วัตถุมงคล
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วัตถุมงคล หมายถึง เครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ[1]
วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธาในสิ่งของที่สร้างขึ้นมีความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา ตามสมัยนิยมตั้งแต่โบราณกาลมีหลักฐานเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมีอายุเก่าแก่เกือบ 2,000 ปี วัตถุมงคลจะมีมากมายในสังคมไทย เช่น พระเครื่อง, พระกริ่ง, พระกริ่งปวเรศ, ปลัดขิก, ผ้ายันต์, ตะกรุด, มีดหมอ, องค์เทพที่เป็นทางศาสนาอื่น ๆ เช่น พระพรหม, พระตรีมูรติ, พระราหู
ประวัติ
แก้สำหรับ เครื่องราง เป็นสิ่งที่มีมาตั้งสมัยโบราณกาลนับพันปีมาแล้ว และประวัติเครื่องรางของขลังไม่ได้มีเฉพาะแต่ในเมืองไทยเท่านั้น ชนชาติอื่น ๆ ก็มีเครื่องรางใช้กันมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าของสิ่งนี้จะสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายต่าง ๆ ให้ได้ รวมทั้งในเรื่องของโชคลาภ ความโชคดีทั้งหลายทั้งปวง
วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง จึงนับเป็นเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีอยู่คู่กับมนุษย์ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนถึงทุกวันนี้ วัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ายังเป็นที่นิยมและมีความเชื่อถือ
สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
การบูชาวัตถุมงคลควรเช่ามาบูชาด้วยเงินของตนเองจะขลังกว่ามีผู้ให้มา เพราะถ้ารับจากผู้อื่นมา ถือว่าบูชาแทนเขา บุญและความขลังจะน้อยกว่าเช่ามาบูชาเอง
ประเภทวัตถุมงคลตามคติของศาสนาพุทธ (เเบบไทย)
แก้วัตถุมงคล ในศาสนาพุทธแบบไทย ที่มีคติผสมผสานระหว่างศาสนาพื้นบ้านเเละพราหมณ์ เรียกกันโดยทั่วไปว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าที่มีขนาดเล็ก สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา พระเครื่องอาจจะรวมถึงรูปสมมติของพระโพธิสัตว์, พระอริยสงฆ์และเทพเจ้าที่มีขนาดเล็กด้วย วัตถุมงคล ทางพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย 2 ประเภท
- วัตถุมงคล ภายนอก เช่น วัตถุที่สร้างมาจากดิน โลหะ ฯลฯ
- มงคลที่แท้จริงมาจากภายใน ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ มงคลชีวิต เป็นคำแนะนำในการดำเนินชีวิตเพื่อความสุข และความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ 38 ข้อ ในมหามงคลสูตรหรือเรียกว่า มงคล 38 ประการ[2]
พระเครื่อง เชื่อว่า สามารถช่วยเสริมดวงชะตา ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และช่วยให้ร่ำรวย
ตะกรุด เชื่อว่า สามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย และ ช่วยให้จิตใจสงบสุข
ผ้ายันต์ เชื่อว่าสามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย และ ช่วยให้จิตใจสงบสุข
กำไล เชื่อว่าสามารถช่วยเสริมดวงชะตา ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย และช่วยให้ร่ำรวย
แหวน เชื่อว่าสามารถช่วยเสริมดวงชะตา ช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย และช่วยให้ร่ำรวย
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1104
- ↑ มงคลชีวิต 38 ประการ
- ↑ วัตถุมงคล เสริมดวง