วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิ

วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 天皇誕生日โรมาจิTennō Tanjōbi) เป็นวันหยุดราชการที่ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ตรงกับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะในปี ค.ศ. 1960

วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิ
ชื่อทางการ天皇誕生日 (เท็นโน ทันโจบิ)
ประเภทวันหยุดราชการ
การเฉลิมฉลองการเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิที่พระราชวังหลวงโตเกียว
การถือปฏิบัติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
วันที่23 กุมภาพันธ์
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องวันสีเขียว
วันโชวะ

ประวัติ แก้

ยุคเก่า – ยุคกลาง แก้

 
ธงเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิในปี 1877

วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิมีมาตั้งแต่ช่วงยุคเมจิจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมี "พิธีเท็นโจเซ็ตสึไซ (ญี่ปุ่น: 天長節祭โรมาจิTenchō Setsusai)" ที่ได้รับอิทธิพลมาจากจักรพรรดิถังเสฺวียนจงแห่งราชวงศ์ถัง โดยเท็นโจเซ็ตสึ มีความหมายว่า "สวรรค์นั้นยาวและโลกก็ยาว" ซึ่งหมายถึงการครองราชย์ฯ ของสมเด็จพระจักรพรรดินั้นจะคงอยู่ต่อไปอย่างไม่มีจุดสิ้นสุด ในรัชสมัยของจักรพรรดิโคนิง (ยุคนารา) ได้มีการจัดพิธีเท็นโจเซ็ตสึไซครั้งแรกขึ้นที่ปูชนียสถานวังสาม (ญี่ปุ่น: 宮中三殿โรมาจิKyūchū sanden; อังกฤษ: Three Palace Sanctuaries, Three Sacred Halls) ในพิธีดังกล่าว เหล่าขุนนางชั้นสูงจะถวายสาเกและมื้ออาหารครั้งใหญ่[1][2][3]

ยุคสมัยใหม่ แก้

ส่วนวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิจะเรียกว่า "ชิกีวเซ็ตสึ (ญี่ปุ่น: 地久節โรมาจิChikyū Setsu)"[4] ในปีแรกของยุคเมจิ (ค.ศ. 1868) ไดโจกังได้มีการกำหนดให้วันที่มีการจัดพิธีเท็นโจเซ็ตสึไซเป็นวันหยุดราชการ[5] และต่อมาในปี 1873 รัฐบาลฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 天皇誕生日โรมาจิTennō Tanjōbi)[1] ตามพระราชบัญญัติวันหยุดราชการในประเทศญี่ปุ่น วันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิจะกำหนดตามวันพระราชสมภพของพระจักรพรรดิ ด้วยเหตุนี้วันดังกล่าวจึงไม่มีวันที่คงที่ เพราะฉะนั้นรัฐสภาญี่ปุ่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องประชุมกันเพื่อแก้ไขกฎหมายเป็นรายโอกาสไป[3] ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวันสีเขียวและวันโชวะในปี 1989 และ 2007 ตามลำดับ[3]

การเข้าเฝ้า แก้

ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิ จะมีการจัดพิธีน้ำชาเพื่อรับรองอาคันตุกะที่สำคัญ เช่น นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือคณะผู้แทนทางทูต[6] หลังจากนั้นจึงมีการเสด็จออกมหาสมาคมต่อสาธารณชนในวันดังกล่าวที่พระราชวังหลวงโตเกียว ประชาชนจะสามารถเข้าไปในพระราชวังหลวงฯ ได้ สมเด็จพระจักรพรรดิ สมเด็จพระจักรพรรดินี และพระบรมวงศานุวงศ์จะออกมายังระเบียงรับรองและโบกพระหัตถ์ต่อประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ หลังจากพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินกลับ ประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ ก็จะเข้าชมอาคารภายในพระราชวังหลวงโตเกียว[7] ในปี 2020 และ 2021 (ยุคเรวะ) การเข้าเฝ้าและการลงนามถวายพระพรสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะถูกยกเลิกเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Encyclopedia of Shinto詳細". 國學院大學デジタルミュージアム. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "天長節祭 (てんちょうせつさい) | Blog 長崎くんち豆知識". osuwasan (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 3.2 "The Emperors Birthday - Japanese Wiki Corpus". www.japanese-wiki-corpus.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "วันหยุดของญี่ปุ่น: วันพระราชสมภพของพระจักรพรรดิ". FUN! JAPAN International (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. เค็นอิจิโร, โฮรี (2021-02-23). "意外と知らない「天皇誕生日」の始まりとルール なぜ明治と昭和は休日で、大正は休みじゃない?". 文春オンライン. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Japanese emperor's birthday celebrations — past and present|Arab News Japan". www.arabnews.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Celebrate the Emperor of Japan's Birthday With a Holiday". JobsInJapan.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-23. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 天皇誕生日一般参賀要領 天皇誕生日一般参賀の取りやめについて สำนักพระราชวังหลวง (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.