วัดราชโกษา

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดราชโกษา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระครูประสุตสารธรรม(พระอาจารย์ดำ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส มีอาณาเขต 17 ไร่ มีธรณีสงฆ์ 7 ไร่เศษ ทิศเหนือติดคลองประเวศบุรีรมย์ ทิศตะวันออกติดถนนขุมทอง-ลำต้อยติ่ง

วัดราชโกษา
แผนที่
ชื่อสามัญวัดราชโกษา, วัดพระยาเพชรพิไชย
ที่ตั้งถนนขุมทอง-ลำต้อยติ่ง แขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อดำ(พระพุทธมหาราชโกษา)
เจ้าอาวาสพระครูประสุตสารธรรม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พ.ศ. 2446 พระยาเพชรพิไชย เจ้าจอมลิ้นจึ่ในรัชกาลที่ 5 และเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅไชยได้บริจาคที่ดินจำนวน 17 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา เพื่อสร้างวัด โดยสร้างเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2450 หลังจากนั้นใช้ชื่อวัดว่า วัดพระยาเพชรพิไชย ตามชื่อผู้สร้างวัด แต่หลังจากนั้นพระยาเพชรพิไชยได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชโกษาในสมัยที่พระอาจารย์อิ่มเป็นเจ้าอาวาส จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดราชโกษา"[1][2]

จนกระทั่งคุณยายภัทร จารุจินดา (ผู้เป็นบุตรีเจ้าพระยาสุรบดินทร์และเป็นหลานพระยาเพชรพิไชย) กับคุณหญิงอุ่น มาพบวัดราชโกษาโดยบังเอิญหลังจากที่เสาะหาวัดเป็นเวลานาน เมื่อได้สนทนากับพระครูมานิต ธรรมคุณ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน จึงทราบเรื่องราวว่าตระกูลเป็นผู้ทำนุบำรุงวัดมาแต่อดีต จึงได้ปวารณาตัวพร้อมที่จะร่วมทำนุบำรุงวัดตามบรรพบุรุษให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2499

ภายในอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในซุ้มเรือนแก้วลายกระหนก คล้ายพระพุทธชินราช หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ต่อมามีการจัดสร้างเหรียญหลวงพ่อดำเมื่อราว พ.ศ. 2460 หลวงพ่อดำองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักจนมีการสร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น

รายนามเจ้าอาวาส แก้

  • พระอาจารย์เผือก
  • พระอาจารย์อิ่ม
  • พระอาจารย์ชื่น
  • พระอาจารย์พิศ
  • พระอาจารย์หนู เชื้ออ่าว
  • พระอาจารย์ต่วน ติสฺนสโร
  • พระอธิการสวัสดิ์ ติณณปงโก
  • พระครูมานิต ธรรมคุณ (มานพ เชื้ออ่าว)
  • พระครูประสุตสารธรรม (พระอาจารย์ดำ)

อ้างอิง แก้

  1. "วัดราชโกษา". ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม.
  2. "พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา)".