วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้

วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ (อังกฤษ : Tinsuranonda Fisheries College ) เป็นวิทยาลัยด้านการประมง สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์
ชื่อย่อวป.ตน. / TFC
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
ที่ตั้ง
เลขที่ 57/7 หมู่ที่ 2 บ้านพะวง
ตำบลพะวง อำเภอเมืองสงขลา
จังหวัดสงขลา 90100
เว็บไซต์www.tfc.ac.th

ประวัติ

แก้

 วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ แรกเริ่มก่อตั้งโดยมีดำริของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) จัดตั้งสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพการประมงขึ้นโดยมีหน่วยงานร่วมพิจารณาดำเนินการ ได้แก่ กรมประมง สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2523 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง “วิทยาลัยประมงสงขลา” ให้สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ในขณะนั้น) นับเป็นประมงแห่งแรกของประเทศไทย และในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2527 วิทยาลัยฯ ได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรก เพื่อเปิดทำการเรียนการสอน และได้ใช้สถานที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนชั่วคราว ต่อมากระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อจาก “วิทยาลัยประมงสงขลา” เป็น“วิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารอำนวยการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2528

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อจากเดิม “วิทยาลัยประมงสงขลาติณสูลานนท์” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์” จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ ฯพณฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ[1]

จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 วิทยาลัยฯ ถูกควบรวมตามประกาศกฎกระทรวงเรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" จึงมีผลทำให้วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ รวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของในสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้ เพื่อทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เปิดสอน

แก้

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ[2]

แก้

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

หลักสูตรประกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง

แก้

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาการควบคุมเรือประมง
  • สาขาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

แก้
  1. เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)[3]

รับนักศึกษาจบปวส. เกษตรศาสตร์ หรือ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-17.
  3. http://ivec.vec.go.th/.pdf[ลิงก์เสีย]/ประกาศกฎกระทวง