วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันอุดมศึกษาสำหรับผู้พิการ ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วิทยาลัยราชสุดา
มหาวิทยาลัยมหิดล
Ratchasuda College, Mahidol University
ชื่อย่อRS
สถาปนา28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 วันที่ก่อตั้ง
25 มีนาคม พ.ศ. 2536 สถาปนา [1]
คณบดีผศ. ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการ
ที่อยู่
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
111 หมู่ 6 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
วารสารวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
สี    สีชมพู - สีม่วง
เว็บไซต์rs.mahidol.ac.th

ประวัติ แก้

 
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปี พ.ศ. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแนวพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการพัฒนาศักยภาพความพร้อมทางการศึกษาโอกาสในด้านการประกอบอาชีพตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนพิการ

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิราชสุดาขึ้น โดยได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้สร้อยพระนามาภิไธย "ราชสุดา" เป็นมงคลนามพระราชทาน ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา อันเป็นมงคลนามสำหรับชื่อวิทยาลัยและมูลนิธิวิทยาลัยราชสุดา จึงถือเอาวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เป็นฤกษ์กำเนิดของวิทยาลัย

ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา และในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง วิทยาลัยราชสุดา

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536 มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล [2]

1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ยุบวิทยาลัยราชสุดา [3] และจัดตั้ง "สถาบันราชสุดา” (Ratchasuda Institute) สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา

ทำเนียบคณบดี แก้

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล 26 กันยายน พ.ศ. 2536 - 25 กันยายน พ.ศ. 2540
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง บุญญานันต์ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
3. ดร. จิตประภา ศรีอ่อน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
4. ดร.สุมาลี ดีจงกิจ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพา ขจรธรรม 24 เมษายน พ.ศ. 2551 - 23 เมษายน พ.ศ. 2555
6. รองศาสตราจารย์ ดร. ทวี เชื้อสุวรรณทวี 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 [4]
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพา ขจรธรรม 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 31 กันยายน พ.ศ. 2560 [5]
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รักษาการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
9. รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10. แพทย์หญิง วัชรา รั้วไพบูลย์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา (หลักสูตร 4 ปี)

ระดับปริญญาโท แก้

  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ระดับปริญญาเอก แก้

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (หลักสูตรภาคพิเศษ)


ที่ตั้ง แก้

วิทยาลัยราชสุดา ตั้งอยู่ในเขตที่ดินมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายามีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ บนถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ปัจจุบัน วิทยาลัยราชสุดาได้เปิดดำเนินการ ปฏิบัติงาน และจัดการเรียนการสอน 5 หลัง เปิดดำเนินการใช้แล้ว 4 หลัง ในอาคารอำนวยการและอาคารหอพัก 3 หลัง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°47′14″N 100°19′30″E / 13.787330°N 100.324958°E / 13.787330; 100.324958

  1. ราชกิจจานุเบกษา,จัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
  2. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
  3. ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การยุบเลิกส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2566, [1]
  4. คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 23/2555, เรื่องแต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยราชสุดา[ลิงก์เสีย], 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  5. คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 12/2559, เรื่องแต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยราชสุดา[ลิงก์เสีย], 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559