วัดฝ่าเหมิน (จีนตัวย่อ: 法门; จีนตัวเต็ม: 法門; พินอิน: Fǎmén Sì) เป็นวัดพุทธ ตั้งอยู่ที่เมืองฝ่าเหมิน แคว้นฟูเฟิง มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน[1]

วัดฝ่าเหมิน
法門寺
ภายในพื้นที่วัฒนธรรมวัดฝ่าเหมินซึ่งสร้างขึ้นใหม่
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งฝ่าเหมิน แคว้นฟูเฟิง มณฑลฉ่านซี
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พิกัดภูมิศาสตร์34°26′24″N 107°54′16″E / 34.439896°N 107.904546°E / 34.439896; 107.904546
สถาปัตยกรรม
รูปแบบจีน
เริ่มก่อตั้งฮั่นตะวันออก
เสร็จสมบูรณ์1987 (สร้างใหม่)

มีการตั้งทฤษฎีไว้ว่าวัดสร้างขึ้นในยุคสมัยใด ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าเนื่องจากอิฐแกละสลักและกระเบื้องหลังคาที่ขุดพบเป็นของราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์กาล - ค.ศ. 220) จึงเป็นไปได้ว่าวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิโจวเหนือ โดยจักรพรรดิหฺวัน ส่วนหลักฐานทางวรรณกรรมเสนอว่าวัดฝ่าเหมินได้มีอยู่แล้ว และมีขนาดใหญ่โต ในระหว่างราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386–534) กระนั้น เนื่องจากศาสนาพุทธถูกกดขี่อย่างหนักในสมัยของจักรพรรดิหวู่ในราชวงศ์โจวเหนือ (ค.ศ. 557–581) วัดฝ่าเหมินถูกทำลายเรียบ

วัดฝ่าเหมินสร้างขึ้นมาใหม่และกลับมามีสถานะอีกครั้งหลังการสถาปนาราชวงศ์ถังขึ้น (618–907) ในปีแรกในรัชสมัยของจักรพรรดิเกาจู่ (618) ได้มีการตั้งชื่อวัดว่าวัดฝ่าเหมินขึ้น พร้อมทั้งมีการเรียกหาพระสงฆ์มาจำวัดที่นี่ในปีถัดมา ต่อมาวัดถูกเผาทำลายลงอีกครั้ง ก่อนจะสร้างขึ้นใหม่ในปีที่ห้าของรัชสมัยเจิ้งกวง (631) มีการสร้างเจดีย์ขึ้น เจดีย์หลังดังกล่าวได้สร้างขึ้นใหม่อีกครั้งในปีที่ห้าของจักรพรรดิเกาจง (660) เจดีย์ความสูงสี่ชั้นนี้ตั้งชื่อว่าเป็น "เจดีย์พระธาตุแท้จริง" (True Relic Pagoda) จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง จงซงและจักรพรรดินีเว่ย์ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ล้วนฝังร่างของตนไว้ใต้เจดีย์นี้ ร่างของทั้งคู่ถูกขุดขึ้นมาในปี 1978 ในสมัยราชวงศ์ถัง จักรพรรดิแห่งถังได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวายแก่วัดรวม 7 ครั้ง พร้อมให้มีการขยับขยายทั้งวัดและเจดีย์ หลังการก่อสร้างและต่อเติมหลายครั้ง วัดฝ่าเหมินในเวลานั้นมีขนาดกว้างถึง 24 ลาน (courtyards)[2] เจดีย์หลังเดิมจากสมัยราชวงศ์ถังพังทลายลงมาในสมัยราชวงศ์หมิง และวัดเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว ในปี 1579 จึงมีการสร้างเจดีย์พระธาตุแท้จริงขึ้นใหม่อีกครั้ง มีบักษณะสูงสิบสามชั้นและสร้างมาจากอิฐเลียนลักษณะของไม้

หลังสาธารณรัฐจีนจัดตั้งขึ้น วัดฝ่าเหมินถูกใช้งานทางการทหารอย่างต่อเนื่อง และเสียหายอย่างหนัก การก่อสร้างใหม่นำโดยสมาคมผู้ใจบุญแห่งจีนเหนือระดมทุนสร้างวัดขึ้นใหม่ในปี 1938-1940 พร้อมทั้งมีการฟื้นฟูศาสนกิจในวัดขึ้นอีกครั้ง ในระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม โถงและพระพุทธรูปภายในวัดถูกทำลายเสียหายโดยยุวชนแดง เจ้าอาวาสเหลียงชิง (良卿法师) จุดไฟเผาตนเองถึงแก่มรณภาพด้านหน้าเจดีย์พระธาตุแท้จริงเพื่อป้องกันพื้นที่ใต้ดินของวัด[3] พระสงฆ์รูปที่เหลือถูกบังคับลาสิกขาหรือถูกสังหาร หลังปี 1979 รัฐบาลมณฑลฉ่านซีได้สนับสนุนเงินทุนในการฟื้นฟูอาคารโถงมหาวีระ และศาลาพระพุทธรูปโลหะ (铜佛阁) วัดฝ่าเหมินได้ถูกส่งมอบคืนจากรัฐกลับสู่ชุมชนพุทธศาสนิกชนในปี 1984 และมีการสร้างเจดีย์พระธาตุแท้จริงขึ้นใหม่ในปี 1985 โดยรัฐบาลมณฑล ในปี 1987 "วังใต้ดิน" ของวัดได้ถูกขุดและเปิดออกเป็นครั้งแรก ภายในได้มีการค้นพบพระธาตุและโบราณวัตถุล้ำค่าจำนวนมาก ในปี 1988 การก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เสร็จสิ้น และมีการเปิดพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมินขึ้น[4] อย่างเป็นทางการ ภายในจัดแสดงวัตถุที่ค้นพบจากวังใต้ดินของวัด

พื้นที่ส่วนใหม่ที่ขยายจากตัววัดโดยรัฐบาลมณฑลก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2009 ภายใต้ชื่อ "พื้นที่ทิวทัศน์ทางวัฒนธรรมวัดฝ่าเหมิน" ขนาด 150 เอเคอร์ (0.61 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งมีอาคารหลังสำคัญคือนมัสเตดาโกบา (Namaste Dagoba) ความสูง 148 เมตร ผลงานออกแบบสร้างโดยสถาปนิกคนเดียวกับที่ออกแบบไทเป 101 ในประเทศไต้หวัน

อ้างอิง แก้

  1. Zi Yan (2012), p. 69.
  2. Zi Yan (2012), p. 69–70.
  3. china.org.cn: China-s Buddhist Mecca (archived)
  4. Zi Yan (2012), p. 70–71.

บรรณานุกรม แก้

  • Zi Yan (2012). Famous Temples in China (ภาษาอังกฤษ และ จีน). Hefei, Anhui: Huangshan Publishing House. pp. 54–57. ISBN 978-7-5461-3146-7.