วอลเลย์บอล ซี วี.ลีก

การแข่งขันวอลเลย์บอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วอลเลย์บอลลีกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southeast Asian Volleyball League) หรือที่รู้จักในชื่อ ซี วี.ลีก (อังกฤษ: SEA V.League) (หรือชื่อเดิมคือ อาเซียนกรังด์ปรีซ์ (อังกฤษ: ASEAN Grand Prix)) เป็นรายการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย 4 ทีมจากประเทศสมาชิกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SAVA) หน่วยงานกำกับดูแลกีฬาระดับภูมิภาคในสังกัดสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (AVC) ได้แก่ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

วอลเลย์บอล ซี วี.ลีก
การแข่งหรือฤดูกาลปัจจุบัน:
เหตุการณ์กีฬาปัจจุบัน วอลเลย์บอลหญิง ซี วี.ลีก 2023
กีฬาวอลเลย์บอล
ก่อตั้งพ.ศ. 2560; 7 ปีที่แล้ว (2560)
ฤดูกาลแรก2023 (ชาย)
2019 (หญิง)
จำนวนทีม4
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
 ไทย
ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม
ทวีปเอวีซี (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันชาย: ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (ครั้งที่ 2)
หญิง: ธงชาติไทย ไทย (ครั้งที่ 5)
ทีมชนะเลิศสูงสุดชาย: ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย (2 ครั้ง)
หญิง: ธงชาติไทย ไทย (5 ครั้ง)
หุ้นส่วนโทรทัศน์ช่องวัน 31 (ไทย)
เว็บไซต์ซี วี.ลีก

ประวัติ แก้

แผนการจัดลีกวอลเลย์บอลหญิงระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีขึ้นครั้งแรกในปี 2013 เมื่อชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ เลขาธิการสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียจากประเทศไทย ได้พบกับเจ้าหน้าที่ของ บรรษัทกีฬาวอลเลย์บอลฟิลิปปินส์ (Larong Volleyball sa Pilipinas) ซึ่งเป็นสมาคมวอลเลย์บอลแห่งชาติของฟิลิปปินส์ในขณะนั้น และได้รับการเสนอให้ใช้รูปแบบลีกเหย้าและเยือนเพื่อส่งเสริมวอลเลย์บอลหญิงในภูมิภาค[1]

มีรายงานว่าบริษัทจัดงานและให้คำปรึกษาสปอร์ตคอร์ (SportsCore Event Management and Consultancy, Inc.) ผู้จัดการแข่งขันฟิลิปปินส์ซูเปอร์ลีกา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์ พร้อมกับสโมสรลีกจากอินโดนีเซีย, ไทย และเวียดนาม ต่างสนับสนุนแผนการดังกล่าว โดยในเดือนกรกฎาคม 2015 เหลือเพียง "การตกลงขั้นสุดท้าย" ที่ยังไม่ได้ทำ ซึ่งรวมถึงกลไกและชื่ออย่างเป็นทางการของการแข่งขัน

ในเดือนธันวาคม 2016 มีรายงานว่าการแข่งขันนัดแรกได้รับการขนานนามว่าเป็น ซูเปอร์ลีกาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian SuperLiga) ซึ่งมีแผนจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 17 กันยายน 2017[2] แต่ในเดือนมกราคม 2017 มีรายงานว่าชื่อการแข่งขันเปลี่ยนเป็น อาเซียนกรังด์ปรีซ์ (ASEAN Grand Prix)[3]

อาเซียนกรังด์ปรีซ์จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2019 โดยจัดแยกกัน 2 ทัวร์นาเมนต์ ที่ประเทศไทยและฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทย เป็นผู้ชนะในการแข่งขันทั้งสองรายการ [4] [5]

รายการนี้กลับมาอีกครั้งในปี 2022 ในชื่อ อาเซียนกรังด์ปรีซ์ วูเมนส์ วอลเลย์บอล อินวิเตชั่น (ASEAN Grand Prix Women's Volleyball Invitation) โดยมีกำหนดการแข่งขันในประเทศไทย ส่วนการแข่งขันประเภททีมชายมีกำหนดจัดขึ้นในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[6] ไทย ป้องกันแชมป์อาเซียนกรังด์ปรีซ์ได้ หลังจากชนะสามทีมในการแข่งขันปี 2022

ตั้งแต่ปี 2023 การแข่งขันได้เปลี่ยนชื่อเป็น วอลเลย์บอลลีกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Volleyball League) หรือ ซี วี.ลีก (SEA V.League) และเปิดตัวการแข่งขันของทีมชายเป็นครั้งแรกในปีเดียวกัน[7]

ผลการแข่งขัน แก้

การแข่งขันชาย แก้

ปี สนาม เจ้าภาพ
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 อันดับที่ 4
2023 สนามที่ 1  
โบโกร์
 
อินโดนีเซีย
 
ไทย
 
เวียดนาม
 
ฟิลิปปินส์
สนามที่ 2  
ซันตาโรซา
 
อินโดนีเซีย
 
เวียดนาม
 
ไทย
 
ฟิลิปปินส์

การแข่งขันหญิง แก้

ปี สนาม เจ้าภาพ
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับที่ 3 อันดับที่ 4
2019 สนามที่ 1  
นครราชสีมา
 
ไทย
 
อินโดนีเซีย
 
ฟิลิปปินส์
 
เวียดนาม
สนามที่ 2  
ซันตาโรซา
 
ไทย
 
อินโดนีเซีย
 
ฟิลิปปินส์
 
เวียดนาม
2022
 
นครราชสีมา
 
ไทย
 
เวียดนาม
 
อินโดนีเซีย
 
ฟิลิปปินส์
2023 สนามที่ 1  
หวิญฟุก
 
ไทย
 
เวียดนาม
 
อินโดนีเซีย
 
ฟิลิปปินส์
สนามที่ 2  
เชียงใหม่
 
ไทย
 
เวียดนาม
 
อินโดนีเซีย
 
ฟิลิปปินส์

ประเทศที่เข้าร่วม แก้

การแข่งขันชาย แก้

2023 ทั้งหมด
 
สนามที่ 1
 
สนามที่ 2
  อินโดนีเซีย อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 2
  ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 2
  ไทย อันดับที่ 2 อันดับที่ 3 2
  เวียดนาม อันดับที่ 3 อันดับที่ 2 2

การแข่งขันหญิง แก้

2019 2022 2023 ทั้งหมด
 
สนามที่ 1
 
สนามที่ 2
   
สนามที่ 1
 
สนามที่ 2
  อินโดนีเซีย อันดับที่ 2 อันดับที่ 2 อันดับที่ 3 อันดับที่ 3 อันดับที่ 3 5
  ฟิลิปปินส์ อันดับที่ 3 อันดับที่ 3 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 5
  ไทย อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 อันดับที่ 1 5
  เวียดนาม อันดับที่ 4 อันดับที่ 4 อันดับที่ 2 อันดับที่ 2 อันดับที่ 2 5

ทีมเริ่มต้น แก้

รางวัล แก้

การแข่งขันชาย แก้

ปี สนาม ผู้เล่นทรงคุณค่า ตัวเซ็ตยอดเยี่ยม ตัวตบด้านนอกยอดเยี่ยม ตัวบล็อกกลางยอดเยี่ยม ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม
2023   สนามที่ 1   Fahri Septian Putratama   Đinh Văn Duy   อนุรักษ์ พันธุ์รัมย์   Farhan Halim   Hendra Kurniawan   กฤษฎา นิลไสว   Steven Charles Rotter   ธนภัทร์ เจริญสุข
  สนามที่ 2   Farhan Halim   จักรกฤษณ์ ถนอมน้อย   Boy Arnez Arabi   Trương Thế Khải   Prasojo

การแข่งขันหญิง แก้

ปี สนาม ผู้เล่นทรงคุณค่า ตัวตบยอดเยี่ยม ตัวเซิร์ฟยอดเยี่ยม ตัวบล็อกกลางยอดเยี่ยม ตัวเซ็ตยอดเยี่ยม ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม
2019   สนามที่ 1   อรอุมา สิทธิรักษ์   ชัชชุอร โมกศรี   Megawati Hangestri Pertiwi   Mary Joy Baron   Tri Retno Mutiara Lutfi   Nguyễn Thị Kim Liên
  สนามที่ 2   ปลื้มจิตร์ ถินขาว   พิมพิชยา ก๊กรัมย์   Ratri Wulandari   Dawn Nicole Macandili
ปี สนาม ผู้เล่นทรงคุณค่า ตัวเซ็ตยอดเยี่ยม ตัวตบด้านนอกยอดเยี่ยม ตัวบล็อกกลางยอดเยี่ยม ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม ตัวรับอิสระยอดเยี่ยม
2022   พิมพิชยา ก๊กรัมย์   พรพรรณ เกิดปราชญ์   Trần Thị Thanh Thúy   อัจฉราพร คงยศ   Nguyễn Thị Trinh   ทิชากร บุญเลิศ   Megawati Hangestri Pertiwi   Kyla Atienza
2023   สนามที่ 1   อัจฉราพร คงยศ   Đoàn Thị Lâm Oanh   Trần Thị Thanh Thúy   อัจฉราพร คงยศ   ทัดดาว นึกแจ้ง   Wilda Nurfadhilah   Hoàng Thị Kiều Trinh   ปิยะนุช แป้นน้อย
  สนามที่ 2   ชัชชุอร โมกศรี   Arneta Putri Amelian   Vi Thị Như Quỳnh   Ratri Wulandari   จรัสพร บรรดาศักดิ์   Đoàn Thị Xuân   Alyssa Solomon

สรุปเหรียญรางวัล แก้

การแข่งขันชาย แก้

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1  อินโดนีเซีย2002
2  เวียดนาม0112
  ไทย0112
4  ฟิลิปปินส์0000
รวม (4 ประเทศ)2226

การแข่งขันหญิง แก้

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1  ไทย5005
2  เวียดนาม0303
3  อินโดนีเซีย0235
4  ฟิลิปปินส์0022
รวม (4 ประเทศ)55515

สรุปเหรียญโดยรวม แก้

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1  ไทย (THA)5117
2  อินโดนีเซีย (INA)2237
3  เวียดนาม (VIE)0415
4  ฟิลิปปินส์ (PHI)0022
รวม (4 ประเทศ)77721

อ้างอิง แก้

  1. Manicad, Julius (21 March 2016). "Southeast Asian club league in the pipeline". Volleyverse. สืบค้นเมื่อ 26 December 2016.
  2. Noguera, Emil (26 December 2016). "PH Superliga braces for busy 2017". The Manila Times. สืบค้นเมื่อ 26 December 2016.
  3. Reyes, Marc Anthony (5 January 2017). "PSL serves up Asean Grand Prix this September". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 5 January 2017.
  4. "All set for SAT Thailand Volleyball Invitation in Nakhon Ratchasima". Asian Volleyball Confederation. Preechachan. 19 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
  5. "Thailand Capture Back-to-back Asean Grand Prix Titles". Asian Volleyball Confederation. Preechachan. 7 October 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
  6. "Thailand, Vietnam to Fight it Out in Highly-Anticipated Clash For Eventual Title in 2nd ASEAN Grand Prix Women's Volleyball Invitation". Asian Volleyball Confederation. 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 11 September 2022.
  7. Bas (2023-02-20). "ไทยเจ้าภาพทีมหญิง! อาเซียน กรังด์ปรีซ์ เปลี่ยนชื่อเป็น "ซี วี.ลีก" ตบสนั่น ส.ค.นี้". Thaiger ข่าวไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.