วิลเลียมเดอลาโพล ดยุกแห่งซัฟฟอล์กที่ 1

วิลเลียมเดอลาโพล ดยุกแห่งซัฟฟอล์กที่ 1 (อังกฤษ: William de la Pole, 1st Duke of Suffolk, KG; 16 ตุลาคม ค.ศ. 1396 - 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1450) มีชื่อเล่นว่า แจ็กอะเนปส์ (Jackanapes) เป็นเจ้าสัว, รัฐบุรุษ และผู้บัญชาการทหารชาวอังกฤษในช่วงสงครามร้อยปี เขากลายเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ และภายหลังกลายเป็นผู้นำในรัฐบาลอังกฤษซึ่งเขาเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของรัฐบาลในสมัยนั้นอย่างมาก โดยเฉพาะสงครามในประเทศฝรั่งเศส เขาปรากฏในบทละครของวิลเลียม เชกสเปียร์เรื่อง เฮนรีที่ 4, ตอน 1 และ เฮนรีที่ 4, ตอน 2

วิลเลียมเดอลาโพล
ตราที่แบ่งออกเป็นสี่ส่วนของวิลเลียมเดอลาโพล เอิร์ลแห่งซัฟฟอล์ก ขณะได้รับการแต่งตั้งเป็นอัศวินในเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์
เกิด16 ตุลาคม ค.ศ. 1396
ค็อทตัน ซัฟฟอล์ก ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต2 พฤษภาคม ค.ศ. 1450(1450-05-02) (53 ปี)
ช่องแคบอังกฤษ (ใกล้โดเวอร์ เคนต์)
ที่ฝังศพCarthusian Priory, ฮัลล์
ตำแหน่งดยุกแห่งซัฟฟอล์กที่ 1
คู่สมรสอลิส ชอว์เซอร์ (1430–1450, wid.)
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้อังกฤษ ราชอาณาจักรอังกฤษ
รับใช้ค.ศ. 1415–1437
ความขัดแย้ง

เขาเคยสู้รบในสงครามร้อยปี และมีส่วนร่วมในการเดินทัพของพระเจ้าเฮนรีที่ 5[1] จากนั้นจึงรับใช้ในการรบที่ฝรั่งเศสให้กับพระเจ้าเฮนรีที่ 6 เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการในการล้อมออร์เลอ็องที่ล้มเหลว เขาชื่นชอบวิธีการทางการทูตมากกว่าทางการทหารที่นำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายในฝรั่งเศส[1][2]

ซัฟฟอล์กกลายเป็นบุคคลโดดเด่นในรัฐบาล และเป็นแนวหน้าในนโยบายหลักที่ดำเนินการในช่วงเวลานั้น[3] เขามีบทบาทสำคัญในการจัดทำสนธิสัญญาที่ตูร์ (1444) และกษัตริย์ทรงจัดพิธีแต่งงานให้เขากับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ในช่วงท้ายของชีวิตทางการเมือง มีหลายคนกล่าวหาเขาว่าทำการบริหารที่มิชอบ และบังคับให้เนรเทศออกไป ขณะที่เขากำลังไปอยู่นั้น มีกลุ่มม็อบที่โมโหจับกุมเขา นำไปไต่สวนในศาลจำลอง และถูกตัดหัวในเวลาต่อมา

ทรัพย์สินที่ดินของเขาถูกริบคืนแก่เชื้อพระวงศ์ แต่ภายหลังได้รับการฟื้นฟูให้กับจอห์น ลูกชายคนเดียวของเขา ผู้สืบทอดทางการเมืองต่อจากเขาคือดยุกแห่งซัมเมอร์เซ็ท

การพรรณาในละคร บทกลอน และร้อยแก้ว แก้

  • ซัฟฟอล์กเป็นตัวละครหลักในบทละครสองเรื่องของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยการเจรจาขอแต่งงานของเฮนรีและมาร์กาเรตถูกระบุถึงใน เฮนรีที่ 4, ตอน 1 ในฉบับเชกสเปียร์ซัฟฟอล์กตกหลุมรักกับมาร์กาเร็ต เขาเจรจาแต่งงานเพื่อให้ตนอยู่ใกล้ชิดกับเธอมากขึ้น ส่วนความอัปยศและการเสียชีวิตถูกระบุใน เฮนรีที่ 4, ตอน 2 เชกสเปียร์เล่าเรื่องต่างจากประวัติศาสตร์ที่การให้เฮนรีเนรเทศซัฟฟอล์กจากการสมรู้ร่วมคิดในการฆาตกรรมฮัมฟรีย์ ดยุกแห่งกลอสเตอร์ ภายหลังซัฟฟอล์กถูกโจรสลัดนามว่าวอลเตอร์ วิตมอร์ฆ่าตาย (เพื่อเติมเต็มคำทำนายในบทละครก่อนหน้าว่าเขาจะ "ตายด้วยน้ำ") และภายหลังมาร์กาเรตนำหัวของเขาไปที่ปราสาทแล้วร่ำไห้
  • การฆาตกรรมของเขากลายเป็นหัวเรื่องของตำนานกลอนพื้นบ้านของอังกฤษชื่อ Six Dukes Went a-Fishing (ดยุกหกคนไปตกปลา; Roud #78)

อ้างอิง แก้

ข้อมูล แก้

บรรณานุกรม แก้