วิกฤตการณ์คองโก

วิกฤตการณ์คองโก (ฝรั่งเศส: Crise congolaise) เป็นช่วงความขัดแย้งและผันผวนทางการเมืองในสาธารณรัฐคองโก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในปัจจุบัน) ระหว่างค.ศ. 1960–1965 วิกฤตการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบทันทีหลังคองโกได้รับเอกราชจากเบลเยียม และสิ้นสุดลงอย่างไม่เป็นทางการเมื่อโมบูตู เซเซ เซโกขึ้นปกครองประเทศ วิกฤตการณ์คองโกเป็นชุดสงครามกลางเมืองและเป็นสงครามตัวแทนในสงครามเย็น ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐเข้าสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามกัน เชื่อว่ามีประชาชนราว 100,000 คนถูกฆ่าในวิกฤตการณ์นี้

วิกฤตการณ์คองโก
ส่วนหนึ่งของ การให้เอกราชในแอฟริกาและสงครามเย็น

ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน:
  • ค่ายผู้ลี้ภัยนอกเมืองเอลีซาแบ็ตวีล
  • กำลังรักษาสันติภาพดูแลเพื่อนที่บาดเจ็บ
  • ชาวลูบาที่ติดอาวุธ
  • ประชาชนที่ถูกสังหารหมู่ในลอดยา
  • พลร่มเบลเยียมระหว่างปฏิบัติการ ดรากอนรูจ
  • ฝ่ายรัฐบาลปะทะกับกบฏซิมบา
วันที่5 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 – 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965
สถานที่
ผล สถาปนาคองโกเป็นรัฐเดี่ยวเอกราชภายใต้ระบอบเผด็จการโดยพฤตินัยโดยโมบูตู เซเซ เซโก
คู่สงคราม
สนับสนุน:
 สหภาพโซเวียต (1960)
สหประชาชาติ ONUC[a]

1960–63:
กาต็องกา
ซูด-กาซาย

สนับสนุน:
 เบลเยียม[b]


1960–62:
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐเสรีคองโก

สนับสนุน:
 สหภาพโซเวียต

1964–65:
[[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
 สหรัฐ
 เบลเยียม

สนับสนุน:
สหประชาชาติ ONUC (1964)

1964–65:
กบฏกวีลูและซิมบา

สนับสนุน:
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] โฌแซ็ฟ กาซา-วูบู
  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] โมบูตู เซเซ เซโก
  • [[ไฟล์:|23x15px|border |alt=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก|link=สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก]] มออีซ ชอมเบ (ตั้งแต่ 1964)


ความสูญเสีย
ถูกฆ่า: ~100,000[5]

ขบวนการชาตินิยมในเบลเจียนคองโกเรียกร้องให้ยุติการปกครองโดยเจ้าอาณานิคม นำไปสู่การได้รับเอกราชในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1960[6] อย่างไรก็ตามมีการเตรียมการเพียงเล็กน้อยหลังได้รับเอกราชและปัญหาหลายอย่าง เช่น แนวคิดสหพันธรัฐ เผ่าชนนิยม และชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ไม่ได้รับการแก้ไข[7] เพียงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม เกิดการก่อการกำเริบในกองทัพ[8] ความรุนแรงระหว่างคนขาวกับคนดำปะทุ[8] และกาต็องกาและซูด-กาซายแยกตัวโดยได้รับการสนับสนุนจากเบลเยียม[9] ท่ามกลางความไม่สงบ ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์ เลขาธิการสหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในคองโกเพื่อรักษาความสงบภายใน[10] แต่ปฏิเสธที่จะใช้กองกำลังนี้ช่วยรัฐบาลเลออปอลวีลสู้กับกลุ่มแยกตัว ปาทริส ลูมูมบา นายกรัฐมนตรีจึงขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต ซึ่งสนับสนุนที่ปรึกษาทางทหารและความช่วยเหลืออื่น ๆ[11]

การเข้ามาของสหภาพโซเวียตก่อให้เกิดความแตกแยกในรัฐบาล และนำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างลูมูมบากับประธานาธิบดีโฌแซ็ฟ กาซา-วูบู[12] ซึ่งยุติลงเมื่อโมบูตูที่คุมกองทัพก่อรัฐประหาร ขับที่ปรึกษาโซเวียตและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ใต้อำนาจตน[13] ลูมูมบาถูกจับกุมและภายหลังถูกประหารใน ค.ศ. 1961 ในช่วงเวลาเดียวกัน ผู้สนับสนุนลูมูมบาตั้งรัฐบาลคู่แข่งนาม "สาธารณรัฐเสรีคองโก" ในสตานเลวีลและได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตแต่พ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1962[14] ด้านสหประชาชาติแข็งกร้าวต่อกลุ่มแยกตัวมากขึ้นหลังฮัมมาร์เฮิลด์เสียชีวิตในเหตุเครื่องบินตกใน ค.ศ. 1961[15] ต่อมารัฐบาลเลออปอลวีลที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังสหประชาชาติเอาชนะกาต็องกาและซูด-กาซายในต้นค.ศ. 1963[16][17]

เมื่อกาต็องกาและซูด-กาซายกลับเข้ามาอยู่ใต้อำนาจรัฐบาล มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ประนีประนอมและให้มออีซ ชอมเบ ผู้นำกาต็องกาที่ลี้ภัยเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราว[18] แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งเกิดกลุ่มติดอาวุธนิยมลัทธิเหมาที่เรียกตนเองว่าซิมบาขึ้นทางตะวันออกของประเทศ ซิมบาสามารถยึดพื้นที่ได้จำนวนมากและก่อตั้ง "สาธารณรัฐประชาชนคองโก" ในสตานเลวีล[19] เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1964 ระหว่างที่ฝ่ายรัฐบาลค่อย ๆ ยึดพื้นที่คืน สหรัฐและเบลเยียมเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่ถูกซิมบาจับตัวในสตานเลวีล[20] หลังจากนั้นไม่นานซิมบาพ่ายแพ้และล่มสลาย หลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1965 เกิดความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างช็อมเบกับกาซา-วูบู ส่งผลให้โมบูตูก่อรัฐประหารอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนและขึ้นปกครองประเทศด้วยตนเอง[21] โมบูตูเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐซาอีร์ใน ค.ศ. 1971 และปกครองด้วยระบอบเผด็จการจนกระทั่งเขาถูกโค่นล้มใน ค.ศ. 1997[22]

อ้างอิง แก้

  1. Haskin 2005, pp. 24–5.
  2. Nzongola-Ntalaja 2007, p. 101.
  3. Dorn 2016, p. 32.
  4. Nugent 2004, p. 97.
  5. Mwakikagile 2014, p. 72.
  6. Zeilig 2008, p. 88.
  7. Zeilig 2008, pp. 89–91.
  8. 8.0 8.1 Gondola 2002, p. 118.
  9. Nugent 2004, p. 86.
  10. "United Nations Operation in the Congo (ONUC) (1960-1964) - UNARMS". search.archives.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-07. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  11. Zeilig 2008, p. 116.
  12. Nzongola-Ntalaja 2007, p. 108.
  13. Nzongola-Ntalaja 2007, p. 109.
  14. Gendebien 1967, p. 205.
  15. Boulden 2001, p. 36.
  16. Willame 1972, p. 68.
  17. Boulden 2001, p. 40.
  18. Gleijeses 1994, p. 74.
  19. Stapleton 2017, p. 244.
  20. Nzongola-Ntalaja 2007, p. 136.
  21. EISA 2002b.
  22. Abbott (2014), pp. 34–35.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน