ลินุกซ์ทะเล (อังกฤษ: LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการที่เป็นการแจกจ่ายลินุกซ์ที่พัฒนาต่อมาจากอูบุนตูโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย พัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นล่าสุดคือ ลินุกซ์ทะเล 10 รหัสว่า "อ่าวนาง" เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย ทำมาเพื่อที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา จากนั้นลินุกช์ทะเลได้ยุติการพัฒนาลง ด้วยการมาของ LinuxMint ที่ปัจจุบันสามารถใช้งานภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบ

ลินุกซ์ทะเล
ลินุกซ์ทะเล 5.5 (สมิหลา) จากแผ่นติดตั้ง
ผู้พัฒนาเนคเทค
ตระกูลลินุกซ์
สถานะยกเลิกแล้ว[1]
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
โอเพนซอร์ส
วันที่เปิดตัวกรกฎาคม พ.ศ. 2542 (1999-07-00) (24 ปีก่อน)
รุ่นเสถียร10.0
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
i386, AMD64
ชนิดเคอร์เนลMonolithic (ลินุกซ์ เคอร์เนล)
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายGNOME, KDE
เว็บไซต์opentle.org/linuxtle/

ชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extension ที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก "ทะเล" นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่

ประวัติ แก้

ลินุกซ์ทะเล เดิมพัฒนาโดยอาสาสมัครกลุ่ม TLWG[2] และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง โดยในอดีตใช้ชื่อ MaTEL (Mandrake and Thai Extension Linux) MaTEL 6.0 ได้ออกมาในรูปซีดีในเดือนกรกฎาคม 2542

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก MaTEL เป็น Linux-TLE (ลินุกซ์ทีแอลอี) เพื่อแยกออกมาจากส่วนของแมนเดรก(ปัจจุบันคือ แมนดริวา) และออกรุ่น 6.01 และ 6.1 ในเดือนกันยายน 2542 โดยนอกจากเผยแพร่ในรูปซีดีแล้ว ยังมีการให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เนคเทคเอง และในปี พ.ศ. 2543 ทางเนคเทคได้รับมาเป็นผู้พัฒนาและเผยแพร่หลัก และได้ชื่อไทยว่า ลินุกซ์ทะเล โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโลมา ในรุ่น 3.0 จนถึงปัจจุบัน

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จากเว็บไซต์ดิสโทรวอตช์[3]

ลินุกซ์ทะเลพัฒนาเป็นรุ่น ลินุกซ์ทะเล 10.0 "อ่าวนาง"

รุ่นของลินุกซ์ทะเล แก้

รุ่นพัฒนาของลินุกซ์ทะเล[4]

รุ่นลินุกซ์ทะเล พัฒนาจากลินุกซ์ ชื่อรหัส วันที่ออก
MaTEL 6.0 (Linux-TLE 1.0) แมนเดรก 6.0 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
MaTEL 6.1 (Linux-TLE 2.0) แมนเดรก 6.0 กันยายน พ.ศ. 2542
LinuxTLE 3.0 เรดแฮต 6.2 ตะรุเตา (Tarutao) 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543
LinuxTLE 4.0 เรดมอนด์ สิมิลัน (Similan) มีนาคม พ.ศ. 2545 หรือ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2544 [5][6]
LinuxTLE 4.1a เรดแฮต 7.2 พีพี (PhiPhi) 14 มีนาคม พ.ศ. 2545
LinuxTLE 4.1r2 เรดแฮต 7.3 พีพี (PhiPhi) มีนาคม พ.ศ. 2546
LinuxTLE 5.0 เรดแฮต 8 อันดามัน (Andaman) มีนาคม พ.ศ. 2546
LinuxTLE 5.5 เฟโดรา คอร์ 1 สมิหลา (Samila) มกราคม พ.ศ. 2547
LinuxTLE 7.0 ลินุกซ์ทะเล 5.5 หว้ากอ (Waghor) ธันวาคม พ.ศ. 2547
LinuxTLE 8.0 อูบุนตู 6.10 ป่าตอง (Patong) 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
LinuxTLE 9.0 อูบุนตู 7.10 หัวหิน (Hua-Hin) 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
LinuxTLE 10.0 อูบุนตู 10.10 อ่าวนาง (Aownang) 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ลินุกซ์ทะเล 10.0 "อ่าวนาง" แก้

เป็นลินุกซ์ทะเลรุ่นสุดท้าย พัฒนาถึง LinuxTLE 10.0 "Aownang" (อ่าวนาง) (กันยายน พ.ศ. 2553) โดยเป็นการพัฒนาต่อจากฐานลินุกซ์ Ubuntu 10.04 เช่นเดียวกับรุ่น 9.0 หลังจากนั้นลีนุกซ์ทะเลได้ยุติบทบาทลง โดยคนไทยกลุ่มหนึ่งเข้าร่วมการสนับสนุน LinuxMint แทน ทำให้ปัจจุบัน LinuxMint สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างเต็มรูปแบบและถูกนำมาใช้แทน

แอปพลิเคชันหลักในลินุกซ์ทะเล 10.0 แก้

คุณสมบัติใหม่ แก้

  • ลดกระบวนการการติดตั้งเหลือเพียงกระบวนการแบ่งพาร์ทิชันเท่านั้น
  • ใช้เมนูจาก Linux Mint แทนเมนูเดิมของ GNOME+
  • ใช้ Kernel 32 บิต ที่รองรับเครื่องที่มีหน่วยความจำมากกว่า 4GB ได้
  • ใช้แบบอักษร Arundina เป็นแบบอักษรปริยายที่ใช้แสดงผลของระบบ
  • มีซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างครบถ้วน
  • เพิ่มฟอนต์ที่รองรับการเขียนบาลี (Loma-SIL)

สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นที่แล้ว แก้

  • ใช้ตัวติดตั้งแบบกราฟิกส์ของ อูบุนตู (ubiquity) แทนตัวติดตั้งแบบเดิมที่เป็นโหมดตัวอักษรอย่างเดียว
  • ใช้เมนูจาก Linux Mint แทนเมนูเดิมที่ใช้ GNOME
  • Kernel เป็นรุ่นที่ใหม่ขึ้น ทำให้รองรันอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้มากขึ้น
  • ซอฟต์แวร์เป็นรุ่นที่ใหม่ขึ้น
  • มีซอฟต์แวร์สำหรับสำรองข้อมูล (deja dup)

อ้างอิง แก้

  1. "DistroWatch.com: LinuxTLE". distrowatch.com.
  2. ความเป็นมาของกลุ่ม Thai Linux Working Group
  3. DistroWatch Weekly, Issue 79, 13 December 2004
  4. "ข้อมูลเกี่ยวกับรุ่นต่างๆ ของลินุกซ์ทะเล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  5. รุ่น_ลินุกซ์ทะเล เก็บถาวร 2013-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. วันที่ออกไม่ตรงกันของ 2 เว็บไซต์ ระหว่างเก็บถาวร 2008-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้