วิกฤตการณ์คลองสุเอซ
วิกฤตการณ์สุเอซ (อังกฤษ: The Suez Crisis) หรือสงครามอิสราเอล-อาหรับครั้งที่สอง[14][15][16] ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า การบุกครองไตรภาคี ในโลกอาหรับ และปฏิบัติการคาเดช หรือ สงครามไซนายในอิสราเอล[17] เป็นการบุกครองอียิปต์ในปลายปี ค.ศ. 1956 โดยอิสราเอล, ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายคือการควบคุมทางด้านตะวันตกของคลองสุเอซ และเพื่อถอดถอนประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร ที่ได้ถือสิทธิ์ว่าคลองนั้นให้กลายเป็นของรัฐ[18] ภายหลังการสู้รบเริ่มต้นขึ้น ภาวะแรงกดดันทางการเมืองจากสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหประชาชาติจนนำไปสู่การถอนกำลังโดยประเทศทั้งสามผู้รุกราน นับว่าเป็นความอับอายขายหน้าอย่างมากสำหรับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส และเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของนาศิร[19][20][21]
วิกฤตการณ์สุเอซ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็นและ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล | |||||||
อาวุธยุโธปกรณ์ของอียิปต์ได้รับความเสียหาย | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
300,000[6] | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
Israel: United Kingdom:
|
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม อิสราเอลได้บุกรุกคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ อังกฤษและฝรั่งเศสได้ออกคำสั่งในการร่วมกันเพื่อยุติการยิง ซึ่งได้ถูกเมินเฉย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน อังกฤษและฝรั่งเศสได้ส่งทหารโดดร่มลงพื้นตามคลองสุเอซ กองทัพอียิปต์ต้องประสบความปราชัย แต่พวกเขาได้ปิดกั้นคลองขวางการขนส่งทางเรือเอาไว้ทั้งหมด ต่อได้กลายเป็นที่แน่ชัดว่าการบุกครองของอิสราเอลและการโจมตีที่ตามมาทีหลังของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ถูกวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าโดยทั้งสามประเทศ
ฝ่ายพันธมิตรทั้งสามประเทศต่างได้บรรลุเป้าหมายทางทหารจำนวนมากแต่คลองกลับใช้การไม่ได้ แรงกดดันทางการเมืองอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้นำไปสู่การถอนกำลัง ประธานาธิบดีสหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ได้ตักเตือนอย่างยิ่งว่าอังกฤษไม่ควรจะเข้าไปบุกรุก; เขาได้ข่มขู่ว่าจะสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อระบบการเงินของอังกฤษโดยการขายพันธบัตรเงินปอนด์สเตอร์ลิงของรัฐบาลสหรัฐ นักประวัติศาตร์ได้สรุปวิกฤตการณ์ครั้งนี้ว่า"ได้บ่งบอกถึงการสิ้นสุดบทบาทของบริเตนใหญ่ในฐานะหนึ่งในมหาอำนาจที่สำคัญของโลก"[22][23] คลองสุเอซได้ถูกปิดตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1956 จนกระทั่งเดือนมีนาคม ค.ศ. 1957 อิสราเอลได้บรรลุเป้าหมายบางประการ เช่น ได้ให้อิสระในการเดินเรือผ่านช่องแคบติราน ซึ่งอียิปต์ได้ปิดกั้นการเดินเรือบนคาบสมุทรไซนายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950[24]
ด้วยผลลัพธ์ของความขัดแย้งครั้งนี้ สหประชาชาติได้ก่อตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (UNEF) เพื่อเป็นตำรวจบนชายแดนระหว่างอียิปต์-อิสราเอล นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แอนโทนี อีเดนได้ประกาศลาออก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายนอกของแคนาดา เลสเตอร์ เพียร์สัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและสหภาพโซเวียตได้มีความฮึกเหิมในการบุกครองฮังการี[25][26]
อ้างอิง
แก้- ↑ Mart, Michelle. Eye on Israel: How America Came to View the Jewish State as an Ally. p. 159. ISBN 0791466876.
- ↑ Kunz, Diane B. The Economic Diplomacy of the Suez Crisis. p. 187. ISBN 0-8078-1967-0.
- ↑ Brown, Derek (14 March 2001). "1956: Suez and the end of empire". The Guardian. London.
- ↑ Reynolds, Paul (24 July 2006). "Suez: End of empire". BBC News.
- ↑ History's worst decisions and the people who made them, pp. 167–172
- ↑ Casualties in Arab–Israeli Wars, Jewish Virtual Library
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อjsource
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อDupuy 1343
- ↑ 9.0 9.1 Varble, Derek The Suez Crisis 1956, Osprey: London 2003, p. 90
- ↑ "Britain France Israel Egypt War 1956". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-04.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSchiff 1974, p. 70
- ↑ A History of the Israeli Army: 1870 - 1974 - Zeev Schiff - كتب Google
- ↑ Israel – The Suez War of 1956: U.S. newsreel footage. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 0:30–0:40.
- ↑ Ross, Stewart (2004). Causes and Consequences of the Arab–Israeli Conflict. Evans Brothers. pp. 76–. ISBN 978-0-237-52585-9.
- ↑ Isacoff, Jonathan B. (2006). Writing the Arab–Israeli Conflict: Pragmatism and Historical Inquiry. Lexington Books. pp. 79–. ISBN 978-0-7391-1273-1.
- ↑ Caplan, Neil (1983). Futile Diplomacy: Operation Alpha and the Failure of Anglo-American Coercive Diplomacy in the Arab–Israeli Conflict, 1954–1956. Psychology Press. pp. 15–. ISBN 978-0-7146-4757-9.
- ↑ Also named: Suez Canal Crisis, Suez War, Suez–Sinai war, Suez Campaign, Sinai Campaign, Operation Musketeer"Port Said Remembers 'Tripartite Aggression' of 1956'". Daily News Egypt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2011. (อาหรับ: أزمة السويس / العدوان الثلاثي Azmat al-Suways / al-ʻUdwān al-Thulāthī , "Suez Crisis"/ "the Tripartite Aggression"; ฝรั่งเศส: Crise du canal de Suez; ฮีบรู: מבצע קדש Mivtza' Kadesh "Operation Kadesh", or מלחמת סיני Milẖemet Sinai, "Sinai War")
- ↑ Mayer, Michael S. (2010). The Eisenhower Years. Infobase Publishing. p. 44. ISBN 9780816053872.
- ↑ Abernathy, David (2000). The Dynamics of Global Dominance: European Overseas Empires, 1415–1980. Yale University Press. p. CXXXIX. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
- ↑ Roger Owen "Suez Crisis" The Oxford Companion to the Politics of the World, Second edition. Joel Krieger, ed. Oxford University Press Inc. 2001.
- ↑ "An affair to remember". The Economist. 27 June 2006. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
- ↑ Sylvia Ellis (2009). Historical Dictionary of Anglo-American Relations. Scarecrow Press. p. 212. ISBN 9780810862975.
- ↑ Peden, G. C. (December 2012), "Suez and Britain's Decline as a World Power", The Historical Journal, 55 (4): 1073–1096, doi:10.1017/S0018246X12000246
- ↑ Major Jean-Marc Pierre (15 August 2014). 1956 Suez Crisis And The United Nations. Tannenberg Publishing. ISBN 978-1-78289-608-1.
Still in 1950 Egypt blocked the Straits of Tiran barring Israel from the waterway ( Longgood 1958, xii-xiii).
- ↑ Mastny, Vojtech (March 2002). "NATO in the Beholder's Eye: Soviet Perceptions and Policies, 1949–56" (PDF). Cold War International History Project. Woodrow Wilson International Center for Scholars. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-02. สืบค้นเมื่อ April 30, 2018.
- ↑ Christopher, Adam (2010). The 1956 Hungarian Revolution: Hungarian and Canadian Perspectives. University of Ottawa Press. p. 37. ISBN 9780776607054.