วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร หรือที่ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสุปัฏน์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร[1] เป็นวัดธรรมยุติกนิกายแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับพระราชทานนามวัดจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบันพระวิบูลธรรมาภรณ์ (ชาย ชาคโร) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดสุปัฏนาราม |
ที่ตั้ง | ถนนสุปัฏน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระสัพพัญญูเจ้าและ พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง |
เจ้าอาวาส | พระวิบูลธรรมาภรณ์(ชาย ชาคโร) |
จุดสนใจ | อุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร (ศิลปะ 3 ชนชาติคือ ไทย / เยอรมัน / ขอม) |
กิจกรรม | งานสรงน้ำพระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง (ช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พื้นที่
แก้วัดสุปัฏนาราม ตั้งอยู่เลขที่ 1 ตำบลในเมืองอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1949 ทิศเหนือติดถนนหลวง ทิศใต้ติดแม่น้ำมูล ทิศตะวันออกติดโรงพยาบาลโรคปอด และทิศใต้ติดประปา
ประวัติ
แก้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) สร้างวัดสุปัฏนารามขึ้นสำหรับคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เริ่มแรกมีเนื้อที่กว้าง 3 เส้นเศษ ยาว 5 เส้นเศษ ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2479[2] และยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2479[1]
พระพุทธรูปที่สำคัญ
แก้- พระสัพพัญญูเจ้า
- พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง (พระพุทธรูปหนึ่งในนพรัตน์หรือแก้วเก้าประการ)
ศาสนสถานที่สำคัญ
แก้พระอุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่าง 3 ชนชาติ คือ
- ส่วนหลังคา เป็นศิลปะแบบไทย
- ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบเยอรมัน
- ส่วนฐานของพระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบขอมโบราณ
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้ลำดับเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม มีดังนี้[3]
- พระอธิการดี พนฺธุโล
- พระอธิการเพ็ง
- พระอธิการเพชร
- พระอธิการสีโห
- พระอธิการสี
- พระญาณรักขิต (จันทร์ สิริจนฺโท)
- พระโพธิวงศาจารย์ (อ้วน ติสฺโส)
- พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ้ย ญาณาสโย)
- พระธรรมบัณฑิต(ญาณ ญาณชาโล)
- พระเทพกวี (นัด เสนโก)
- พระโพธิญาณมุนี (ภา ปภาโส)
- พระรัตนมงคลมุนี (ยงยุทธ ตปนิโย)
- พระวิบูลธรรมาภรณ์ (ชาย ชาคโร)
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ (ให้ยกวัดสุปัฎนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชะนิดวรวิหาร), เล่ม 53, ตอน 0 ง, 16 สิงหาคม 2489, หน้า 1029
- ↑ ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒, หน้า 313
- ↑ ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒, หน้า 314
- บรรณานุกรม
- กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2548. 622 หน้า. หน้า 313-314.