วัดลาดเป้ง

วัดในจังหวัดสมุทรสงคราม

วัดลาดเป้ง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3 บ้านลาดเป้ง ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ทั้งหมด 64 ไร่ 2 งาน

วัดลาดเป้ง
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 88 หมู่ที่ 3 ทางหลวงชนบท สค.2006 ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธโคดมศรีสรรเพชร (หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์)
เจ้าอาวาสพระครูพิศาลสมุทรกิจ (ไพศาลแสงทอง)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดลาดเป้งเป็นวัดโบราณ ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้าง สันนิษฐานกันว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่แหล่งข้อมูลของกรมการศาสนาระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2450 คงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยอาศัยศรัทธาของประชาชนในเขตพื้นที่และใกล้เคียง วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2502[1]

วัดมีโบสถ์เรือนไทยมหาอุดที่กล่าวกันว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชั้นบนอุโบสถเป็นเสาไม้ตะเคียนทองและไม้แดง หลังคามุงกระเบื้อง ผนังเป็นไม้สักทั้งหลัง บริเวณโดยรอบมีศาลาราย 8 หลัง ด้านในประดิษฐานพระประธานปางมหาจักรพรรดิประทับนั่งขัดสมาธิ ขนานพระนามท่านว่า พระพุทธโคดมศรีสรรเพชร (หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์)[2] ในบริเวณวัดยังมีเจดีย์เก่าแก่ 1 องค์ซึ่งสร้างมาพร้อมกับวัด วัดเปิดโอกาสให้ประชาชนอบสมุนไพรตามกระบวนการแพทย์แผนไทยโบราณ

ปูชนียวัตถุในวัดได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถ ปูนปั้น ปางมารวิชัย พระห้ามสมุทร พระห้ามญาติ พระพุทธรูปจำลอง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา[3]

รายนามเจ้าอาวาส

แก้
  • หลวงพ่อกล่ำ ไม่ปรากฏหลักฐาน
  • หลวงพ่อนวม ไม่ปรากฏหลักฐาน
  • หลวงพ่อขวัญ พ.ศ. 2440–2468
  • พระอาจารย์เชื่อม พ.ศ. 2468–2473
  • พระอาจารย์คำ พ.ศ. 2473–2475
  • พระครูถาวรสมุทรสาร (โหนดศักดิ์สิทธิ์) พ.ศ. 2475–2522
  • พระครูศรีสมุทรวงศ์ (สรรเสริญ จันทร์คง) พ.ศ. 2523–2533
  • พระครูปัญญาสมุทรคุณ เจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ. 2533–2534
  • พระครูพิศาลสมุทรกิจ (ไพศาล แสงทอง) วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้
  1. พระครูพิศาลสมุทรกิจ (แสงทอง) (2553). บทบาทวัดในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาวัดลาดเป้ง ตำบลนางตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยมหิดล/กรุงเทพฯ.
  2. ""วัดลาดเป้ง"ชวนอบสมุนไพร". เดลินิวส์.
  3. "วัดลาดเป้ง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.