ลิลิตพายัพ เป็นวรรณกรรมประเภทนิราศ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหามงกุฎราชกุมาร โดยใช้นามแฝงว่า หนานแก้วเมืองบูรพ์[1] อย่างไรก็ดีมีผู้แต่งร่วมอีก 2 คน คือหม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิ์ และพระยาบำเรอบริรักษ์ (สาย ณ มหาชัย) ซึ่งระบุไว้อยู่ในโคลงในฐานะผู้ตามเสด็จด้วย

เนื้อหาของเรื่องมีลักษณะเป็นบันทึกรายวัน มีการระบุวันเวลาชัดเจน เริ่มเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2448 โดยพระองค์ไปทรงเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำโพ[2] เริ่มเรื่องจากสถานีรถไฟสามเสนเพื่อไปเปิดทางรถไฟที่สถานีบ้านภาชี จากนั้นจึงตามเสด็จประพาสลพบุรีและนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แยกเดินทางต่อไปยังมณฑลพายัพโดยเรือจักรกล ผ่านเมืองพิจิตร พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ จากนั้นจึงขึ้นบกเดินทางถึงแพร่ ลำปาง ขากลับพระนครโดยเรือจักรกลทางแม่น้ำปิง ผ่านตาก กำแพงเพชร ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และจึงได้ขึ้นรถไฟเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานครถึงเมื่อสิ้นเดือนมกราคมในปีถัดมา[3]

ลิลิตพายัพได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสืองานศพพระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร พ.ศ. 2472[4]

อ้างอิง แก้

  1. พัชลินจ์ จีนนุ่น. "วรรณคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-09-11. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.
  2. "ลิลิตพายัพ : ภาพสะท้อนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทางวัฒนธรรม".
  3. วศวรรษ สบายวัน (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561). "การใช้เวลาในการเล่าเรื่องในลิลิตพายัพพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว". HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 2 (2). {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ลิลิตพายัพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2510.