สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

ฟ้องหมิ่นชาววิกิพีเดีย แนวคิดประวัติหน้า และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Horus 2 มกราคม 2554, เรื่องในข่าว

นายกเทศมนตรีโสมขาวฟ้องชาววิกิพีเดียฐานหมิ่นประมาท

ตามการรายงานของผู้ใช้ PuzzletChung ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้งจากวิกิพีเดียภาษาเกาหลี นายกเทศมนตรีเมืองอินชอน เมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในเกาหลีใต้ ได้ฟ้องร้องชาววิกิพีเดียภาษาเกาหลีจำนวนสี่คนฐานหมิ่นประมาท

PuzzletChung เขียนว่า:

ตามข้อมูลของผู้ร่วมแก้ไข การฟ้องร้องคดีอาญาดังกล่าวเกิดขึ้นกับการร้องขอส่วนตัว [ของนายกเทศมนตรีซอง ยัง-กิล] และเป็นเรื่องราวจากการเผยแพร่เหตุการณ์เพศสัมพันธ์อื้อฉาวโดยไม่เป็นความจริงในบทความชีวประวัติของเขา ซึ่งขณะนี้ได้ทำการ[กึ่ง]ล็อกหน้านั้นแล้ว ข้อความที่เป็นปัญหานั้นเกิดจากการสรุปรายงานข่าวหลายแขนงเกี่ยวกับการคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลับกลายเป็นเรื่องหลอกลวง ผู้ใช้ไม่ได้ล็อกอินหลายหมายเลขไอพีได้พยายามจะย้ายส่วนที่มีการโต้เถียงนั้นออก ไม่รวมเฉพาะแต่ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์อื้อฉาวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการโต้แย้งอื่น ๆ เกี่ยวกับตัวเขาด้วย ก่อนจะแทนที่ข้อความนั้นด้วยการให้ความเห็นส่วนบุคคลที่ขัดแย้งและการขู่ว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมาย การแก้ไขดังกล่าวในเวลาต่อมาได้ถูกย้อนกลับโดยผู้ใช้บางคนและ "ย้อนกลับ" โดยผู้ดูแลระบบหนึ่งคน ผู้ดูแลระบบคนดังกล่าว ผู้ใช้ Kys951 ยังได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนเพียงเพราะว่าเขาเป็นผู้ดูแลระบบเท่านั้น

ในระบบกฎหมายเกาหลีใต้ ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทมีลักษณะเป็น "อาชญากรรมบนความยุ่งยาก" (친고죄/親告罪) บางส่วน ซึ่งต่อมานอกประเด็นมาเป็นความผิดอาญาเมื่อผู้ร้องทุกข์เลือกที่จะถอนฟ้อง ตำรวจอินชอนตะวันออกเฉียงใต้คิดว่าคดีดังกล่าวไม่ค่อยสลักสำคัญอะไรนักที่จะเป็นคดีอาญาและพยายามเกลี้ยกล่อมให้เขาถอนฟ้อง แต่ได้รับการปฏิเสธ

มีการรายงานว่า ซอง ต้องการให้ผู้ดูแลระบบนำย่อหน้าดังกล่าวออกเพื่อแลกกับการแก้ไขคดี ซึ่งไม่ใช้วิธีที่วิกิพีเดียดำเนินการ

PuzzletChung ยังได้เตือนอีกว่า "ทุกประเด็นเล็กน้อยของการมีส่วนร่วมในโครงการ" อาจก่อให้เกิดเป็นการฟ้องร้องคดีได้ โดยชี้ให้เห็นถึงความพยายามตรวจพิจารณาล่าสุดของรัฐบาลเกาหลีใต้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตึงเครียดกับเกาหลีเหนือ กฎหมายจำกัดอินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้ ที่ซึ่งมูลนิธิวิกิพีเดียเคยตั้งเซิร์ฟเวอร์คลัสเตอร์ที่ได้รับการบริจาคโดยยาฮู! ได้เคยเป็นประเด็นที่เคยมีความกังวลอยู่ในอดีต The Signpost

สัมภาษณ์จิมโบเรื่อง "การออกแบบประชาคม" และแนวคิดประวัติหน้า

ในหนังสือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชื่อเรื่อง "Designing Media" โดยบิล ม็อกกริดจ์ มีบทสัมภาษณ์ของ "บุคคลสามสิบเจ็ดคนผุ้ซึ่งได้มีส่วนพัฒนาสร้างสรรค์อย่างสำคัญให้กับการออกแบบและพัฒนาสื่อ" ซึ่งในกลุ่มบุคคลที่ว่านี้ก็มีจิมมี เวลส์รวมอยู่ด้วย ดังที่ได้สรุปในบทความของหนังสือพิมพ์การ์เดียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (19-25 ธ.ค.) ความว่า "ตามจริงแล้ว เวลส์อธิบายสิ่งที่เขาทำอยู่ว่า 'การออกแบบประชาคม' ... วิกิพีเดียไม่ใช้เพียงผลงานที่สับสนที่ให้บุคคลหรือธุรกิจหันเข้ามาช่วยเหลือสาธารณชน: มันเป็นระบบนิเวศที่ได้รับการออกแบบมาอย่างระมัดระวัง ... มักจะมีการเปรียบเทียบเสมอว่าเป็น 'ประชาธิปไตย' แต่ส่วนตัวเวลส์แล้วคิดว่ามันมีลักษณะเหมือนกับราชาธิปไตยมากกว่า โดยมีนักเขียนได้รับการตรวจสอบจากผู้เป็นสื่อกลาง ผู้ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยพระราชาในเวลาเดียวกัน หรือก็คือ ราชาจิมโบ อย่างที่เขาเข้าใจ" เวลส์ยังได้พูดคุยเกี่ยวกับวิธีการที่เขานำระบบเก็บประวัติหน้าอย่างถาวรเข้าสู่วิกิของวิกิพีเดีย: "ในช่วงแรก ๆ เมื่อผมเพิ่งก่อตั้งวิกิพีเดียขึ้นใหม่ ๆ ผมคิดอย่างจริงจังว่าเรากำลังจะต้องล็อกทุกสิ่งทุกอย่างลงอย่างรวดเร็วมาก" แต่เมื่อหลังจากที่ได้เห็นว่าการแก้ไขส่วนใหญ่เป็นไปในทางที่ดี

ผมจึงได้เปลี่ยนซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็วเพื่อให้เก็บรุ่นเก่าทั้งหมดไว้ เพราะผมตระหนักว่านี่เป็นการกำจัดจุดอ่อนที่สำคัญ เมื่อซอฟต์แวร์ก่อตั้งครั้งแรก ผมคิดว่ามันสามารถเก็บรุ่นเก่าได้ห้ารุ่น ดังนั้นในบางครั้ง เมื่อมีคนถามว่า 'บทความแรกในวิกิพีเดียคืออะไร' ก็จะไม่มีใครทราบในช่วงหลายสัปดาห์แรกโดยประมาณ ดังนั้นเราจึงเก็บเพียงรุ่นเก่าที่สุดห้ารุ่นเท่านั้น ดังนั้น ประวัติที่เก่าที่สุดจึงหายไป ผมรู้ว่าคำแรกสุดคืออะไร ผมได้พิมพ์ลงไปว่า "สวัสดีชาวโลก" (Hello World) ซึ่งเป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์รุ่นเก่ามักจะทำกัน"

การสัมภาษณ์ดังกล่าวมีขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะมีการค้นพบรุ่นแรก ๆ ของวิกิพีเดียเมื่อเร็ว ๆ นี้ รุ่นพีดีเอฟของหนังสือ เช่นเดียวกับไฟล์วิดีโอของการสัมภาษณ์ สามารถหาแบบดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย The Signpost

ข่าวสั้น

  • เปิดตัววิกิพีเดียเวอร์ชั่นคิวบา: ประเทศคิวบาเปิดตัววิกิพีเดียของตนเองเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (20 ธ.ค.) มีบทความแตะระดับ 20,000 บทความแล้ว ตามข้อมูลของ เดอะการ์เดียน เว็บไซต์ดังกล่าว EcuRed ได้รับการพัฒนาโดยชมรมเยาวชนเขียนโปรแกรมและอิเล็กทรอนิกส์ และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่ได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลระบบสามารถเข้าไปแก้ไขบทความในนั้นได้ เดอะการ์เดียนตั้งข้อสังเกตว่าบางบทความ อย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา-คิวบา มีอคติต่อต้านอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีหลายบทความที่เกี่ยวกับอดีตผู้นำคิวบา ฟิเดล คาสโตร ผู้ซึ่งปัจจุบันได้ส่งมอบอำนาจให้แก่ราอูล คาสโตร ใน พ.ศ. 2549 The Signpost
  • ชาววิกิพีเดียขอบริจาคอภิมหาเศรษฐี: บล็อกโพสต์ ฟอบส์.คอม ในเดือนธันวาคม ชื่อว่า "Wikipedia Fans Use Facebook And Twitter To Ask Billionaire Eike Batista For Help" รายงานว่าชาววิกิพีเดียสี่คนได้เริ่มการรณรงค์ทางเครือข่ายสังคม (หน้าเว็บไซต์รณรงค์) โดยกระตุ้นให้อภิมหาเศรษฐี ไอค์ บาติสตา หนึ่งในสิบผู้ที่มีทรัพย์สินมากที่สุดในโลก ให้บริจาคแก่วิกิพีเดีย ตามข้อมูลของบล็อกโพสต์ "การรณรงค์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อระดับชาติ แต่การตอบรับจากภาคสังคมไม่ค่อยกระตือรือร้นมากนัก" The Signpost
  • บทความคัดสรรมีผู้อ่านเยอะกว่าหรือเปล่า: รายนงานโดยนักวิจัยชาวสเปนสี่คนได้รับการประกาศผลเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยพิจารณาบทความที่ได้รับสถานะบทความคัดสรรในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ในวิกิพีเดียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหกแห่ง และตรวจสอบจำนวนการเข้าดูหน้า (ตามข้อมูลปูมจากเซิร์ฟเวอร์สควิดของมูลนิธิวิกิมีเดีย) ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ตามการแถลงผลการวิจัย "ผลแสดงให้เห็นว่าระบบบทความคัดสรรนั้นเพิ่มแต่การเข้าชมบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเท่านั้น ในขณะที่วิกิพีเดียขนาดใหญ่ภาษาอื่น ๆ ระดับการเข้าชมยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากบทความได้รับสถานะบทความคัดสรรแล้ว" โดยยกเว้นวิกิพีเดียภาษาโปแลนด์ ที่ซึ่งจำนวนผู้อ่านเพิ่มขึ้นในเดือนหลังจากที่ได้รับสถานะแล้ว ในขณะที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ จำนวนผู้เข้าชมกลับลดลงเหลือเท่ากับระดับในเดือนกันยายนเช่นเดิม The Signpost
  • นำป้ายระดมทุนไว้ล่างบทความ: ในบล็อกโพสต์ ที่ปรึกษาประสบการณ์ผู้ใช้ เดอเบร บาร์เรตต์ กล่าวว่า ป้ายระดมทุนของวิกิพีเดียอยู่ใน "ที่ที่ผิด" บนหน้าของวิกิพีเดีย โดยให้เหตุผลว่า "ผู้ใช้เว็บเป็นพวกมีเป้าหมาย" เมื่อพวกเขาเข้ามาในวิกิพีเดีย ดังนั้นจึงค่อนข้างละเลยต่อป้ายดังกล่าวจนกระทั่งพวกเขาพบข้อมูลที่พวกเขาต้องการหา แต่ "ที่ล่างสุดของหน้า เมื่อผู้ใช้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เข้ามาใช้แล้ว และกำลังมองหาสิ่งต่อไปที่จะทำ" พวกเขาอาจจะอยู่ใน "ช่วงเวลาล่อใจ" นั่นคือ พร้อมจะรับการปรากฏการขอรับบริจาคได้ (ตัวอย่างเช่น "คุณพบว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์ไหม") The Signpost
  • การศึกษาผู้ใช้ฝรั่งเศส: ในบล็อกโพสต์ชื่อเรื่องว่า Google: more and more Wikipedia, but surfers seem weary นักวิจัย ณ็อง เวโรนิส อธิบายผลการวิจัยสำรวจที่กำลังดำเนินอยู่ประจำครึ่งปีในหมู่นักเรียนนักศึกษาชาวฝรั่งเศส เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยนักเรียนนักศึกษาจะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดการการสืบค้นข้อมูลในกูเกิล (ทั้งหมด 5,876) และตัดสินคุณภาพของผลการค้นหาสูงสุด ผลปรากฏว่าบ่อยครั้งที่วิกิพีเดียอยู่เป็นลิงก์บนสุด และอัตราดังกล่าวได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ผู้ใช้ก็เริ่มมีความพึงพอใจลดลงกับคุณภาพของลิงก์เหล่านี้ The Signpost
หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ