ศักติปีฐ หรือ ศักติบิฐ (สันสกฤต: शक्ति पीठ, Śakti Pīṭha, ที่ประทับของศักติ[2]) เป็นหมู่แหล่งแสวงบุญหรือมณเฑียรซึ่งเป็นที่สถิตของพระศักติในลัทธิศักติของศาสนาฮินดูที่นับถือเทวีต่าง ๆ เป็นหลัก ศักติปีฐประกอบไปด้วยศาสนสถานกว่า 51 หรือ 108 แห่ง ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกัน[3][4] ในจำนวนนี้มี 4 แห่ง เป็น อาทิศักติปีฐะ (Adi Shakti Pitha) คือ

ศรีหิงคลัชมาตามนเทียรศักติปีฐเป็นแหล่งแสวงบุญฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศปากีสถาน[1]
นรติยังทุรคามนเทียรศักติปีฐในเมฆาลัยเชื่อกันว่าเป็นที่ประทับของพระทุรคา

1. ภิมาลา เทวี (Bimala Devi[5]) เป็นส่วนของพระบาท (เท้า) สถิตอยู่ในเทวาลัยพระชคันนาถ (Jagannath) ในเมืองปุริ แคว้นโอริสสา

2. ตารา ตารินี (Tara Tarini [6]) เป็นส่วนของพระอุระ (หน้าอก) สถิตอยู่ในเมืองพรหมปุระ แคว้นโอริสสา

3. กามาขยา (Kamakhya[7]) เป็นส่วนของโยนี (อวัยวะเพศ) สถิตอยู่ในเมืองคุวะหตี(กามรูป) แคว้นอัสสัม

4. กาลิกัต กาลี (Kalighat Kali[8]) เป็นส่วนของพระพักตร์ (ใบหน้า) สถิตอยู่ในเมืองกัลกัตตา แคว้นเบงกอลตะวันออก

และอีก 18 แห่ง เป็น อัษฎะทศะ มหาศักติ ปีฐะ (Astadasha Maha Shakti Peethas) คือ

1. บาสุกินาถ (Basukinath[9]) เป็นส่วนของพระหฤทัย (หัวใจ) สถิตอยู่ในเทวาลัยไพทยนาถศิวลึงค์ (Baidyanath Shivlinga) แคว้นฌารขันท์

2. กาญจี กามากษี (Kanchi Kamakshi[10]) เป็นส่วนของสะดือ สถิตอยู่ในเมืองกาญจีปุรัม แคว้นทมิฬนาฑู

3. ศรินกาลา (Shrinkala) เป็นส่วนของกระเพาะฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในแคว้นเบงกอล

4. จามุณเฑศวรี (Chamundeshwari[11]) เป็นส่วนของเส้นผม สถิตอยู่ในเมืองไมซอร์ แคว้นกรณาฏกะ

5. โยกุลัมพาเทวี (Jogulamba Devi[12]) เป็นส่วนของฟัน สถิตอยู่ในเมืองอลัมปุรัม แคว้นเตลังคานา

6. พรหมารามภา มัลลิกาชุน (Bhramaramba Mallikarjuna[13]) หรือเรียกอีกชื่อว่า พรหมารามพิกาเทวี (Bhramarambika Devi) เป็นส่วนของคอ สถิตอยุ่ในเมืองศรีไศล แคว้นอานธรประเทศ

7. มหาลักษมี (Mahalakshmi[14]) เป็นส่วนของดวงตา สถิตอยู่ในเมืองโกลหะปุระ แคว้นมหาราษฎระ

8. เรนุกา เทวี (Renuka Devi[15]) เป็นส่วนของมือซ้าย สถิตอยู่ในเมืองมาหุร แคว้นมหาราษฎระ

9. ศากัมภรี เทวี (Shakambhari Devi[16]) เป็นส่วนของศีรษะฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในเมืองสหราณปุระ แคว้นอุตตรประเทศ

10. กุตกุเตศวรา (Kukkuteswara[17]) เป็นส่วนของมือขวาฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในเมืองปิตาปุรัม แคว้นอานธรประเทศ

11. พิราจา (Biraja[18]) เป็นส่วนของท้องฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในเมืองชัยปุระ แคว้นโอริสสา

12. ภีเมศวรา (Bhimeswara) หรือเรียกอีกชื่อว่า มานิคยัมพา (Manikyamba) เป็นส่วนของแก้มฝั่งซ้าย สถิตอยู่ในเทวาลัยภีเมศวร เมืองทรัศรามา แคว้นอานธรประเทศ

13.กามาขยา (Kamakhya) เป็นส่วนของท้องฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในเมืองคุวะหตี(กามรูป) แคว้นอัสสัม (เทวาลัยนี้จะมีทั้งอาทิศักติปีฐะ และมหาศักติปีฐะร่วมกัน สองแห่ง)

14. อโลปี เทวี (Alopi Devi[19]) เป็นส่วนของนิ้ว สถิตอยู่ในเมืองประยาคราช แคว้นอุตตรประเทศ

15. ชวาลามุขี (Jwalamukhi[20]) เป็นส่วนของศีระษะฝั่งหนึ่ง สถิตอยู่ในเมืองคงกระ แคว้นหิมาจัลประเทศ

16. มังคลา เคารี (Mangla Gauri[21]) เป็นส่วนของหน้าอกฝั่งหนึ่ง สถิตในเมืองคยา แคว้นพิหาร

17. วิสาลากษี (Vishalakshi[22]) เป็นส่วนของจมูกฝั่งหนึ่ง สถิตในเมืองพาราณสี แคว้นอุตตรประเทศ

18. ศารทาปีฐะ (Sharada Peeth[23]) เป็นส่วนของมือขวาฝั่งหนึ่ง สถิตในเมืองศารทา แคว้นกัศมีระ(แคชเมียร์)

ในงานเขียนยุคกลางของฮินดู[3] มณเฑียรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอินเดีย แต่มีเจ็ดแห่งในประเทศบังกลาเทศ, สามแห่งในประเทศปากีสถาน, สามแห่งในประเทศเนปาล และหนึ่งแห่งในประเทศจีน กับประเทศศรีลังกา[4]

ตำนานของศักติปีฐมีรากฐานจากการสิ้นพระชนม์ของพระแม่สตี ในพิธียัญชญะของพระทักษะประชาบดีบิดาของพระนาง ซึ่งภายใต้ความเศร้าโศกนั้น พระศิวะทรงแบกร่างของพระแม่สตีขึ้นและเดินไปรอบจักรวาลเพื่อรำลึกถึงพระนาง ต่อมาพระวิษณุได้ทรงตัดร่างของพระแม่ออกเป็น 51 ส่วนโดยใช้สุทรรศนจักร (Sudarshana Chakra) และได้หล่นลงมาตามจุดต่าง ๆ บนโลกมนุษย์

อ้างอิงแก้ไข

  1. https://tribune.com.pk/story/1088366/mata-hinglaj-yatra-to-hingol-a-pilgrimage-to-reincarnation/?amp=1
  2. Fuller, Christopher John (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton: Princeton University Press. p. 44. ISBN 978-0-691-12048-5.
  3. 3.0 3.1 Vanamali (2008). Shakti: Realm of the Divine Mother. Inner Traditions. pp. 83–84, 143–144. ISBN 978-1-59477-785-1.
  4. 4.0 4.1 Kunal Chakrabarti; Shubhra Chakrabarti (2013). Historical Dictionary of the Bengalis. Scarecrow. p. 430. ISBN 978-0-8108-8024-5.
  5. "Vimala Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-08-18, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  6. "Tara Tarini Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-07, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  7. "Kamakhya Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-08-27, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  8. "Kalighat Kali Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-07-21, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  9. "Basukinath", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2021-05-28, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  10. "Kamakshi Amman Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-12, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  11. "Chamundeshwari Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-07-23, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  12. "Alampur Jogulamba Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-07-27, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  13. "Mallikarjuna Temple, Srisailam", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-22, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  14. "Mahalakshmi Temple, Kolhapur", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-21, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  15. "Renuka", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-22, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  16. "Shakambhari", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-19, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  17. "Kukkuteswara Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-05-19, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  18. "Biraja Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-06-06, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  19. "Alopi Devi Mandir", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-06-23, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  20. "Jawalamukhi", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-08-08, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  21. "Mangla Gauri Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-07-28, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  22. "Vishalakshi Temple", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-06, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22
  23. "Sharada Peeth", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-09-11, สืบค้นเมื่อ 2022-09-22