วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย

วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย เป็นกิจกรรมอดิเรกที่เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อได้มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 แต่กิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ยังไม่ได้รับการรับรองจากสากลในขณะนั้น กระทั่งได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530

ระยะเริ่มต้น แก้

ก่อนหน้านั้น กิจการวิทยุสมัครเล่น มีขึ้นในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว จากการบอกกล่าวของนักวิทยุสมัครเล่นรุ่นแรก ๆ เล่าว่าได้มากกว่า 60 ปี แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากทั้งประชาชนทั่วไปและจากรัฐบาลเท่าใดนัก

นับจากก่อตั้งเป็นเวลากว่า 40 ปีที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปมากขึ้นเป็นลำดับ โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พยายามดำเนินการกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขออนุญาตทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นมาโดยตลอด เช่น การเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติในรายการแข่งขันวิทยุสมัครเล่นต่าง ๆ รวมทั้งเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันรายการต่าง ๆ หลายรายการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติในสมัยนั้น ให้มีการจัดตั้งสถานีชั่วคราวขึ้นได้

การจัดตั้งชมรมวิทยุอาสาสมัคร แก้

ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" (ย่อมาจาก Volunteer Radio : นักวิทยุอาสาสมัคร) โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อย ๆ มีผู้สมัครสอบประมาณ 500 คน และสอบผ่าน 311 คน[ต้องการอ้างอิง] ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร

แต่เป็นที่ทราบกันดีว่านักวิทยุอาสาสมัครได้ใช้ความถี่วิทยุสมัครเล่น ช่วยเหลือสังคม และงานต่างๆ ของทางราชการตลอดมา ซึ่งก็เป็นครั้งแรกที่ประชาชนทั่วไปได้มีสิทธิใช้งานความถี่วิทยุ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า การเมือง และศาสนา ซึ่งหลังจากนั้นคณะกรรมการชมรม ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบของสมาคม ภายใต้ชื่อ "สมาคมนักวิทยุอาสาสมัคร" มีชื่อภาษาอังฤษว่า "Voluntary Radio Association (VRA)" ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคมและสาธารณประโยชน์แลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิคระหว่างสมาชิกและพัฒนาวิชาการด้านวิทยุคมนาคม โดยการปฏิบัติการติดต่อสื่อสารของสมาชิกทั้งหมดไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือศาสนา และไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับการเมือง

ยุคการจัดตั้งตามกฎหมาย แก้

"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย โดยกำหนดสัญญาณเรียกขานที่เป็นสากลตามข้อกำหนดของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

ซึ่งกำหนดให้ประเทศไทยใช้สัญญาณเรียกขานที่ขึ้นต้นด้วย "HS" และในเวลาต่อมาได้กำหนดสัญญาณเรียกขาน "E2" เพิ่มให้กับประเทศไทย[1]

กิจกรรมของนักวิทยุสมัครเล่นไทย แก้

สถานีพิเศษ แก้

ในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

การเป็นนักวิทยุสมัครเล่นและใบอนุญาต แก้

สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อนจึงจะสามารถใช้งานความถี่วิทยุของนักวิทยุสมัครเล่นได้ ซึ่งนักวิทยุสมัครเล่นของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  1. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
  2. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
  3. ประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง

ซึ่งในแต่ระดับขั้นนั้นมีสิทธิที่จะใช้งานความถี่วิทยุสมัครเล่นด้วยความถี่และกำลังส่งที่แตกต่างกัน สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงนั้น มีการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือ HS1A และมีการทูลเกล้าถวายพระสัญญาณเรียกขานประจำพระองค์ แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 โดยทรงมีพระสัญญาณเรียกขานประจำพระองค์คือ HS10A เมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2563 และในปี พ.ศ 2559 สำนักงาน กสทช ได้เปิดให้มีสารสอบเพื่อรับใบประกาศนียบัตรวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงในวันที่ 18 มิถนายน 2559 มีผู้สอบผ่านจำนวน 155 คน ในปัจจุบันวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทยได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารถูกพัฒนาขึ้นมาก เช่น การติดต่อผ่านแอปพลิเคชั่นสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ ที่อยู่ในสมาร์ทโฟน เป็นต้น

สิทธิต่าง ๆ ของนักวิทยุสมัครเล่นประเทศไทย แก้

เมื่อสอบผ่านหรือได้รับประกาศนียบัตรรับรองการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นแล้ว จะมีสิทธิการใช้งานความถี่ที่กำหนดให้ใช้เฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งมีหลายย่านความถี่ตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และใช้กำลังส่งได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดแต่ละลำดับชั้นของใบอนุญาต สำหรับประเทศไทยตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2557 สิทธิต่าง ๆ เป็นดังตาราง

ใบอนุญาต ความถี่ กำลังส่งสูงสุด
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น

28.000 – 29.700 MHz

ไม่เกิน 100 วัตต์
144.000 – 147.000 MHz ไม่เกิน 60 วัตต์
435.000 – 438.000 MHz [a] เฉพาะภาครับเท่านั้น
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง 135.7 – 137.8 kHz 1 วัตต์
1.800 – 1.825 MHz

1.8.25 – 2.000 MHz [a]

3.500 – 3.540 MHz

3.540 – 3.600 MHz [a]

7.000 – 7.200 MHz

10.100 – 10.150 MHz

14.000 – 14.350 MHz

18.068 – 18.168 MHz

21.000 – 21.450 MHz

24.890 – 24.990 MHz

28.000 – 29.700 MHz

50.000 – 54.000 MHz [b]

144.000 – 147.000 MHz

430.000 – 440.000 MHz [a]

1,240 – 1,300 MHz [a]

2,300 – 2,450 MHz [c]

ไม่เกิน 200 วัตต์

24 – 24.05 GHz

47 – 47.2 GHz

77.5 – 78 GHz

134 – 136 GHz

248 – 250 GHz

ไม่เกิน 10 วัตต์
นักวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง 135.7 – 137.8 kHz 1 วัตต์
1.800 – 1.825 MHz

1.8.25 – 2.000 MHz [a]

3.500 – 3.540 MHz

3.540 – 3.600 MHz [a]

7.000 – 7.200 MHz

10.100 – 10.150 MHz

14.000 – 14.350 MHz

18.068 – 18.168 MHz

21.000 – 21.450 MHz

24.890 – 24.990 MHz

28.000 – 29.700 MHz

50.000 – 54.000 MHz [b]

144.000 – 147.000 MHz

430.000 – 440.000 MHz [a]

1,240 – 1,300 MHz [a]

1,000 วัตต์
2,300 – 2,450 MHz [c]

3,400 – 3,500 MHz [a]

5,650 – 5,850 MHz [a]

10.00 – 10.50 GHz [a]

100 วัตต์
24.00 – 24.05 GHz

24.05 – 24.25 GHz [a]

47.00 – 47.20 GHz

76.00 – 77.50 GHz [a]

77.50 – 78.00 GHz

78.00 – 79.00 GHz [a]

79.00 – 81.00 GHz [a]

122.25 – 123.00 GHz [a]

134.00 – 136.00 GHz

136.00 – 141.00 GHz [a]

241.00 – 248.00 GHz [a]

248.00 – 250.00 GHz

10 วัตต์

หมายเหตุ

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 กิจการรอง ไม่ได้รับการคุ้มครองการรบกวน ถ้าเกิดการรบกวนกับกิจการหลัก ให้หยุดใช้ความถี่ทันที
  2. 2.0 2.1 ร่างตารางความถี่แห่งชาติ 2560 เชิงอรรถประเทศไทย T-P9
  3. 3.0 3.1 ร่างตารางความถี่แห่งชาติ 2560 เชิงอรรถประเทศไทย T-IMT

สถานีทวนสัญญาณวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย แก้

สถานีทวนสัญญาณวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย อยู่ภายใต้การกำหนดหลักเกฑณ์และมาตรฐานโดย กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลการใช้ความถี่[2]

ความถี่สถานีทวนสัญญาณทั้งหมดของวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 26 ช่องสัญญาณ[3][4] โดยแบ่งใช้งานตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จังหวัดละ 1 ความถี่ ยกเว้นบางจังหวัดที่มีภูมิประเทศที่เป็นอุปสรรค์ต่อการติดต่อสื่อสาร อาจจะพิจารณาตั้งสถานีเพิ่ม[5] โดยจังหวัดที่อยู่ติดกันจะใช้ช่องสัญญาณที่ต่างกันเพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างสถานีทวนสัญญาณ[3] รวมถึงมีการเข้ารหัส CTCSS (เข้ารหัสโทน) เพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างคู่ช่องสัญญาณเดียวกัน[6]

ความถี่สถานีทวนสัญญาณ แก้

ความถี่สถานีทวนสัญญาณทั้งหมดของวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 26 ช่องสัญญาณ[3] ตามประกาศของ กสทช.[4] ประกอบไปด้วย

คู่ที่ ความถี่รับ (MHz) ความถี่ส่ง (MHz) ชื่อช่อง ความหมาย หมายเหตุ
1 145.6125 145.0125 RV1D สถานีทวนสัญญาณ

แบบเสียงดิจิทัล

ระบบ D-Star[6]
2 145.6250 145.0250 RV2 สถานีทวนสัญญาณแบบเสียง
3 145.6375 145.0375 RV3
4 145.6500 145.0500 RV4
5 145.6625 145.0625 RV5
6 145.6750 145.0750 RV6
7 145.6875 145.0875 RV7
8 145.7000 145.1000 RV8
9 145.7125 145.1125 RV9
10 145.7250 145.1250 RV10
11 146.6125 146.0125 RV11D สถานีทวนสัญญาณ

แบบเสียงดิจิทัล

12 146.6250 146.0250 RV12D ระบบ DMR[6]
13 146.6375 146.0375 RV13 สถานีทวนสัญญาณแบบเสียง
14 146.6500 146.0500 RV14
15 146.6625 146.0625 RV15
16 146.6750 146.0750 RV16
17 146.6875 146.0875 RV17
18 146.7000 146.1000 RV18
19 146.7125 146.1125 RV19
20 146.7250 146.1250 RV20
21 146.7375 146.1375 RV21
22 146.7500 146.1500 RV22
23 146.7625 146.1625 RV23
24 146.7750 146.1750 RV24
25 146.7875 146.1875 RV25
26 146.8000 146.2000 RV26

รายชื่อสถานีทวนสัญญาณวิทยุสมัครเล่น แก้

ระบบอนาล็อก แก้

ในประเทศไทยปัจจุบันมีการใช้งานสถานีทวนสัญญาณที่กำหนดให้มีการเข้ารหัส CTCSS ที่แตกต่างกันในพื้นที่คู่เดียวกันที่ใกล้เคียงกัน เพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างสถานีทวนสัญญาณที่มีความถี่รับและส่งคู่เดียวกัน[7] ซึ่ง กสทช. เป็นผู้กำหนด[5] ประกอบไปด้วย

เขต จังหวัด สัญญาณเรียกขาน ความถี่รับ (MHz) ความที่ส่ง (MHz) รหัส CTCSS (โทน) หมายเหตุ
1 กรุงเทพมหานคร HS1AB 145.6750 145.0750 67.0
นนทบุรี HS1AN 145.6625 145.0625 67.0
ปทุมธานี HS1AP 145.6250 145.0250 82.5
พระนครศรีอยุธยา HS1AY 145.6875 145.0875 103.5
สระบุรี HS1AR 145.6375 145.0375 110.9
ลพบุรี HS1AL 145.6625 145.0625 88.5
ชัยนาท HS1AI 145.6750 145.0750 82.5
อ่างทอง HS1AT 145.7125 145.1125 94.8
สิงห์บุรี HS1AH 145.7000 145.1000 88.5
สมุทรปราการ HS1AM 145.7000 145.1000 71.9
2 ปราจีนบุรี HS2AP 145.6500 145.0500 88.5
ฉะเชิงเทรา HS2AS 145.7125 145.1125 77.0 ไม่บริการ[3]
ชลบุรี HS2AC 145.7250 145.1250 103.5
จันทบุรี HS2AB 145.6875 145.0875 118.8
ระยอง HS2AR 145.6375 145.0375 82.5
ตราด HS2AT 145.7125 145.1125 67.0
3 นครราชสีมา HS3AN 145.7000 145.1000 103.5
ชัยภูมิ HS3AC 145.6750 145.0750 71.9
ยโสธร HS3AY 145.6875 145.0875 77.0
อุบลราชธานี HS3AU 145.6250 145.0250 67.0
บุรีรัมย์ HS3AB 145.6875 145.0875 110.9
สุรินทร์ HS3AS 145.6375 145.0375 82.5
ศรีสะเกษ HS3AK 145.7125 145.1125 118.8
4 หนองคาย HS4AN 145.6625 145.0625 103.5
หนองบัวลำภู HS4AB 145.7125 145.1125 94.8
อุดรธานี HS4AU 145.6750 145.0750 77.0
กาฬสินธุ์ HS4AG 145.7125 145.1125 82.5
ขอนแก่น HS4AK 145.6500 145.0500 67.0
มหาสารคาม HS4AM 145.7250 145.1250 88.5
นครพนม HS4AP 145.7000 145.1000 118.8
มุกดาหาร HS4AD 145.6250 145.0250 103.5
ร้อยเอ็ด HS4AR 145.6875 145.0875 94.8
เลย HS4AL 145.6250 145.0250 118.8
บึงกาฬ HS4AC 145.6750 145.0750 71.9
สกลนคร HS4AS 145.6375 145.0375 110.9
5 อุตรดิตถ์ HS5AU 145.6625 145.0625 71.9
พะเยา HS5AY 145.7000 145.1000 103.5
น่าน HS5AN 145.6375 145.0375 67.0
แพร่ HS5AP 145.6875 145.0875 85.5
ลำพูน HS5AL 145.6250 145.0250 82.5
ลำปาง HS5AM 145.6500 145.0500 118.5
146.6500 146.0500 คู่ใหม่ 146 MHz
แม่ฮ่องสอน HS5AH 145.7000 145.1000 94.8
เชียงใหม่ HS5AC 145.6750 145.0750 110.9
เชียงราย HS5AR 145.6625 145.0625 77.0
6 นครสวรรค์ HS6AN 145.6250 145.0250 118.8
ตาก HS6AT 145.7000 145.1000 67.0
กำแพงเพชร HS6AK 145.6375 145.0375 94.8
อุทัยธานี HS6AU 145.7250 145.1250 71.9
พิษณุโลก HS6AP 145.7125 145.1125 110.9
146.7125 146.1125 คู่ใหม่ 146 MHz
เพชรบูรณ์ HS6AB 145.6500 145.0500 82.5
146.6500 146.0500 คู่ใหม่ 146 MHz
สุโขทัย HS6AS 145.6750 145.0750 77.0
พิจิตร HS6AJ 145.6875 145.0875 103.5 [8]
7 สมุทรสงคราม HS7AM 146.6500 146.0500 82.5 คู่ใหม่ 146 MHz
สมุทรสาคร HS7AT 145.6375 145.0375 94.8
เพชรบุรี HS7AP 145.7000 145.1000 67.0
146.7000 146.1000 คู่ใหม่ 146 MHz
ราชบุรี HS7AR 145.6625 145.0625 110.9
145.7250 145.1250
ประจวบคีรีขันธ์ HS7AJ 145.6250 145.0250 110.9
สุพรรณบุรี HS7AS 145.6500 145.0500 77.0
นครปฐม HS7AN 145.7125 145.1125 88.5
8 ชุมพร HS8AC 145.7000 145.1000 103.5
145.7250 145.1250
กระบี่ HS8AK 145.6250 145.0250 71.9
ระนอง HS8AR 145.6250 145.0250 118.8
ภูเก็ต HS8AT 145.7000 145.1000 88.5
นครศรีธรรมราช HS8AN 145.6500 145.0500 67.0
145.6625 145.0625
สุราษฎร์ธานี HS8AS 145.6750 145.0750 94.8
145.6375 145.0375
พังงา HS8AP 145.6750 145.0750 88.5
9 นราธิวาส HS9AN 145.6250 145.0250 118.8
พัทลุง HS9AP 145.6250 145.0250 82.5
สงขลา HS9AS 145.6750 145.0750 88.5
ยะลา HS9AY 145.7000 145.1000 103.5
สตูล HS9AL 145.6500 145.0500 110.9
ปัตตานี HS9AI 145.6375 145.0375 94.8
ตรัง HS9AT 145.6875 145.0875 77.0
145.7250 145.1250

สถานีทวนสัญญาณของบางจังหวัดในตารางนี้เป็นค่ากำหนดจาก กสทช. แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เปิดให้ใช้บริการ เนื่องจากการขาดความพร้อมของสมาคมวิทยุสมัครเล่นประจำจังหวัดนั้น ๆ ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานีทวนสัญญาณ และความนิยมในกิจการวิทยุสมัครเล่นที่ลดลง[9]

ระบบดิจิทัล แก้

D-Star แก้
จังหวัด สัญญาณเรียกขาน ความถี่รับ (MHz) ความที่ส่ง (MHz) หมายเหตุ
กรุงเทพมหานคร E24DA 145.6125 145.0125 Reflector: Ref087C ออกอากาศทดสอบสัญญาณโดย HS0AB (ศูนย์สายลม กสทช.) ทุกวันเสาร์ เวลา 19.00 - 20.00 น.[3][10][6]
ปทุมธานี E24DB [10][6]
ชลบุรี E24DC [10][6]
สุรินทร์ E24DD [10][6]
มหาสารคาม E24DE [10][6]
พิษณุโลก E24DF [10][6]
เชียงใหม่ E24DG [10][6]
ระนอง E24DH [10][6]
สงขลา E24DI [10][6]
ภูเก็ต E24DJ [10][6]
สุราษฎร์ธานี E24DK [3]
พระนครศรีอยุธยา E24DM [3]
อุบลราชธานี E24DN [3]
ร้อยเอ็ด E24DO [3]
อุดรธานี E24DP [3]
เชียงราย E24DQ [3]
ตาก E24DR [3]
เพชรบูรณ์ E24DS [3]
เพชรบุรี E24DT [3]
สุราษฎร์ธานี E24DU [3]
นราธิวาส E24DV [3]
DMR แก้
จังหวัด สัญญาณเรียกขาน ความถี่รับ (MHz) ความที่ส่ง (MHz) หมายเหตุ
กรุงเทพมหานคร E24EZ 146.6250 146.0250 [6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Appendix 42 Table of Allocation of International Call Sign Series". International Telecommunication Union. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มีนาคม 2011.
  2. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น. เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 137 ง หน้า 20. วันที่ 23 กรกฎาคม 2557.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 "RAST - Repeater". www.rast.or.th.
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและกำกับดูแลกิจการวิทยุสมัครเล่น (ฉบับที่ 2). เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 185 ง หน้า 35. วันที่ 19 กรกฎาคม 2560. โดยทาง www.nbtc.go.th.
  5. 5.0 5.1 "ความถี่รีพีทเตอร์แต่ละจังหวัดทั้ง 9 เขต". ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นและอาสาบรรเทาภัย.
  6. 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 6.11 6.12 6.13 "RAST - Digital voice". www.rast.or.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2022.
  7. "CTCSS - RAST". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2022.
  8. "ศูนย์สายลมประชาสัมพันธ์ ความถี่รีพีทเตอร์แต่ละจังหวัดทั้ง 9 เขต". 22 พฤศจิกายน 2021 – โดยทาง Facebook.
  9. "การใช้สถานีทวนสัญญาณ". www.weekendhobby.com.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 "Thailand D-STAR". REF087 Reflector System. กสทช.

บรรณานุกรม แก้