วัดแก้วโกรวาราม

วัดในจังหวัดกระบี่

วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง ตั้งอยู่กลางเมืองจังหวัดกระบี่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดประจำจังหวัด มีความสำคัญทั้งด้านความเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี และแผนกปริยัติสามัญ ของคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่

วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง
แผนที่
ที่ตั้งถนนอิศรา ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
เจ้าอาวาสพระวชิรปัญญาวุธ (บุญเลิศ ธมฺมรกฺโข)
ความพิเศษเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 82 ถนนอิศรา ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000 โทรศัพท์ 075-611-252 โทรสาร 075-620-535 มีเนื้อที่ประมาณ 202 ไร่ 4 ตารางวา

ประวัติ

แก้

ประวัติการสร้างวัดเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งถิ่นฐานของชาวพุทธ ประมาณ 200 ครัวเรือน ณ บ้านปากน้ำ ในปี พ.ศ. 2430 ชาวบ้านได้สร้างพำนักสงฆ์ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา เรียกว่า “พำนักสงฆ์ปากน้ำ” เมื่อมีพระสงฆ์มาจำพรรษามากขึ้น จึงสร้างศาลา และกุฏิเพิ่มขึ้นตามลำดับ ให้พระสงฆ์มีที่จำพรรษา และได้ขนานนามว่า "วัดแก้วโกรวาราม" ในเวลาต่อมา

การยกฐานะเป็นพระอารามหลวง

แก้

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 วัดแก้วโกรวารามได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ

ด้านการศึกษา

แก้

วัดแก้วโกรวาราม เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนก ธรรมะ-บาลี และแผนกปริยัติสามัญ ของคณะสงฆ์จังหวัดกระบี่ เริ่มมีการเรียนการสอนนักธรรม-บาลี ตั้งแต่พุทธศักราช 2455 ก่อนจะมีการขยายการศึกษาด้านต่าง ๆ ไปยังต่างอำเภอ ใน ปี พุทธศักราช 2500

ปูชนียวัตถุในวัดที่สำคัญ

แก้
  1. รูปเหมือนหล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าองค์จริงของพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) อดีตเจ้าคณะมณฑลภูเก็ต
  2. รูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์ (กิ่ม พุทธรกฺขิโต) เจ้าคณะจังหวัดกระบี่ เจ้าอาวาสวัดแก้วโกรวาราม รูปที่หนึ่ง
  3. รูปเหมือนเท่าองค์จริงของพระราชสุตกวี (สิงห์ จนฺทาโภ) เจ้าคณะจังหวัดกระบี่ เจ้าอาวาสสวัดแก้วโกรวาราม รูปที่สอง

ลำดับเจ้าอาวาส

แก้

พ.ศ. 2430-2450 สมัยที่ยังเรียกชื่อวัดปากน้ำ มีเจ้าอาวาสปกครองวัดรวม 6-7 รูป (ไม่ปรากฏชื่อ) แต่มีการบันทึกไว้เพียง 3 รูป ได้แก่

  1. พ่อท่านแก้ว ยนยาว จากจังหวัดสงขลา
  2. พระบริสุทธิสีลาจารย์ (ลภ) จากจังหวัดตรัง
  3. พระครูสตูลสมันสรณมุนี (สมุทร) จากจังหวัดสตูล

ต่อมา ปี 2450 พระแก้วโกรพ (หมี ณ ถลาง) ได้นิมนต์พระสมุห์กิ่ม พุทฺธรกฺขิโต พร้อมกับบูรณะวัดอย่างจริงจัง แล้วขนามนามวัดใหม่เป็น "วัดแก้วโกรวาราม" และมีเจ้าอาวาสปกครองดังนี้

  1. พระครูธรรมาวุธวิศิษฐ์ (กิ่ม พุทฺธรกฺขิโต) พ.ศ. 2451-2473
  2. พระราชสุตกวี (สิงห์ จนฺทาโภ ป.ธ.6, น.ธ.เอก) พ.ศ. 2474-2528
  3. พระสุตาวุธวิสิฐ (ขรรค์ชัย อาภากโร น.ธ.เอก) พ.ศ. 2529-2540
  4. พระมหาศรีวัง สิริมนูญโญ พ.ศ. 2541-2543
  5. พระปัญญาวุธธรรมคณี (บริสุทธิ์ ขนฺติโก) น.ธ.เอก พ.ศ. 2543-2564
  6. พระครูอัครรัตนากร (บุญเลิศ ธมฺมรกฺโข) พ.ศ. 2564-ปัจจุบัน