วันเด็กสากล

วันสำคัญในประเทศไทย

วันเด็กเป็นวันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของเด็ก โดยแต่ละประเทศได้กำหนดวันเด็กขึ้นเป็นของตน

วันเด็ก
ดวงตราไปรษณียากรของสหภาพโซเวียตเนื่องในวันเด็กปี ค.ศ. 1958
ชื่อทางการวันเด็ก
จัดขึ้นโดยนานาชาติ (สหประชาชาติ)
วันที่20 พฤศจิกายน (วันเด็กสากล)
1 มิถุนายน (ในหลายประเทศ)
ความถี่ประจำปี
ส่วนเกี่ยวข้อง

ในปี พ.ศ. 2468 วันเด็กสากลถือกำเนิดขึ้นในการประชุมนานาชาติว่าด้วยการคุ้มครองเด็กที่เจนีวา นับแต่ปี พ.ศ. 2493 ประเทศในโลกที่สองส่วนมากได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นเด็กในประเทศ[1] ส่วนวันเด็กสากลกำหนดไว้เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายนเพื่อระลึกถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520[2] ในบางประเทศมีการกำหนดสัปดาห์ของเด็กแทนวันเด็ก สหรัฐกำหนดวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายนเป็นวันเด็กของสหรัฐ ส่วนประเทศไทยกำหนดให้วันเสาร์ที่สองเป็นวันเด็กแห่งชาติ

ความเป็นมา

แก้

จุดเริ่มต้น

แก้

วันเด็กเริ่มขึ้นครั้งในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2400 โดยชาลส์ เลโอนาร์ด บาทหลวงประจำโบสถ์ Universalist Church of the Redeemer ในเชลซี รัฐแมสซาชูเซตส์ โดยเลโอนาร์ดได้จัดศาสนกิจเป็นพิเศษขึ้นเพื่ออุทิศถึงและเพื่อเด็ก โดยเรียกว่าดังกล่าวว่า โรสเดย์ (Rose Day) โดยต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฟลาวเวอร์ซันเดย์ (Flower Sunday) และวันเด็ก (Children's Day) ตามลำดับ[3][4][5]

วันเด็กได้รับการกำหนดเป็นวันหยุดแห่งชาติครั้งแรกโดยสาธารณรัฐตุรกีในปี พ.ศ. 2463 และกำหนดให้ตรงกับวันที่ 23 เมษายน แม้ว่าจะมีการกำหนดเฉลิมฉลองวันเด็กในระดับชาตินับแต่ปีดังกล่าวโดยรัฐบาลและการประกาศผ่านหนังสือพิมพ์ แต่มีการประกาศรับรองวันดังกล่าวอย่างเป็นทางการในระดับชาติในปี พ.ศ. 2471 โดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ผู้ก่อตั้งประเทศและประธานธิบดีคนแรกของตุรกี[6][7][8]

วันเด็กสากล

แก้

วันเด็กสากลได้รับการกำหนดขึ้นครั้งแรกที่เจนีวาในการประชุมนานาชาติว่าด้วยสวัสดิการเด็กเมื่อปี พ.ศ. 2468 ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 มีการกำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันปกป้องเด็กสากลในสภาสตรีประชาธิปไตยนานาชาติ [en] ที่มอสโก[1] นับแต่ปี ค.ศ. 2493 ชาติสังคมนิยมจำนวนมากได้กำหนดให้วันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันเด็ก

ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ในที่ประชมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ผ่านมติร่วมระหว่างอินเดียและอุรุกวัยที่สนับสนุนให้ทุกประเทศริเริ่มวันเด็กสากลขึ้น เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความเข้าใจร่วมกันระหว่างเด็ก และริเริ่มการดำเนินการในการส่งเสริมแนวคิดของกฎบัตรสหประชาชาติและสวัสดิการของเยาวชน[9] จากนั้น ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 สหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก [en][10] จึงได้กำหนดให้วันที่ 20 พฤศจิกายนเป็นวันเด็กโลกเพื่อระลึกถึงการรับรองปฏิญญาดังกล่าวในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ[2]

ความริเริ่มสมัยใหม่

แก้

ในปี พ.ศ. 2543 เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษประการหนึ่งได้กำหนดว่าให้ยุติการแพร่ระบาดของไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์ภายในปี พ.ศ. 2558 แม้ว่าข้อนี้จะเป็นเป้าหมายสำหรับทุกคน แต่จุดมุ่งเน้นแรกนั้นอยู่ที่เด็ก[10] ส่วนยูนิเซฟได้รับการกำหนดให้ดูแลเป้าหมาย 6 ประการในเป้าหมายทั้ง 8 ประการเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กที่ทุกคนจะต้องมีสิทธิพื้นฐานที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ. 1989[11] โดยยูนิเซฟได้จัดส่งวัคซีนและทำงานร่วมกับผู้กำหนดนโยบายเพื่อบริการทางสุขภาพและการศึกษาที่ดีอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยเด็กและปกป้องสิทธิของเด็ก[11]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 พัน กี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติได้นำความริเริ่มเพื่อการศึกษาในเด็ก โดยเขาคาดหวังว่าเด็กทุกคนต้องได้เข้าโรงเรียนภายในปี พ.ศ. 2558, พัฒนาชุดทักษะที่ได้ภายในโรงเรียน และนำนโยบายเกี่ยวกับการศึกษาสนับสนุนสันติภาพ ความเคารพ และสิ่งแวดล้อม[12]

วันเด็กสากลมิใช่เพียงวันที่เฉลิมฉลองเด็กด้วยความเป็นเด็กเท่านั้น แต่จะต้องสร้างความตระหนักถึงเด็กทั่วโลกที่ประสบความความรุนแรงในรูปแบบของการใช้กำลัง การรแสวงหาผลประโยชน์ และการเลือกปฏิบัติ เด็กอีกหลายคนถูกใช้เป็นแรงงานในบางประเทศ รวมทั้งในความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ อาศัยบนท้องถนน ประสบกับความยากลำบากทั้งจากศาสนา ความเป็นส่วนน้อย หรือความพิการ[13] ความรู้สึกของเด็กในสงครามนั้นสามารถถูกรบกวนจากความขัดแย้งติดอาวุธและส่งผลเสียอย่างร้ายแรงทั้งร่างกายและจิตใจ[14] นิยามของ "เด็กและความขัดแย้งติดอาวุธ" นั้นรวมถึงความรุนแรงจากการเกณฑ์ทหารเด็ก, การฆ่าและทำร้ายร่างกายเด็ก, การลักพาตัวเด็ก, การโจมตีโรงเรียน/โรงพยาบาลและขัดขวางมนุษยธรรมสู่เด็ก[14] ปัจจุบันมีเด็กที่มีอายุ 5–14 ปี ราว 153 ล้านคนที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงาน[15] ในปี พ.ศ. 2542 องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดให้ทาสเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกเด็กเป็นรูปแบบแรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องเลิกและกำจัด[15]

การประชุมสุดยอมผู้นำโลกว่าด้วยเด็กที่แคนาดาเป็นประธานร่วมในปี พ.ศ. 2533 ได้กำหนดข้อตกลงที่มีการยืนยันในการประชุมของสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2545 โดยในครั้งหลังมีการเสริมรายงานของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการติดตามผลการดำเนินการตามการประชุมในครั้งก่อน[16]

วันเด็กแห่งชาติแต่ละประประเทศ

แก้
 
การเฉลิมฉลองวันเด็กในดอแนตสก์เมื่อปี พ.ศ. 2554

แต่ละชาติได้กำหนดวันเด็กแห่งชาติเป็นของตนเอง โดยกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต กลุ่มรัฐคอมมิวนิสต์ทั้งในอดีตและปัจจุบันรวม 25 ประเทศกำหนดเป็นวันที่ 1 มิถุนายนเป็นวันเด็กแห่งชาติของตน[17]

ในส่วนนี้จะแสดงรายชื่อวันเด็กในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ ที่สำคัญ เรียงตามลำดับวันที่ในปฏิทิน

ปฏิทินกริกอเรียน
กำหนด วันที่ในปฏิทิน ประเทศ/ดินแดน

วันศุกร์แรกของเดือนมกราคม

6 มกราคม พ.ศ. 2566
5 มกราคม พ.ศ. 2567
3 มกราคม พ.ศ. 2568

  บาฮามาส[18]

11 มกราคม

  ตูนิเซีย[19]

วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม

14 มกราคม พ.ศ. 2566
13 มกราคม พ.ศ. 2567
11 มกราคม พ.ศ. 2568

  ไทย[20]

วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์

12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

  หมู่เกาะคุก
  นาอูรู
  นีวเว
  โตเกเลา
  หมู่เกาะเคย์แมน

13 กุมภาพันธ์

  พม่า[21]

วันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม

5 มีนาคม พ.ศ. 2566
3 มีนาคม พ.ศ. 2567
2 มีนาคม พ.ศ. 2568

  นิวซีแลนด์

17 มีนาคม

  บังกลาเทศ[22]

21 มีนาคม   ลิเบีย[23]
4 เมษายน (วันเด็ก 4 เมษายน [zh])
  •   ไต้หวัน
  •   ฮ่องกง
5 เมษายน

  ปาเลสไตน์

12 เมษายน
  •   โบลิเวีย
  •   เฮติ

วันเสาร์สุดท้ายของเดือนเมษายน[24]

29 เมษายน พ.ศ. 2566
27 เมษายน พ.ศ. 2567
26 เมษายน พ.ศ. 2568

  โคลอมเบีย

National Sovereignty and Children's Day 23 เมษายน

  ตุรกี

30 เมษายน

  เม็กซิโก

5 พฤษภาคม
  •   เกาหลีใต้
  •   ญี่ปุ่น

วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม

14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

  •   สเปน
  •   สหราชอาณาจักร
10 พฤษภาคม

  มัลดีฟส์

17 พฤษภาคม

  นอร์เวย์

27 พฤษภาคม

  ไนจีเรีย

วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

  ฮังการี

วันเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ [en]

  อเมริกันซามัว
  หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
  หมู่เกาะโซโลมอน

1 มิถุนายน
  •   แอลเบเนีย
  •   แอลจีเรีย
  •   แองโกลา
  •   อาร์มีเนีย
  •   อาเซอร์ไบจาน
  •   เบลารุส
  •   เบนิน
  •   บัลแกเรีย
  •   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
  •   จีน[25]
  •   กัมพูชา
  •   เช็กเกีย
  •   ติมอร์-เลสเต
  •   เอกวาดอร์
  •   เอสโตเนีย
  •   เอธิโอเปีย
  •   จอร์เจีย
  •   กินี-บิสเซา
  •   คาซัคสถาน
  •   คอซอวอ
  •   เคอร์ดิสถานอิรัก
  •   คีร์กีซสถาน
  •   ลาว
  •   ลัตเวีย
  •   ลิทัวเนีย
  •   มาเก๊า
  •   มอลโดวา
  •   มองโกเลีย
  •   มอนเตเนโกร
  •   โมซัมบิก
  •   พม่า
  •   นิการากัว
  •   เกาหลีเหนือ
  •   มาซิโดเนียเหนือ
  •   โปแลนด์
  •   โปรตุเกส
  •   โรมาเนีย
  •   รัสเซีย
  •   เซาตูแมอีปริงซีป
  •   เซอร์เบีย
  •   สโลวาเกีย
  •   สโลวีเนีย
  •   ทาจิกิสถาน
  •   แทนซาเนีย
  •   เติร์กเมนิสถาน
  •   ยูเครน
  •   อุซเบกิสถาน
  •   เวียดนาม
  •   เยเมน

วันอาทิตย์ที่สองของเดือนมิถุนายน

11 มิถุนายน พ.ศ. 2566
9 มิถุนายน พ.ศ. 2567
8 มิถุนายน พ.ศ. 2568

  สหรัฐ

1 กรกฎาคม

  ปากีสถาน

วันอาทิตย์ที่สามของเดือนกรกฎาคม

16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

  •   คิวบา
  •   ปานามา
  •   เวเนซุเอลา
23 กรกฎาคม

  อินโดนีเซีย[26]

วันอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม

6 สิงหาคม พ.ศ. 2566
4 สิงหาคม พ.ศ. 2567
3 สิงหาคม พ.ศ. 2568

  อุรุกวัย

16 สิงหาคม

  ปารากวัย

วันอาทิตย์ที่สามของเดือนสิงหาคม

20 สิงหาคม พ.ศ. 2566
18 สิงหาคม พ.ศ. 2567
17 สิงหาคม พ.ศ. 2568

  •   อาร์เจนตินา
  •   เปรู
9 กันยายน

  คอสตาริกา

10 กันยายน

  ฮอนดูรัส

20 กันยายน

  ออสเตรีย   เยอรมนี   สวิตเซอร์แลนด์

25 กันยายน   เนเธอร์แลนด์ (เมือง Oosterhout)
1 ตุลาคม
  •   เอลซัลวาดอร์
  •   กัวเตมาลา
  •   ศรีลังกา

วันศุกร์แรกของเดือนตุลาคม

6 ตุลาคม พ.ศ. 2566
4 ตุลาคม พ.ศ. 2567
3 ตุลาคม พ.ศ. 2568

  สิงคโปร์

วันพุธแรกของเดือนตุลาคม (Children's Day recognition and assignation)
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม (Children's Day observance)

4 ตุลาคม พ.ศ. 2566
2 ตุลาคม พ.ศ. 2567
1 ตุลาคม พ.ศ. 2568

  ชิลี

8 ตุลาคม   อิหร่าน
12 ตุลาคม

  บราซิล

วันเสาร์ที่สี่ของเดือนตุลาคม

28 ตุลาคม พ.ศ. 2566
26 ตุลาคม พ.ศ. 2567
25 ตุลาคม พ.ศ. 2568

  มาเลเซีย

วันเสาร์ที่สี่ของเดือนตุลาคม

28–5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
26–3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
25–2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568
(สัปดาห์เด็กแห่งชาติ)

  ออสเตรเลีย[27]

วันเสาร์แรกของเดือนพฤศจิกายน

4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568

  แอฟริกาใต้

14 พฤศจิกายน

  อินเดีย

20 พฤศจิกายน
  •   โลกอาหรับ
  •   Azerbaijan
  •   แคนาดา[28]
  •   โครเอเชีย
  •   ไซปรัส
  •   เดนมาร์ก
  •   อียิปต์
  •   เอธิโอเปีย
  •   ฟินแลนด์
  •   ฝรั่งเศส
  •   กรีซ
  •   ไอร์แลนด์
  •   อิสราเอล
  •   อิตาลี[29]
  •   เคนยา
  •   มาเลเซีย
  •   เนเธอร์แลนด์
  •   มาซิโดเนียเหนือ
  •   ฟิลิปปินส์
  •   เซอร์เบีย
  •   สโลวีเนีย
  •   แอฟริกาใต้
  •   สเปน
  •   ตรินิแดดและโตเบโก
  •   สวีเดน
  •   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  •   แซมเบีย
5 ธันวาคม

  ซูรินาม

23 ธันวาคม
  •   ซูดานใต้
  •   ซูดาน
25 ธันวาคม
  •   สาธารณรัฐคองโก
  •   สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  •   แคเมอรูน
  •   อิเควทอเรียลกินี
  •   กาบอง
  •   ชาด
  •   สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ปฏิทินฮินดู [en]
กำหนด วันที่ในปฏิทินกริกอเรียน ประเทศ/ดินแดน

29 Bhadra

  เนปาล

ปฏิทินเวียดนาม [en]
กำหนด วันที่ในปฏิทินกริกอเรียน ประเทศ/ดินแดน
วันที่ 15 ในเดือนที่ 8 29 กันยายน พ.ศ. 2566
17 กันยายน พ.ศ. 2567
6 ตุลาคม พ.ศ. 2568
  เวียดนาม

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Yang, Unity Elias (2015). Women's and Children's Chambers of Parliament. Bloomington, IN, US: AuthorHouse. ISBN 978-1-5049-4192-1.
  2. 2.0 2.1 "World Children's Day". สืบค้นเมื่อ 2 June 2020.
  3. "Reading Eagle – Google News Archive Search". สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
  4. "The Sharon Baptist Church". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
  5. "Today is Universal Children's Day – Christian Adoption Services". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
  6. Veysi Akın (1997). "23 Nisan Millî Hâkimiyet ve Çocuk Bayramı'nın Tarihçesi" (akademik yayın). PAÜ Eğitim Fakültesi Dergisi 3. sayı: s. 91.
  7. Veysi Akın (1997). "23 Nisan Millî Hâkimiyet ve Çocuk Bayramı'nın Tarihçesi" (akademik yayın). PAÜ Eğitim Fakültesi Dergisi 3. sayı: s. 92.
  8. "23 Nisan" (ภาษาตุรกี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2016.
  9. "UN Yearbook". www.unmultimedia.org. สืบค้นเมื่อ 2021-11-14.
  10. 10.0 10.1 "United Nations". United Nations. 14 December 1954. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  11. 11.0 11.1 "UNICEF". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  12. "Global Education First". Global Education First. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  13. "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 16 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  14. 14.0 14.1 "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  15. 15.0 15.1 "Foreign Affairs and International Trade Canada". International.gc.ca. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  16. Kofi A. Annan. "We the Children: Meeting the promises of the World Summit for Children" (PDF). unicef.org. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 November 2012.
  17. "International Children's Day around the world in 2021 | by Office Holidays". www.officeholidays.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
  18. "Bahamas celebrates children's health rights for Universal Children's Day – PAHO/WHO | Pan American Health Organization". www.paho.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
  19. AnydayGuide. "Children's Day in Tunisia / January 11, 2023". AnydayGuide (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
  20. "Thai Children's Day 2023". Thailand NOW (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
  21. AnydayGuide. "Children's Day in Myanmar / February 13, 2023". AnydayGuide (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-03-01.
  22. "Aparajeyo-Bangladesh". www.aparajeyo.org. สืบค้นเมื่อ 2024-04-16.
  23. "الاحتفال بمناسبة عيد الطفل 21 مارس" (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  24. "LEY 724 DE 2001". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 4 October 2017.
  25. "International Children's Day - an official holiday in China". www.advantour.com. สืบค้นเมื่อ 2023-02-16.
  26. "Hari-Hari Penting di Indonesia" [Important observances in Indonesia]. Sekretariat Kabinet Republik Indonesia. 3 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
  27. "Children's Week". 24 November 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2022.
  28. Canada, Public Health Agency of (2009-06-15). "National Child Day". aem. สืบค้นเมื่อ 2020-11-22.
  29. "Giornata nazionale dei diritti dell'infanzia e dell'adolescenza 2020". www.governo.it (ภาษาอิตาลี). 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Douglas, George William. Children's Day 2019: History and significance. p. 355.
  • วันเด็กสากลบนเว็บไซต์สหประชาชาติ