วันส้วมโลก (อังกฤษ: World Toilet Day; WTD) เป็นวันที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน เพื่อให้ตระหนักในการจัดการสภาวะวิกฤตของสุขาภิบาลทั่วทั้งโลก[1][2] มีผู้คนทั่วโลกกว่า 4.2 พันล้านคนดำเนินชีวิตอย่างปราศจากการจัดการสุขาภิบาลอย่างปลอดภัย และราว 673 ล้านคนขับถ่ายอุจจาระในที่โล่งแจ้ง[3]: 74  เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 6 บัญญัติว่า "ต้องรับประกันความสะดวกในการเข้าถึงกับการจัดการระบบน้ำและสุขอนามัยอย่างยั่งยืนแก่ทุกคน"[4] เมื่อปี พ.ศ. 2544 วันส้วมโลกได้ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การส้วมโลก สิบสองปีต่อมาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้มีมติเห็นชอบให้บรรจุวันส้วมโลกเป็นวันสำคัญของสหประชาชาติ[5]

วันส้วมโลก
สัญลักษณ์ของวันส้วมโลก
วันที่19 พฤศจิกายน
ความถี่ปีละครั้ง
ครั้งแรก19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ส่วนเกี่ยวข้ององค์การส้วมโลก และ องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ

องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติได้เป็นผู้ดูแลหลักของวันส้วมโลก องค์การน้ำแห่งสหประชาชาติยังเป็นผู้จัดทำเว็บไซต์วันส้วมโลกและยังจัดหัวข้อพิเศษในแต่ละปี ในปี พ.ศ. 2565 หัวข้อในปีนี้คือ "น้ำบาดาลกับสุขอนามัย" ในวันส้วมโลกจะมีการให้ความรู้และกิจกรรมอื่น ๆ กิจกรรมและการวางแผนถูกจัดขึ้นโดยองค์การน้ำแห่งสหประชาชาติ, องค์การนอกภาครัฐ หรืออาสาสมัคร

การเข้าห้องส้วมที่ปลอดภัย ล้วนมีผลต่อสุขภาพ, ความเป็นส่วนตัว และศักดิ์ศรีของคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มสตรี[6] ระบบสุขาภิบาลที่ไร้มาตรฐานจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้[3] โดยส่วนมากจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค, ท้องร่วง, ไทรฟอร์ย, โรคบิด และโรคพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งมีผู้ป่วยทั่วโลกเป็นโรคท้องร่วงกว่า 892 ล้านคน[3]

หัวข้อ

แก้
 
กิจกรรมในวันส้วมโลกในปี ค.ศ. 2015 ที่ประเทศปากีสถาน
 
เด็กนักเรียนในประเทศเยอรมนีร่วมวิ่งสำหรับเฉลิมฉลองในวันส้วมโลกในปี ค.ศ. 2014
 
กิจกรรมวันส้วมโลกร่วมวิ่งในปี ค.ศ. 2014 ที่ประเทศเซเนกัล

การกำหนดหัวข้อแต่ละปีเริ่มเมื่อปี ค.ศ. 2012 หัวข้อของวันส้วมโลกขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกี่ยวข้องภายในปีนั้น หรือสิ่งต้องการจะสื่อสาร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 หัวข้อของวันส้วมโลกถูกใช้ร่วมกันวันน้ำโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดโดยอิงมาจากรายงานการพัฒนาน้ำโลกของสหประชาชาติ

ข้างล่างนี้คือหัวข้อแต่ละประจำปีของวันส้วมโลก:

  • 2022 – น้ำบาดาลกับสุขอนามัย (Groundwater and sanitation; คำขวัญ: "ทำสิ่งที่มองไม่เห็นให้เห็น")
  • 2021 – คุณค่าของส้วม (Valuing toilets)
  • 2020 – การสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ[7]
  • 2019 – ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (Leaving no one behind)[8]
  • 2018 – การแก้ปัญหาในหมู่ธรรมชาติ (Nature-based solutions; คำขวัญ: "เมื่อธรรมชาติเรียกหา")[9]
  • 2017 – น้ำเสีย (Wastewater)[10]
  • 2016 – ห้องน้ำกับงาน (Toilets and jobs)[11]
  • 2015 – ห้องน้ำกับโภชนาการ (Toilets and nutrition)
  • 2014 – เสมอภาค และศักดิ์ศรี (Equality and dignity)[12]
  • 2013 – ท่องเที่ยว กับ น้ำ (Tourism and water)
  • 2012 – "ผมให้อึ แล้วคุณละ?" (I give a shit, do you?) - เป็นคำขวัญ[13]

ตัวอย่างงานกิจกรรมและเหตุการณ์

แก้

การเผยแพร่รายงาน

แก้

บางองค์การเผยแพร่รายงานเกี่ยวข้องกับห้องน้ำ (หรือสุขอนามัย) ในวันส้วมโลกตัวอย่างเช่น:

  • เดอะทอยเลตคลอเลชัน (2017) "เศรษฐกิจของสุขาภิบาล"[14] (Sanitation Economy)
  • [องค์กร]น้ำและสุขาภิบาลเพื่อคนยากไร้ในเมือง (WSUP) (2017) "คู่มือการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวนต่อการจัดการกากของอุจจาระ"[15] (Guide to strengthening the enabling environment for faecal sludge management)
  • สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) (2016) "วอช@เวิร์ค: คู่มือพัฒนาตัวเอง"[16] (WASH@Work: self-training handbook)
  • องค์การอนามัยโลก, กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (2015) "การปรับปรุงผลทางโภชนาการด้วยวิธีปรับปรุงสุขาภิบาลและสุขอนามัยให้มีประสิทธิภาพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับนโยบายและโครงการ"[17] (Improving Nutrition Outcomes with Better Water, Sanitation and Hygiene: Practical Solutions for Policies and Programmes)

กิจกรรม

แก้
  • 2019: แผนกิจกรรมสำหรับวันส้วมโลกปี 2019 มีการจัดงานในรูปแบบตัวอย่างเช่น กิจกรรมเวิร์กชอปในสหรัฐในชื่อว่า "Manure Management – What Poop Can Teach Youth!", art installations ในประเทศไอร์แลนด์จัดกิจกรรมในธีม "Think Before You Flush" และกิจกรรม "Toilets for all Campaign in Rural areas" ในรัฐมัธยประเทศ, ประเทศอินเดีย[18][19][20]
  • 2018: กิจกรรมสำหรับวันส้วมโลกปี 2018 ได้มีกิจกรรมรณรงค์ในอินเทอร์เน็ตในโครงการ 'แฮกกาธอน' ในกานาโดยวิธีเผยแพร่ผ่านดิจิทัล[21] ยังมีกิจกรรมที่จัดโดยวิศวกรไร้พรมแดนในประเทศเดนมาร์ก[22] และการจัดกิจกรรมวาดภาพของเด็กนักเรียนในประเทศอินเดีย[23][24]

ผลสืบเนื่อง

แก้

ผลสืบเนื่องในโซเชียลมีเดีย

แก้

แคมเปญวันส้วมโลกและสื่อสิ่งพิมพ์สามารถเข้าถึงผู้คนกว่าล้านคนในโซเชียลมีเดียได้โดยไม่ว่าจะเป็นในเว็บไซต์เฉพาะ และช่องทางอื่น ๆ[25]: 21  กิจกรรมกว่า 100 กิจกรรมภายใน 40 ประเทศได้ถูกบันทึกไว้ในเว็บไซต์วันส้วมโลกทั้งในปี 2016 และในปี 2017[25]: 23 [26]: 17  ในปี 2017 ได้มีแฮชแท็ก #WorldToiletDay โดยมีผู้เข้าถึงสูงสุดกว่า 750 ล้านคนในโซเชียลมีเดีย[26]: 17  ในปี 2018 มีผู้เข้าถึงสูงสุดกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับกิจกรรมในออนไลน์ปี 2017 และมีผู้มีส่วนรวมจากร้อยละ 12 ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2017 เป็นร้อยละ 22 ภายในปี 2018[27]: 32 

อ้างอิง

แก้
  1. "What is World Toilet Day?". World Toilet Day. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2017. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.
  2. "Call to action on UN website" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 WHO and UNICEF (2019) Progress on household drinking water, sanitation and hygiene 2000–2017: Special focus on inequalities เก็บถาวร 25 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Geneva, Switzerland
  4. "Goal 6: Ensure access to water and sanitation for all". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2015. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
  5. "World Toilet Day 19 November - Background". United Nations. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
  6. Cavill, Sue. "Violence, gender and WASH: A practitioner's toolkit: Making Water, Sanitation and hygiene safer through improved programming and services". WaterAid, SHARE Research Consortium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-04. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
  7. "World Toilet Day 2020". World Toilet Day (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). UN Water. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "United Nations World Water Development Report". Unesco. 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  9. UN-Water (2018) World Water Development Report 2018: Nature-based Solutions for Water, Geneva, Switzerland
  10. "World Water Development Report 2017". UN-Water (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 12 November 2018.
  11. UN-Water (2016) World Water Development Report 2016: Water and jobs, Geneva, Switzerland
  12. Gjersoe, Nathalia (20 November 2014). "World Toilet Day. Yuck!". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 August 2015.
  13. "Dies irae". The Economist. 24 November 2012.
  14. Introducing the Sanitation Economy (PDF). Toilet Board Coalition. 2017.
  15. "Guide to strengthening the enabling environment for faecal sludge management". Water and Sanitation for the Urban Poor. 17 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
  16. WASH@Work: a Self-Training Handbook (PDF). Geneva: International Labour Office. 2016. ISBN 9789221285236.
  17. Improving nutrition outcomes with better water, sanitation and hygiene: practical solutions for policies and programmes. 1.Nutrition Disorders – etiology. 2.Water Quality. 3.Sanitation. 4.Hygiene. Health. 5.Knowledge, Attitudes, Practice (PDF). World Health Organization, UNICEF, USAID. 2015. ISBN 978-92-4-156510-3.
  18. "Manure Management – What Poop Can Teach Youth!". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  19. "Think Before You Flush". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  20. "Toilets for all Campaign in Rural areas". World Toilet Day - Events. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  21. "World Toilet Day Hackathon". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  22. "Open seminar by Engineers without boarders". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  23. "Draw a world without toilets, India". UN Water. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-14. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.
  24. "World Toilet Day 2018 Events". UN Water. สืบค้นเมื่อ 14 November 2018.[ลิงก์เสีย]
  25. 25.0 25.1 Annual Report UN-Water 2016. Geneva, Switzerland: UN-Water. 2016.
  26. 26.0 26.1 Annual Report UN-Water 2017. Geneva, Switzerland: UN-Water. 2017.
  27. UN-Water Annual Report 2018. UN-Water. 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้