ลีเมอร์หนู
ลีเมอร์หนูเล็ก (Microcebus myoxinus)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
อันดับย่อย: Strepsirrhini
อันดับฐาน: Lemuriformes
วงศ์: Cheirogaleidae
สกุล: Microcebus
É. Geoffroy, 1834[1]
ชนิด
19 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
[2][3]
ชื่อพ้อง[1]
  • Murilemur Gray, 1870
  • Scartes Swainson, 1835
  • Myscebus Lesson, 1840
  • Azema Gray, 1870
  • Gliscebus Lesson, 1840
  • Myocebus Wagner, 1841

ลีเมอร์หนู (อังกฤษ: Mouse lemur) เป็นไพรเมตขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในกลุ่มลีเมอร์ จัดอยู่ในสกุล Microcebus จัดเป็นลีเมอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด และถือเป็นไพรเมตที่มีขนาดเล็กที่สุดจำพวกหนึ่ง

ลีเมอร์หนู มีรูปร่างลักษณะแตกต่างไปจากลีเมอร์ทั่วไป โดยจะเหมือนลิงลมหรือกาเลโกมากกว่า จากการศึกษาทางพันธุกรรม โดยศึกษาจากดีเอ็นเอพบว่า ลีเมอร์หนูเป็นลีเมอร์ที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยเชื่อว่าเป็นลีเมอร์ชนิดแรกที่เดินทางผืนแผ่นดินใหญ่แอฟริกามายังเกาะมาดากัสการ์เมื่อแรกกำเนิดเกาะเมื่อกว่า 80-60 ล้านปีก่อน โดยอาศัยเกาะมากับวัสดุหรือท่อนไม้ลอยน้ำมา ในรูปแบบของการจำศีล เพราะระยะทางห่างไกล เชื่อว่ามีลีเมอร์มาถึงเกาะมาดากัสการ์ครั้งแรกเพียง 12 ตัว และมีปริมาณตัวเมียเพียง 2 ตัวเท่านั้น ก่อนที่จะวิวัฒนาการให้มีความหลากหลายในเวลาต่อมา[4]

ซึ่งลีเมอร์หนูแทบจะไม่ได้เปลี่ยนรูปร่างไปเลยจากเมื่อ 80 ล้านปีก่อน โดยมีขนาดลำตัวรวมทั้งส่วนหางยาวน้อยกว่า 27 เซนติเมตร[5] (11 นิ้ว) ซึ่งสามารถเอามาวางไว้บนฝ่ามือมนุษย์ได้ มีใบหูและดวงตากลมโตขนาดใหญ่เหมือนกาเลโก เป็นลีเมอร์เพียงไม่กี่ชนิดที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารขนาดเล็ก ๆ เช่น แมลง, แมง รวมถึงส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอกไม้, ผลไม้ และรวมถึงน้ำต้อย และยางไม้ของต้นไม้ใหญ่ด้วย นับได้ว่าลีเมอร์หนูเป็นสัตว์อีกจำพวกหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการผสมเกสรของพืช[4]

นอกจากนี้แล้ว ลีเมอร์หนูยังถือได้ว่าเป็นไพรเมตเพียงจำพวกเดียวที่มีการจำศีล โดยจะจำศีลตรงกับช่วงฤดูร้อนของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ซึ่งตรงกับช่วงกลางปีของทุกปี ก่อนจะถึงฤดูการจำศีล คือ ตอนปลายของฤดูฝน ลีเมอร์หนูจะเร่งกินอาหารเพื่อสะสมพลังงานไว้ในร่างกาย ตามขาและหาง ก่อนที่จะจำศีลในโพรงไม้นานถึง 3-4 เดือน ด้วยการอยู่นิ่ง ๆ เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเพื่อสงวนพลังงาน ระดับแมตาบอลิสซึมลดต่ำ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำ ซึ่งเรียกว่า ทอร์พอร์ ก่อนที่จะตื่นขึ้นมาอีกครั้งในช่วงปลายปี ซึ่งตรงกับปลายเดือนพฤศจิกายน และจะเร่งเพิ่มน้ำหนักเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสีย ก่อนที่ในเดือนธันวาคม ลีเมอร์หนูจะผสมพันธุ์และออกลูก ด้วยการส่งเสียงร้องในรูปแบบคลื่นเสียงความถี่สูงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน แบบเดียวกับค้างคาว ในการเรียกหาคู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีเสียงที่แตกต่างกันออกไป ลีเมอร์หนูตัวเมียจะให้กำเนิดลูกในช่วงนี้ ลูกลีเมอร์หนูจะพึ่งพาแม่เป็นระยะเวลานาน 8 สัปดาห์ ก่อนที่จะเติบโตพอที่จะแยกตัวออกไป[4]

เดิมลีเมอร์ถูกจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียวหรือ 2 ชนิด เพราะมีรูปลักษณ์แทบไม่ต่างกันในแต่ละชนิด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน ที่ทัศนวิสัยไม่อาจมองอะไรได้ชัด จึงไม่มีความจำเป็นในเรื่องความแตกต่างของรูปร่างภายนอก แต่ปัจจุบันจากการศึกษาในระดับดีเอ็นเอพบว่ามีมากถึง 19 ชนิด หรืออาจมากกว่า [4]

การจำแนก

แก้
 
ขนาดของลีเมอร์หนูเมื่อเทียบกับมนุษย์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 McKenna, MC; Bell, SK (1997). Classification of Mammals: Above the Species Level. Columbia University Press. p. 335. ISBN 0-231-11013-8.
  2. 2.0 2.1 Mittermeier, R. (December 2008). "Lemur Diversity in Madagascar". International Journal of Primatology. 29 (6): 1607–1656. doi:10.1007/s10764-008-9317-y. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 Louis Jr., E. (2008). "Revision of the Mouse Lemurs, Microcebus (Primates, Lemuriformes), of Northern and Northwestern Madagascar with Descriptions of Two New Species at Montagne d'Ambre National Park and Antafondro Classified Forest" (PDF). Primate Conservation. 23: 19–38. doi:10.1896/052.023.0103. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2013-01-19. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Madagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต. ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 19 มกราคม 2556
  5. http://pin.primate.wisc.edu/factsheets/entry/mouse_lemur/taxon
  6. "New Primate Species Discovered on Madagascar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-19. สืบค้นเมื่อ 2013-01-19.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Nature News: Lemur boom on Madagascar". Nature. 2006-11-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Microcebus ที่วิกิสปีชีส์