาลโปริสภา" เป็นศาลกองตระเวนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยยกเลิกศาลพลตระเวนเดิม ศาลโปริสภาที่จัดตั้งขึ้นมีอำนาจชำระและตัดสินความอาญาลหุโทษเฆี่ยน (ทวน) 50 ทีลงมา และโทษจำไม่ถึงคุก จำที่ตะรางตั้งแต่ 6 เดือนลงมา หรือปรับไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท) ส่วนคดีแพ่งมีอำนาจชำระและตัดสินความทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 ชั่ง (160 บาท)
ในปี พ.ศ. 2437 (ร.ศ.113) มีประกาศตั้งศาลโปริสภาขึ้นในกรุงเทพมหานครเพิ่มอีก 3 ศาล รวมเป็น 4 ศาล คือ ศาลโปริสภาเดิมเป็นศาลโปริสภาที่ 1 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครใต้ในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 2 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครเหนือในปัจจุบัน ศาลโปริสภาที่ 3 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลแขวงธนบุรีในปัจจุบัน และศาลโปริสภาที่ 4 มีเขตอำนาจตามเขตอำนาจของศาลจังหวัดตลิ่งชันในปัจจุบัน นอกจากประกาศตั้งศาลโปริสภาเพิ่มแล้ว ตามประกาศดังกล่าวยังให้งดเว้นการลงโทษทวน (เฆี่ยนตีด้วยลวดหนัง) เปลี่ยนเป็นโทษจำขังแทนเป็นครั้งแรก ศาลโปริสภาที่ 1 และที่ 2 ตั้งอยู่ฝั่งพระนครมีปริมาณคดีมาก ส่วนศาลโปริสภาที่ 3 ที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีมีปริมาณคดีน้อย ในปี พ.ศ. 2438 จึงประกาศยกเลิกศาลโปริสภาที่ 4 ศาลโปริสภาที่ 3 จึงมีเขตอำนาจในท้องที่ฝั่งธนบุรีทั้งหมด
ในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดทำพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเรียกว่า “พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ.127 (พ.ศ. 2452) ” แบ่งศาลออกเป็น ศาลในกรุงเทพมหานครและศาลหัวเมือง ศาลโปริสภาเป็นศาลในกรุงเทพฯ ศาลแขวงเป็นศาลในหัวเมือง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้ บัญญัติชื่อศาลแขวงในหัวเมือง ส่วนในกรุงเทพมหานคร ยังใช้คำว่าศาลโปริสภาอยู่ต่อไปจนถึง พ.ศ. 2478 มีการประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2478 ใช้คำว่าศาลแขวงทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง ในปีเดียวกันนี้ มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงสำหรับจังหวัดพระนครและธนบุรี พ.ศ. 2478 ให้ตั้งศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงพระนครเหนือ และศาลแขวงธนบุรีขึ้น แบ่งเขตอำนาจตามเขตอำนาจเดิมของศาลโปริสภาที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ
ศาลแขวง
แก้ศาลแขวง ตั้งขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระของศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลจังหวัด มีเฉพาะจังหวัดใหญ่ ๆ ได้แก่
ส่วนกลาง
แก้- ศาลแขวงพระนครเหนือ
- ศาลแขวงพระนครใต้
- ศาลแขวงธนบุรี
- มีเขตตลอดท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ เขตจอมทอง และเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร[1]
- ศาลแขวงดุสิต
- ศาลแขวงปทุมวัน
- ศาลแขวงดอนเมือง
- ศาลแขวงบางบอน
ภาคกลางแก้
|
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแก้
|
ภาคเหนือแก้
|
ภาคใต้แก้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศาลแขวงธนบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.