วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทย

ระบบการสื่อสารทางวิทยุระยะสั้นระหว่างบุคคลในประเทศไทย

วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทย คือวิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน (Citizens band radio: CB radio) ที่มีการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะเด่นคือการใช้ตัวเครื่องสีสันสดใส คือสีแดงและสีเหลือง จึงมักถูกเรียกว่า เครื่องแดง, เครื่องเหลือง หรือ วอแดง, วอเหลือง ซึ่งใช้ช่วงความถี่แตกต่างจากสากล[1] โดยประเทศไทยใช้ความถี่ 78 MHz ในเครืองวิทยุสีเหลือง และ 245 MHz ในเครื่องวิทยุสีแดง

เครื่องวิทยุสมัครเล่น (สีดำ) และเครื่องวิทยุความถี่ภาคประชาชน (สีแดง) การใช้สีแดงช่วยให้สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทการใช้งาน

ประวัติ

แก้

วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทย เริ่มมีการอนุญาตใช้งานครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2539 โดยมีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำกับดูแลและออกใบอนุญาตใช้งานหรือตั้งสถานี ทั้งความถี่ 78 MHz และ 245 MHz โดยกำหนดในภาคผนวกไว้ว่าตัวเครื่องวิทยุจะต้องใช้สีเหลือง (78 MHz) และสีแดง (245 MHz) และไม่คุ้มครองการใช้งานความถี่ หมายความว่าหากเกิดการก่อกวนกันระหว่างใช้งานจะไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ต้องแบ่งปันกันใช้งาน[2][3]

สำหรับตัวเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับใช้งานนั้นได้มีการผลิตและนำออกจำหน่ายหลังจากประกาศอนุญาตได้เผยแพร่ไปแล้วประมาณหนึ่งปี โดยผู้ผลิตวิทยุสื่อสารชั้นนำในขณะนั้น คือไอคอม ได้ผลิตวิทยุรุ่น IC-3FX สำหรับใช้งานในย่านความถี่ 245 MHz ช่องใช้งาน 40 ช่องออกมาเป็นค่ายแรก[4] และโมโตโรลาได้ผลิตวิทยุสำหรับใช้งานในย่านความถี่ 78 MHz ออกตามมาคือรุ่น คอมมานเดอร์ 78

ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการปรับช่องใช้งานเป็นจำนวน 80 ช่อง ใช้กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ ทั้งในความถี่ 78 MHz ในช่วงความถี่ระหว่าง 78.000 MHz ถึง 78.9875 MHz[3] และความถี่ 245 MHz ในช่วงความถี่ระหว่าง 245.000 MHz ถึง 245.9875 MHz[2] และประกาศเพิ่มเติมห้ามการทวนสัญญาณ คือการรับที่ความช่องความถี่หนึ่ง และส่งไปยังอีกช่องความถี่หนึ่งในปี พ.ศ. 2543[5]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานในการกำกับดูแลการจัดสรรดูแลคลื่นความถี่จากเดิมคือกรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงต้องมีการกำหนดระเบียบในการกำกับดูแลขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและหน่วยงานที่เปลี่ยนแปลงไป[6]

ในปี พ.ศ. 2561 กสทช. ได้อนุญาตให้วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนย่านความถี่ 245 MHz มีช่องความถี่สำหรับใช้งานเพิ่มขึ้นเป็น 160 ช่อง ในช่วงความถี่ระหว่าง 245.0000 MHz ถึง 246.9875 MHz รวมถึงยังกำหนดลักษณะการใช้งานของช่องต่าง ๆ เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น[7]

การใช้งาน

แก้
 
วิทยุย่านความถี่ 245 MHz เป็นที่นิยมใช้งานในงานรักษาความปลอดภัย

วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนเป็นที่นิยมใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถหาใช้งานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องสอบเพื่อขอใบอนุญาตใช้งานแบบวิทยุสมัครเล่น มีการทำไปใช้งานในหลายกิจการทั้งเชิงพาณิชย์ สำหรับใช้งานภายในห้างสรรพสินค้า คลังสินค้า การรักษาความปลอดภัยของเอกชน กิจการสาธารณะกุศล สำหรับการประสานเหตุและรับแจ้งเหตุของหน่วยอาสาสมัครกู้ภัยและอาสาสมัครดับเพลิง ใช้ในราชการสำหรับการประสานงานภายในหน่วยที่ไม่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่านราชการ หรือเพื่อการนันทนาการหรือการสื่อสารภายในกลุ่มย่อยของประชาชน[8][9]

ในการใช้งานของประชาชนนั้นความถี่ 245 MHz นั้นได้รับความนิยมมากกว่าย่านความถี่ 78 MHz ซึ่งเป็นตัวเลือกรองลงมา[9] เนื่องจากย่านความถี่ 78 MHz อยู่ในช่วงต่ำของย่านความถี่ VHF ทำให้มีคุณสมบัติไปทางย่านความถี่ HF มากกว่าทำให้ต้องใช้สายอากาศที่มีขนาดใหญ่ และเสียงไม่ชัดเจนเท่าย่านความถี่ 245 MHz แต่ก็มีจุดเด่นที่สามารถสื่อสารได้ระยะไกลกว่าย่านความถี่ 245 MHz[8] รวมถึงปัจจุบันผู้ค้าไม่นิยมผลิตเครื่องวิทยุย่านความถี่ 78 MHz คงเหลือผู้ผลิตเพียงไม่มากนัก

การพูดคุยในความถี่นั้น สามารถที่จะตั้งช่องสื่อสารให้ตรงกันและสามารถใช้งานได้เลย แต่ก็อาจจะถูกรบกวนได้หากในพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้งานที่หนาแน่น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะเข้ารหัสสำหรับการสื่อสารได้ด้วยการเข้ารหัสในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ DTMF, CTCSS, DTS หรือที่ผู้ใช้งานนิยมเรียกว่าการใส่โทนให้ตรงกันกับเครื่องที่ต้องการจะสื่อสาร เพื่อกรองให้สามารถรับฟังเพียงสัญญาณจากช่องใช้งาน และการเข้ารหัสตรงกันเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานอื่นที่ไม่ได้เข้ารหัสก็จะสามารถได้ยินการสนทนา[8] ไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด[8]

ใบอนุญาต

แก้

ผู้ใช้งานวิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเครื่องวิทยุสื่อสารย่านประชาชนทุกเครื่องสามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตแต่อย่างใด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดนัก โดยจะต้องตรวจสอบและดำเนินการ[10] ดังนี้

เครื่องวิทยุ

แก้
 
ตราครุฑบนสติ๊กเกอร์ของ กสทช.

ตามกฎหมายนั้น ผู้ใช้งานจะต้องใช้งานเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจาก กสทช. โดยจะมีสติ๊กเกอร์ตราครุฑของ กสทช. ที่มีอักษรว่า ปท. (ในรุ่นเก่า) หรือ NBTC ID (ในการใช้งานปัจจุบัน) ติดอยู่ภายในช่องใส่แบตเตอรี่ของเครื่องเป็นการรับรองว่าสามารถใช้งานได้อย่างถูกกฎหมาย[10]

ใบอนุญาตใช้/ตั้งสถานี

แก้

หลังจากตรวจสอบว่าเป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบรับรองโดย กสทช. แล้ว จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเครื่องว่ามีกำลังส่งขนาดเท่าไหร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณี[10] คือ

  • กำลังส่ง 0.5 วัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาตใช้งาน แต่จะต้องเป็นเครื่องที่ผ่านการตรวจสอบถูกต้อง
  • กำลังส่ง 5 วัตต์ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องวิทยุแบบมือถือ จำเป็นต้องขอ
    • ใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคม กับ กสทช.
  • กำลังส่ง 10 วัตต์ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องวิทยุแบบเคลื่อนที่หรือประจำที่ (เครื่องโมบาย) จำเป็นต้องขอ
    • ใบอนุญาตให้ใช้ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม หรืออุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคม กับ กสทช.
    • ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ทั้งประจำที่ในอาคารบ้านเรือน หรือเคลื่อนที่ในรถยนต์ กับ กสทช.

บทลงโทษ

แก้

ในการใช้งานนั้น หากถูกตรวจสอบหรือตรวจค้นแล้วเจ้าพนักงานจะดำเนินการตามกฎหมาย จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 23 ระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ[10]

แผนความถี่วิทยุ

แก้

วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทยนั้น ใช้แผนความถี่วิทยุตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้กำหนด ปัจจุบันมีใช้งานอยู่ 2 ช่วงคือ ความถี่ 78 MHz และ 245 MHz[7]

วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนย่านความถี่ 78 MHz
ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน
1 78.0000 การสื่อสารประเภทเสียง 41 78.5000 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
และเป็นคลื่นความถี่กลาง
ในการประสานงาน
ระหว่างรัฐและประชาชน
2 78.0125 การสื่อสารประเภทเสียง 42 78.5125 การสื่อสารประเภทเสียง
3 78.0250 การสื่อสารประเภทเสียง 43 78.5250 การสื่อสารประเภทเสียง
4 78.0375 การสื่อสารประเภทเสียง 44 78.5375 การสื่อสารประเภทเสียง
5 78.0500 การสื่อสารประเภทเสียง 45 78.5500 การสื่อสารประเภทเสียง
6 78.0625 การสื่อสารประเภทเสียง 46 78.5625 การสื่อสารประเภทเสียง
7 78.0750 การสื่อสารประเภทเสียง 47 78.5750 การสื่อสารประเภทเสียง
8 78.0875 การสื่อสารประเภทเสียง 48 78.5875 การสื่อสารประเภทเสียง
9 78.1000 การสื่อสารประเภทเสียง 49 78.6000 การสื่อสารประเภทเสียง
10 78.1125 การสื่อสารประเภทเสียง 50 78.6125 การสื่อสารประเภทเสียง
11 78.1250 การสื่อสารประเภทเสียง 51 78.6250 การสื่อสารประเภทเสียง
12 78.1375 การสื่อสารประเภทเสียง 52 78.6375 การสื่อสารประเภทเสียง
13 78.1500 การสื่อสารประเภทเสียง 53 78.6500 การสื่อสารประเภทเสียง
14 78.1625 การสื่อสารประเภทเสียง 54 78.6625 การสื่อสารประเภทเสียง
15 78.1750 การสื่อสารประเภทเสียง 55 78.6750 การสื่อสารประเภทเสียง
16 78.1875 การสื่อสารประเภทเสียง 56 78.6875 การสื่อสารประเภทเสียง
17 78.2000 การสื่อสารประเภทเสียง 57 78.7000 การสื่อสารประเภทเสียง
18 78.2125 การสื่อสารประเภทเสียง 58 78.7125 การสื่อสารประเภทเสียง
19 78.2250 การสื่อสารประเภทเสียง 59 78.7250 การสื่อสารประเภทเสียง
20 78.2375 การสื่อสารประเภทเสียง 60 78.7375 การสื่อสารประเภทเสียง
21 78.2500 การสื่อสารประเภทเสียง 61 78.7500 การสื่อสารประเภทเสียง
22 78.2625 การสื่อสารประเภทเสียง 62 78.7625 การสื่อสารประเภทเสียง
23 78.2750 การสื่อสารประเภทเสียง 63 78.7750 การสื่อสารประเภทเสียง
24 78.2875 การสื่อสารประเภทเสียง 64 78.7875 การสื่อสารประเภทเสียง
25 78.3000 การสื่อสารประเภทเสียง 65 78.8000 การสื่อสารประเภทเสียง
26 78.3125 การสื่อสารประเภทเสียง 66 78.8125 การสื่อสารประเภทเสียง
27 78.3250 การสื่อสารประเภทเสียง 67 78.8250 การสื่อสารประเภทเสียง
28 78.3375 การสื่อสารประเภทเสียง 68 78.8375 การสื่อสารประเภทเสียง
29 78.3500 การสื่อสารประเภทเสียง 69 78.8500 การสื่อสารประเภทเสียง
30 78.3625 การสื่อสารประเภทเสียง 70 78.8625 การสื่อสารประเภทเสียง
31 78.3750 การสื่อสารประเภทเสียง 71 78.8750 การสื่อสารประเภทเสียง
32 78.3875 การสื่อสารประเภทเสียง 72 78.8875 การสื่อสารประเภทเสียง
33 78.4000 การสื่อสารประเภทเสียง 73 78.9000 การสื่อสารประเภทเสียง
34 78.4125 การสื่อสารประเภทเสียง 74 78.9125 การสื่อสารประเภทเสียง
35 78.4250 การสื่อสารประเภทเสียง 75 78.9250 การสื่อสารประเภทเสียง
36 78.4375 การสื่อสารประเภทเสียง 76 78.9375 การสื่อสารประเภทเสียง
37 78.4500 การสื่อสารประเภทเสียง 77 78.9500 การสื่อสารประเภทเสียง
38 78.4625 การสื่อสารประเภทเสียง 78 78.9625 การสื่อสารประเภทเสียง
39 78.4750 การสื่อสารประเภทเสียง 79 78.9750 การสื่อสารประเภทเสียง
40 78.4875 การสื่อสารประเภทเสียง 80 78.9875 การสื่อสารประเภทเสียง
วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนย่านความถี่ 245 MHz
ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน
1 245.0000 การสื่อสารประเภทเสียง 41 245.5000 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
และเป็นคลื่นความถี่กลาง
ในการประสานงาน
ระหว่างรัฐและประชาชน
2 245.0125 การสื่อสารประเภทเสียง 42 245.5125 การสื่อสารประเภทเสียง
3 245.0250 การสื่อสารประเภทเสียง 43 245.5250 การสื่อสารประเภทเสียง
4 245.0375 การสื่อสารประเภทเสียง 44 245.5375 การสื่อสารประเภทเสียง
5 245.0500 การสื่อสารประเภทเสียง 45 245.5500 การสื่อสารประเภทเสียง
6 245.0625 การสื่อสารประเภทเสียง 46 245.5625 การสื่อสารประเภทเสียง
7 245.0750 การสื่อสารประเภทเสียง 47 245.5750 การสื่อสารประเภทเสียง
8 245.0875 การสื่อสารประเภทเสียง 48 245.5875 การสื่อสารประเภทเสียง
9 245.1000 การสื่อสารประเภทเสียง 49 245.6000 การสื่อสารประเภทเสียง
10 245.1125 การสื่อสารประเภทเสียง 50 245.6125 การสื่อสารประเภทเสียง
11 245.1250 การสื่อสารประเภทเสียง 51 245.6250 การสื่อสารประเภทเสียง
12 245.1375 การสื่อสารประเภทเสียง 52 245.6375 การสื่อสารประเภทเสียง
13 245.1500 การสื่อสารประเภทเสียง 53 245.6500 การสื่อสารประเภทเสียง
14 245.1625 การสื่อสารประเภทเสียง 54 245.6625 การสื่อสารประเภทเสียง
15 245.1750 การสื่อสารประเภทเสียง 55 245.6750 การสื่อสารประเภทเสียง
16 245.1875 การสื่อสารประเภทเสียง 56 245.6875 การสื่อสารประเภทเสียง
17 245.2000 การสื่อสารประเภทเสียง 57 245.7000 การสื่อสารประเภทเสียง
18 245.2125 การสื่อสารประเภทเสียง 58 245.7125 การสื่อสารประเภทเสียง
19 245.2250 การสื่อสารประเภทเสียง 59 245.7250 การสื่อสารประเภทเสียง
20 245.2375 การสื่อสารประเภทเสียง 60 245.7375 การสื่อสารประเภทเสียง
21 245.2500 การสื่อสารประเภทเสียง 61 245.7500 การสื่อสารประเภทเสียง
22 245.2625 การสื่อสารประเภทเสียง 62 245.7625 การสื่อสารประเภทเสียง
23 245.2750 การสื่อสารประเภทเสียง 63 245.7750 การสื่อสารประเภทเสียง
24 245.2875 การสื่อสารประเภทเสียง 64 245.7875 การสื่อสารประเภทเสียง
25 245.3000 การสื่อสารประเภทเสียง 65 245.8000 การสื่อสารประเภทเสียง
26 245.3125 การสื่อสารประเภทเสียง 66 245.8125 การสื่อสารประเภทเสียง
27 245.3250 การสื่อสารประเภทเสียง 67 245.8250 การสื่อสารประเภทเสียง
28 245.3375 การสื่อสารประเภทเสียง 68 245.8375 การสื่อสารประเภทเสียง
29 245.3500 การสื่อสารประเภทเสียง 69 245.8500 การสื่อสารประเภทเสียง
30 245.3625 การสื่อสารประเภทเสียง 70 245.8625 การสื่อสารประเภทเสียง
31 245.3750 การสื่อสารประเภทเสียง 71 245.8750 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับปฏิบัติงานร่วมกัน
ของหน่วยงานรัฐ
และหน่วยงานรัฐกับประชาชน
ในการสนับสนุนหน่วยงานรัฐ
32 245.3875 การสื่อสารประเภทเสียง 72 245.8875
33 245.4000 การสื่อสารประเภทเสียง 73 245.9000
34 245.4125 การสื่อสารประเภทเสียง 74 245.9125
35 245.4250 การสื่อสารประเภทเสียง 75 245.9250
36 245.4375 การสื่อสารประเภทเสียง 76 245.9375 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับประสานงานระหว่าง
องค์กรสาธารณกุศล
สำหรับช่วยเหลือและ
รับแจ้งเหตุจากประชาชน
37 245.4500 การสื่อสารประเภทเสียง 77 245.9500
38 245.4625 การสื่อสารประเภทเสียง 78 245.9625
39 245.4750 การสื่อสารประเภทเสียง 79 245.9750
40 245.4875 การสื่อสารประเภทเสียง 80 245.9875
ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน ช่องที่ ความถี่ (MHz) การใช้งาน
81 246.0000 การสื่อสารประเภทเสียง 121 246.5000 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
และเป็นคลื่นความถี่กลาง
ในการประสานงาน
ระหว่างรัฐและประชาชน
82 246.0125 การสื่อสารประเภทเสียง 122 246.5125 การสื่อสารประเภทเสียง
83 246.0250 การสื่อสารประเภทเสียง 123 246.5250 การสื่อสารประเภทเสียง
84 246.0375 การสื่อสารประเภทเสียง 124 246.5375 การสื่อสารประเภทเสียง
85 246.0500 การสื่อสารประเภทเสียง 125 246.5500 การสื่อสารประเภทเสียง
86 246.0625 การสื่อสารประเภทเสียง 126 246.5625 การสื่อสารประเภทเสียง
87 246.0750 การสื่อสารประเภทเสียง 127 246.5750 การสื่อสารประเภทเสียง
88 246.0875 การสื่อสารประเภทเสียง 128 246.5875 การสื่อสารประเภทเสียง
89 246.1000 การสื่อสารประเภทเสียง 129 246.6000 การสื่อสารประเภทเสียง
90 246.1125 การสื่อสารประเภทเสียง 130 246.6125 การสื่อสารประเภทเสียง
91 246.1250 การสื่อสารประเภทเสียง 131 246.6250 การสื่อสารประเภทเสียง
92 246.1375 การสื่อสารประเภทเสียง 132 246.6375 การสื่อสารประเภทเสียง
93 246.1500 การสื่อสารประเภทเสียง 133 246.6500 การสื่อสารประเภทเสียง
94 246.1625 การสื่อสารประเภทเสียง 134 246.6625 การสื่อสารประเภทเสียง
95 246.1750 การสื่อสารประเภทเสียง 135 246.6750 การสื่อสารประเภทเสียง
96 246.1875 การสื่อสารประเภทเสียง 136 246.6875 การสื่อสารประเภทเสียง
97 246.2000 การสื่อสารประเภทเสียง 137 246.7000 การสื่อสารประเภทเสียง
98 246.2125 การสื่อสารประเภทเสียง 138 246.7125 การสื่อสารประเภทเสียง
99 246.2250 การสื่อสารประเภทเสียง 139 246.7250 การสื่อสารประเภทเสียง
100 246.2375 การสื่อสารประเภทเสียง 140 246.7375 การสื่อสารประเภทเสียง
101 246.2500 การสื่อสารประเภทเสียง 141 246.7500 การสื่อสารประเภทเสียง
102 246.2625 การสื่อสารประเภทเสียง 142 246.7625 การสื่อสารประเภทเสียง
103 246.2750 การสื่อสารประเภทเสียง 143 246.7750 การสื่อสารประเภทเสียง
104 246.2875 การสื่อสารประเภทเสียง 144 246.7875 การสื่อสารประเภทเสียง
105 246.3000 การสื่อสารประเภทเสียง 145 246.8000 การสื่อสารประเภทเสียง
106 246.3125 การสื่อสารประเภทเสียง 146 246.8125 การสื่อสารประเภทเสียง
107 246.3250 การสื่อสารประเภทเสียง 147 246.8250 การสื่อสารประเภทเสียง
108 246.3375 การสื่อสารประเภทเสียง 148 246.8375 การสื่อสารประเภทเสียง
109 246.3500 การสื่อสารประเภทเสียง 149 246.8500 การสื่อสารประเภทเสียง
110 246.3625 การสื่อสารประเภทเสียง 150 246.8625 การสื่อสารประเภทเสียง
111 246.3750 การสื่อสารประเภทเสียง 151 246.8750 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับปฏิบัติงานร่วมกัน
ของหน่วยงานรัฐ
และหน่วยงานรัฐกับประชาชน
ในการสนับสนุนหน่วยงานรัฐ
112 246.3875 การสื่อสารประเภทเสียง 152 246.8875
113 246.4000 การสื่อสารประเภทเสียง 153 246.9000
114 246.4125 การสื่อสารประเภทเสียง 154 246.9125
115 246.4250 การสื่อสารประเภทเสียง 155 246.9250
116 246.4375 การสื่อสารประเภทเสียง 156 246.9375 การสื่อสารประเภทเสียง
สำหรับประสานงานระหว่าง
องค์กรสาธารณกุศล
สำหรับช่วยเหลือและ
รับแจ้งเหตุจากประชาชน
117 246.4500 การสื่อสารประเภทเสียง 157 246.9500
118 246.4625 การสื่อสารประเภทเสียง 158 246.9625
119 246.4750 การสื่อสารประเภทเสียง 159 246.9750
120 246.4875 การสื่อสารประเภทเสียง 160 246.9875

ความถี่ใช้งานของไทยกับสากล

แก้
 
เครื่องวิทยุ เป่าเฟิง (BAOFENG) มักถูกเข้าใจว่าเป็นเครื่อง CB ที่ใช้งานได้ถูกต้อง ซึ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย

เนื่องจากความถี่สำหรับวิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนในประเทศไทยนั้นไม่ตรงตามการใช้งานของสากล ทำให้เครื่องที่มีจำหน่ายในต่างประเทศและบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซออนไลน์อย่างช้อปปี้และลาซาด้า[11]ที่ผู้ขายเป็นชาวต่างชาติในต่างประเทศ หรือคนไทยที่ไม่ได้นำเข้าอย่างถูกกฎหมาย[12][13] มักจะเป็นเครื่องวิทยุที่ผิดกฎหมาย เนื่องจากใช้งานคลื่นความถี่ภาคประชาชนตามแผนความถี่วิทยุของประเทศผู้ผลิตหรือตามการใช้งานส่วนใหญ่ในสากล ซึ่งในประเทศไทยถูกสงวนไว้เป็นความถี่ใช้งานเฉพาะในกิจการอื่น ๆ ทำให้เกิดการรบกวนข่ายการสื่อสารอื่น ๆ รวมถึงอาจเกิดการแพร่กระจายสัญญาณแปลกปลอมเนื่องจากไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก กสทช.

การใช้งานที่เป็นที่นิยมแต่ผิดกฎหมายในประเทศไทย[14]คือย่าน UHF ความถี่ 400-470 MHz[15][16][17] ซึ่งผู้ใช้งานมักจะไม่ทราบถึงความผิดของเครื่องวิทยุและความถี่ที่ใช้งาน[15] เนื่องจากถูกกล่าวอ้างว่าเป็นวิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชนที่สามารถใช้งานได้[18] หรือเข้าใจว่าสามารถใช้งานได้โดยไม่มีความผิด[14]

หากประชาชนหรือกิจการซื้อมาใช้งาน จะทำให้มีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6, มาตรา 11 วรรคสอง[16] และ มาตรา 23 ระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ[17]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ติงต๊อง, โต. "VLOG EP21: 5 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับวิทยุเครื่องแดงความถี่ประชาชน CB245MHz". โปรดักชั่นไทย (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง การอนุญาตให้ประชาชนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ย่านความถี่วิทยุสูงมาก 245 MHz". dl.parliament.go.th. 2542-04-01.
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลข เรื่อง การอนุญาตให้ประชาชนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ย่านความถี่วิทยุสูงมาก 78 MHz". dl.parliament.go.th. 2542-04-01.
  4. "ฝากรูปICOM.40ช่องให้เพื่อนสมาชิกที่กรุงเทพชมครับ". www.hamsiam.com.
  5. "ประกาศกรมไปรณีย์โทรเลข เรื่อง การอนุญาตให้ประชาชนใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมย่านความถี่วิทยุสูงมาก 78 MHz (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543". dl.parliament.go.th. 2543-09-21.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมย่านความถี่ 78 และ 245 เมกะเฮิรตซ์ (MHz). เล่ม 128 ตอนพิเศษ 55 ง, 18 พฤษภาคม 2554
  7. 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์อนุญาตและกำกับดูแลการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมคลื่นความถี่ภาคประชาชน (Citizen Band: CB). เล่ม 135 ตอนพิเศษ 41 ง, 23 กุมภาพันธ์ 2561. หน้า 38-41
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "วิทยุสื่อสาร-เอกสารขออนุญาตวิทยุสื่อสาร กฎหมายการใช้วิทยุสื่อสาร ความหมายวิทยุสื่อสาร". www.specialinter.com.
  9. 9.0 9.1 richwaveadmin (2022-12-28). "ประชาชนทั่วไปห้ามใช้ วิทยุสื่อสารย่านดำ แล้วใช้วิทยุอะไรได้บ้าง - RICHWAVE". richwave.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Distribution, New Wave (2023-02-07). "ขอใบอนุญาตวิทยุสื่อสาร สำหรับใช้งาน ทำอย่างไร ใช้อะไรบ้าง". nwd.co.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. "วิทยุสื่อสารสองทาง Baofeng 8W 5R Uv วิทยุ Ham CB แบบพกพา Uv-5R 2ชิ้นวิทยุคลื่นความถี่คู่ VHF/ตัวรับส่งสัญญาณ UHF FM". www.lazada.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "ตำรวจไซเบอร์ กสทช. และสรรพสามิต ลุยทลายโกดังวิทยุสื่อสารเถื่อนกลางกรุง". เนชั่นทีวี. 2023-05-20.
  13. Jaruphan, Jirawat. "กสทช.ประสานตร.จับวิทยุเถื่อนของกลาง 15 ล้าน". เดลินิวส์.
  14. 14.0 14.1 "Baofeng C50 สื่อสารกันได้ชัวร์ทุกเครื่อง ด้วย USB CABLE". news.trueid.net.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "NBTC - สำนักงาน กสทช. เขต 33 (พิษณุโลก)". phitsanulok.nbtc.go.th.
  16. 16.0 16.1 "กสทช. ภาค 4 สนธิกำลังตำรวจบุกจับ วอ เถื่อน พื้นที่ อ.ท่าศาลา – ชมรมนักวิทยุสมัครเล่นและอาสาบรรเทาภัย". hamclub.wu.ac.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 "กสทช.สนธิกำลัง บุกจับร้านขายอะไหล่ จยย. ยึดวิทยุโทรคมนาคมเถื่อน 7 เครื่อง". www.banmuang.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Baofeng UV-81C 5 WATT (HIGH POWER) UHF CB Walkie Talkie - 80 Channels". Techoman Electronics Ltd (ภาษาอังกฤษ).