วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

(เปลี่ยนทางจาก วิทยาลัยราชสุดา)

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันอุดมศึกษาสำหรับผู้พิการ ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วิทยาลัยราชสุดา
มหาวิทยาลัยมหิดล
Ratchasuda College, Mahidol University
ชื่อย่อRS
สถาปนา28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 วันที่ก่อตั้ง
25 มีนาคม พ.ศ. 2536 สถาปนา [1]
คณบดีผศ. ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการ
ที่อยู่
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
111 หมู่ 6 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
วารสารวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ
สี    สีชมพู - สีม่วง
เว็บไซต์rs.mahidol.ac.th

ประวัติ แก้

 
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

ในปี พ.ศ. 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแนวพระราชดำริแก่มหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในการพัฒนาศักยภาพความพร้อมทางการศึกษาโอกาสในด้านการประกอบอาชีพตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนพิการ

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งมูลนิธิราชสุดาขึ้น โดยได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้สร้อยพระนามาภิไธย "ราชสุดา" เป็นมงคลนามพระราชทาน ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา อันเป็นมงคลนามสำหรับชื่อวิทยาลัยและมูลนิธิวิทยาลัยราชสุดา จึงถือเอาวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 เป็นฤกษ์กำเนิดของวิทยาลัย

ต่อมาวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2535 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา และในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง วิทยาลัยราชสุดา

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2536 มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล [2]

1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ยุบวิทยาลัยราชสุดา [3] และจัดตั้ง "สถาบันราชสุดา” (Ratchasuda Institute) สังกัดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยมีฐานะเทียบเท่าภาควิชา

ทำเนียบคณบดี แก้

วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.พูนพิศ อมาตยกุล 26 กันยายน พ.ศ. 2536 - 25 กันยายน พ.ศ. 2540
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง บุญญานันต์ 26 กันยายน พ.ศ. 2540 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
3. ดร. จิตประภา ศรีอ่อน 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
4. ดร.สุมาลี ดีจงกิจ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพา ขจรธรรม 24 เมษายน พ.ศ. 2551 - 23 เมษายน พ.ศ. 2555
6. รองศาสตราจารย์ ดร. ทวี เชื้อสุวรรณทวี 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 [4]
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพา ขจรธรรม 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 - 31 กันยายน พ.ศ. 2560 [5]
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รักษาการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
9. รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
10. แพทย์หญิง วัชรา รั้วไพบูลย์ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รักษาการ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี แก้

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา (หลักสูตร 4 ปี)

ระดับปริญญาโท แก้

  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ (หลักสูตรภาคพิเศษ)

ระดับปริญญาเอก แก้

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (หลักสูตรภาคพิเศษ)


ที่ตั้ง แก้

วิทยาลัยราชสุดา ตั้งอยู่ในเขตที่ดินมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายามีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ บนถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ปัจจุบัน วิทยาลัยราชสุดาได้เปิดดำเนินการ ปฏิบัติงาน และจัดการเรียนการสอน 5 หลัง เปิดดำเนินการใช้แล้ว 4 หลัง ในอาคารอำนวยการและอาคารหอพัก 3 หลัง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°47′14″N 100°19′30″E / 13.787330°N 100.324958°E / 13.787330; 100.324958

  1. ราชกิจจานุเบกษา,จัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
  2. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจัดตั้งวิทยาลัยราชสุดา 25 มีนาคม พ.ศ. 2536
  3. ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การยุบเลิกส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2566, [1]
  4. คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 23/2555, เรื่องแต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยราชสุดา[ลิงก์เสีย], 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  5. คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 12/2559, เรื่องแต่งตั้งคณบดีวิทยาลัยราชสุดา[ลิงก์เสีย], 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559