วัดกาญจนบุรีเก่า
วัดกาญจนบุรีเก่า เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ห่างจากวัดขุนแผนไปทางทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองกาญจนบุรี (เก่า)
วัดกาญจนบุรีเก่า | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดกาญจนบุรีเก่า, วัดนางพิม, วัดท่าเสา |
ที่ตั้ง | ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดกาญจนบุรีเก่า หรือ วัดนางพิม หรือ วัดท่าเสา เดิมเป็นวัดร้างที่สร้างในสมัยอยุธยา เล่ากันว่านางพิมเป็นผู้สร้าง ภายในพบซากเจดีย์เก่าทรงกลมฐานต่ำและซากกำแพงพระพุทธรูปศิลาทรายสีแดงขนาดใหญ่ที่วัดร้างแห่งนี้ ก่อนจะได้รับการโยกย้ายไปเป็นพระประธานในอุโบสถสำคัญในหลาย ๆ วัดในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้แก่ วัดเทวสังฆาราม วัดถาวรวราราม (วัดญวน) และวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) ส่วนพระพุทธรูปสมัยอยุธยาที่อยู่ที่วัดกาญจนบุรีเก่ามีจำนวน 2 องค์ คือ หลวงพ่อประทานโชค ที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปของวัดกับพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญ[1]
จากเอกสารของกรมการศาสนาพึ่งปรากฏในทะเบียนการตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2360 ต่อมาพระอาจารย์จวน เจ้าอาวาสรูปแรกได้บูรณะเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ ให้ชื่อว่า วัดท่าเสา เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน[2] และท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะเพื่อใช้เป็นที่พักสงฆ์และบำเพ็ญกุศลเมื่อ พ.ศ. 2541 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2474[3]
เสนาสนะ
แก้อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถซึ่งสร้างขึ้นบนฐานพระอุโบสถเดิมภายหลัง พ.ศ. 2472 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนฐานสูง ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้น 2 บันได มีประตูทางเข้าสู่ภายในอุโบสถ 1 ประตู ด้านข้างมีหน้าต่างด้านละ 3 ช่อง ด้านหลังทำลักษณะคล้ายมุขมีประตุทางเข้าด้านข้าง 2 ประตูและบันไดทางเข้าภายในด้านละ 1 บันได หลังคาอุโบสถเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้องลักษณะเสาที่รองรับหลังคาเป็นเสาย่อมุม หัวเสาเป็นบัว รอบอุโบสถเป็นซุ้มใบเสมา 8 ซุ้ม ประดิษฐานใบเสมาหินทรายสีแดงมี่ลวดลายแต่ละใบไม่เหมือนกัน เจดีย์ทรงกลม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงกลม ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ จากประวัติพบว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นจากเจดีย์เก่าที่หักพังทลายตามร่องรอยเดิม ภายหลัง พ.ศ. 2472
รายนามเจ้าอาวาส
แก้- พระครูจวน
- พระเกลา
- พระเป๋า
- พระเกลา
- พระราชรัตนวิมล
อ้างอิง
แก้- ↑ "วัดนางพิมหรือวัดท่าเสา". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
- ↑ "วัดกาญจนบุรีเก่า". สำนักงานคณะสงฆ์ภาค ๑๔.
- ↑ "วัดกาญจนบุรีเก่า". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.